Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62839
Title: บทบาทของรัฐสภาไทยในการตรากฎหมาย : ศึกษากระบวนการ นิติบัญญัติไทยในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ. 2500-2506)
Other Titles: Role of Thai Parliament in the making of law : a study of Thai legislative process under F.M.Sarit Thanarat from 1957-1963
Authors: สุชาติ พันชี
Advisors: บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สฤษดิ์ ธนะรัชต์, จอมพล, 2451-2506
สภานิติบัญญัติ -- ไทย
นิติบัญญัติ -- ไทย
รัฐสภา -- ไทย
ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2500-2506
Sarit Thanarat, 1908-1963
Legislative councils -- Thailand
Legislation -- Thailand
Legislative bodies -- Thailand
Thailand -- Politics and government -- 1957-1963
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงบทบาทของรัฐสภาไทยในการตรากฎหมายในช่วงที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้นำทางการเมือง โดยศึกษาบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กระบวนการเสนอและพิจารณาพระราชบัญญัติที่ออกมาระหว่างพ.ศ. 2500-2506 เริ่มตั้งแต่สภาหมดวาระลง และจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2500 จนถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญญกรรมในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ผลการศึกษาพบว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่นิติบัญญัติระหว่าง พ.ศ. 2502-2506 ที่มีสมาชิกจากการแต่งตั้งทั้งหมดเป็นสภาที่อ่อนแอถูกครอบงำโดยฝ่ายบริหารเป็นเพียงตรายางคอยประทับร่างกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายบริหารเพื่อให้เกิดความชอบธรรมในการนำไปใช้ในการบริหารประเทศ ในช่วงนี้จึงตรากฎหมายออกมามากถึงปีละประมาณ 60 ฉบับคิดเป็น 2 เท่าของสภาผู้แทนราษฎรในช่วงปี พ.ศ. 2500-2501 และในการพิจารณากฎหมายมีการอภิปรายในเรื่องเนื้อหาสาระกฎหมายกันน้อย กฎหมายบางฉบับผ่านสภา 3 วาระรวด โดยไม่มีการอภิปรายแม้จะเปลี่ยนหลักการสำคัญ เช่น พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ในช่วงปี พ.ศ. 2500 มีนักการเมืองและข้าราชการทุจริตคอรัปชั่นกันมาก สภาได้ตราพระราชบัญญัติพิเศษปราบปรามคอรัปชั่น พ.ศ. 2500 และในธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2502 ก็ได้นำหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารออกจากกันเด็ดขาดมาใช้ โดยห้ามสมาชิกสภาเป็นนายกรัฐมนตรี มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินถึง 43 ฉบับ ส่วนใหญ่บัญญัติให้รวมอำนาจการบริหารไว้ที่นายกรัฐมนตรี มีกฎหมายเกี่ยวกับการคลัง 68 ฉบับ ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายเพิ่มภาษี เปลี่ยนการจัดตั้งงบประมาณมาร่วมไว้ที่ส่วนกลาง จัดตั้งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติให้ริเริ่มจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 จัดตั้งสภาการศึกษาและสภาการวิจัย ตรากฎหมายส่งเสริมการลงทุน ตรากฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างปัจจัยโครงสร้างพ้นฐานมากถึง 64 ฉบับ ตราพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 โดยใช้อำนาจรัฐมนตรีออกประกาศกระทรวงกำหนดเขตป่าสงวนแห่งชาติลงในแผนที่ได้โดยไม่ต้องเดินสำรวจพื้นที่จริง เพื่อให้ความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติโดยไม่คำนึงถึงสิทธิของประชาชนที่อาศัยอยู่ก่อน ผลงานการตรากฎหมายในช่วงปี พ.ศ. 2500-2506 ส่วนใหญ่เพื่อตอบสนองความต้องการองส่วนราชการและตัวข้าราชการ ที่มุ่งเร่งรัดพัฒนาปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานซึ่งถูกริเริ่มโดยกลุ่มข้าราชการและนักวิชาการเป็นผู้หยิบยื่นให้กับประชาชน กฎหมายมิได้เกิดจากการเชื่อมโยงและเสียงเรียกร้องของประชาชน
Other Abstract: The action of politics, economic, society, and the international relationship were studied during the Thai Parliament under F.M. Sarit Thanarat in the period of 1957-1963. The results showed that, during this period, the council of constitution all came from the appointment of the executive part. From thai condition to make the council worked under the executive part. The sixty laws were enacted at that time which were approximately 2 fold when compared with the first period (1957-1958). The process for making of laws was not austere and passed ery fast, such as the Act of the forest preservation in the year 1964. In the first year of this age (1957), the special Act for corruption was anacted to subdue the wrong politician and government officer’s behaviors. The legislativ epart and the executive part were absolutely discriminated. The House of Representatives were not forbidden to be a Prime Minister. The 43 laws were enacted about the government execution and created the Prime Minister as a head of the execution part. The 68 financial laws were enacted and also mainly about to increase the tax. Many of councils were created such as the council of economic development which created the firat economic and social development plan, the council of education and research, and especially the Act of the forest conservation in the year 1964 to conserve 50% of the total forest left. From the overall execution in this period, we can conclude that all the laws, which enacted, were mainly response to the government section, but not for the people need.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62839
ISBN: 9746366939
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchart_pu_front_p.pdf6.13 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_pu_ch1_p.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_pu_ch2_p.pdf23.72 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_pu_ch3_p.pdf14.75 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_pu_ch4_p.pdf36.37 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_pu_ch5_p.pdf14.13 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_pu_ch6_p.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_pu_back_p.pdf21.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.