Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65619
Title: การรับรู้การรณรงค์ "30 บาทรักษาทุกโรค"
Other Titles: Perception of "30 Bahts Rak Sa Took Rok" campaign
Authors: บุญธิดา บุญญธัญญกุล
Advisors: สุภาพร โพธิ์แก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Supaporn.Ph@chula.ac.th
Subjects: โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค
ผู้รับสาร
การรับรู้
การสื่อสารสาธารณสุข
การตลาดเพื่อสังคม
Audiences
Perception
Communication in public health
Social marketing
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบการตระหนักรู้และเข้าใจของประชาชนต่อนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค และเพื่อเข้าใจการรับรู้และการตีความของประชาชนต่อการบริการสาธารณสุขตามโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกประชาชนที่รับบริการจำนวน 114 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 17 คน จากสถานพยาบาลในจังหวัดพะเยา ยโสธร นครสวรรค์ สมุทรสาคร ปทุมธานี ยะลา นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร มีขอบเขตการวิจัยตั้งแต่นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคมีพื้นที่ปรากฏผ่านสื่อมวลชนในช่วงที่พรรคไทยรักไทยไค้รับการเลือกตั้ง คือตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2544 จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2545 โดยใช้แนวคิดเรื่องการวิเคราะห์ผู้รับสารกับการรับรู้ ทฤษฎีการเลือกและการแสวงหาข่าวสาร แนวคิดเรื่องการกำหนดประเด็นวาระของข่าวสาร แนวคิดเรื่องการรณรงค์เพื่อการสื่อสารประเด็นสาธารณะ และแนวคิดเรื่องการตลาดทางสังคม มาเป็นแนวทางในการศึกษาและวิเคราะห์ สรุปผลการศึกษาพบประเด็นการสื่อสารสาธารณะนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคที่ปรากฎในสื่อมวลชนครอบคลุม 3 ประเด็นหลักที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันคือ 1. แนวคิดค้านสาธารณสุข ระหว่างการมุ่งเน้นที่การป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพหเอการรักษาโรค, 2.การบริหารจัดการงบประมาณ ให้สถานพยาบาลดำเนินโครงการไค้อย่างยั่งยืนและ 3. สิทธิประโยชน์ที่ประชาชนควรได้รับ โดยพบว่าการรณรงค์ด้วยข้อความ “ 30 บาทรักษาทุกโรค" เป็นการมุ่งเน้นสื่อความหมายที่ให้ความสำคัญต่อการรักษาความเจ็บป่วย และประชาชนก็รับนโยบายดังกล่าวไปในลักษณะเดียวกันคือ เมื่อเจ็บป่วยสามารถรักษาด้วยเงิน 30 บาท อีกตั้งเกิดความคาดหวังว่าจะได้รับการรักษาที่มีคุณภาพโดยไม่มีเงื่อนไข และไม่มีข้อจำกัด แต่ในทางปฏิบัติ นโยบายดังกล่าวขาดความชัดเจนในแผนดำเนินงานที่ปฏิบัติได้จริง จึงเกิดเป็นประเด็นขัดแย้งระหว่างความพยายามที่จะบริหารเงิน บริหารคนเพื่อความอยู่รอดในการดำเนินโครงการของฝ่ายผู้ให้บริการกับการรับรู้และความคาดหวังสิทธิต่าง ๆ พร้อมคุณภาพที่จะได้รับของฝ่ายผู้รับบริการ ตั้งนี้สื่อมวลชนซึ่งมีส่วนในการสร้างการรับรู้ทั้งในแง่การสร้างความเข้าใจและการติดตามตรวจสอบการดำเนินตามนโยบายโดยมุ่งเน้นที่ประเด็นการบริหารจัดการงบประมาณและสิทธิประโยชน์ของประชาชน จึงเป็นผลให้การสื่อสารสาธารณะในประเด็นแนวคิดค้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพถูกลดความสำคัญไป
Other Abstract: This qualitative research aims to find out public awareness and understanding of the “30 Bahts Rak Sa Took Rok” policy (“30 Bahts cure all” policy), as well as their perception and interpretation of the healthcare services. This research covers the period from 6 January 2001 to 1 July 2002. In depth interview was conducted among 114 patients and 17 hospital staffs from Bangkok and 8 other provinces. Theoretical frameworks used in the analysis include the concept of Audience Analysis and Perception, Agenda Setting, Public Communication Campaign and Social Marketing. It is found that the public communication issues of the “30 Bahts Rak Sa Took Rok” relate to 3 aspects : 1) the concept of public health, 2) budgeting and management, and 3) the benefit. It can be said that the use of the phrases “30 Bahts Rak Sa Took Rok”, meaning “30 Bahts for the cure of all illnesses”, inevitably places the emphasis on the curative treatment. The perception among the public is that the treatment for any illness costs only 30 bahts without any restriction or conditions. In practice, the execution plan is not clear enough, leading to the conflicts between the need to manage the money and the manpower on the part of the service providers and the expectation on the part of the clients. It is also found that mass media largely focus on the aspects of management and services, resulting in further lessening the important of the preventive measures.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65619
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.356
ISBN: 9741755562
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.356
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boontida_bo_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ797.7 kBAdobe PDFView/Open
Boontida_bo_ch1_p.pdfบทที่ 1947.72 kBAdobe PDFView/Open
Boontida_bo_ch2_p.pdfบทที่ 21.35 MBAdobe PDFView/Open
Boontida_bo_ch3_p.pdfบทที่ 3702.35 kBAdobe PDFView/Open
Boontida_bo_ch4_p.pdfบทที่ 42.62 MBAdobe PDFView/Open
Boontida_bo_ch5_p.pdfบทที่ 5921.61 kBAdobe PDFView/Open
Boontida_bo_ch6_p.pdfบทที่ 6983.37 kBAdobe PDFView/Open
Boontida_bo_ch7_p.pdfบทที่ 71.26 MBAdobe PDFView/Open
Boontida_bo_ch8_p.pdfบทที่ 8794.06 kBAdobe PDFView/Open
Boontida_bo_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก733.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.