Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65930
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชัยศักดิ์ หรยางกูร-
dc.contributor.authorจักรพงศ์ เรืองเศรษฐการ, 2518--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-05-23T17:19:56Z-
dc.date.available2020-05-23T17:19:56Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.issn9745316687-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65930-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en_US
dc.description.abstractการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการนั้น มีหลักเกณฑ์สำคัญ ได้แก่ หลัก Party Autonomy คือ หลักที่ให้อิสระแก่คู่สัญญาในการเลือกกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาท รวมถึงตกลงขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการได้ อย่างไรก็ตาม อิสระของคู่สัญญาในการตกลงกันตามหลัก Party Autonomy ก็มีขอบเขตจำกัดไว้ คือ การตกลงกันของคู่สัญญานั้นต้องไม่กระทบหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งความสงบเรียบร้อยนั้น หมายความถึง จารีตประเพณีของแต่ละประเทศและจารีตประเพณีระหว่างประเทศกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาต่างๆ ด้วย โดยเรียกว่า “บทบังคับ" ( Mandatory Provisions ) “บทบังคับ (Mandatory Provisions) หมายถึง บทบัญญัติที่บังคับให้ปฏิบัติตาม โดยไม่สามารถตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ ” โดยในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ กล่าวถึงเรื่องของบทบังคับในขั้นกระบวนพิจารณา ของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งโดยทั่วไปในขั้นกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการนั้น คู่กรณีทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันในประเด็นของการดำเนินกระบวนพิจารณาได้ ไม่ว่า จะเป็นเรื่องของภาษา และ สถานที่ที่ใช้ในการดำเนินกระบวนพิจารณา แต่ก็มิใช่ทุกประเด็นที่คู่กรณีสามารถตกลงกันได้ มีบางประเด็นที่มีลักษณะของบทบังคับ ได้แก่ การปฏิบัติต่อคู่ความอย่างเท่าเทียมกัน การคุ้มครองชั่วคราว และการทำคำชี้ขาด เป็นต้น ทั้งนี้ บทบังคับเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายภายใน ซึ่งกฎหมายภายในของแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันไป ตามสภาพสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ดังนั้น บทบังคับในกฎหมาย อนุญาโตตุลาการของแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน แม้ว่าจะได้รับต้นแบบมาจากกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการการค้าระหว่างประเทศ ค.ศ. 1985 เช่นเดียวกันก็ตาม-
dc.description.abstractalternativeParty Autonomy is a major principle of settlement of dispute via arbitration viz the principle which yields the parties the power to pick the law to apply to the settlement of dispute, including the process of the arbitral trial. However, the Party Autonomy dose have limits i.e. the agreement of the parties must not be contradictory to the public order. The public order usually covers the custom of the land and those international custom, domestic law and international law, namely conventions. These usually come under the umbrella of “Mandatory Provisions” “Mandatory Provision" means imperative provision in which the parties have no rights to agree to other effect. The dissertation narrate the mandatory provisions under the arbitral process. เท general, the parties may agree on the way to handle the process be then, language or locality but not all issues are consensual. Certain issues are mandatory, namely, equal treatment for the parties, provisional measures and the award rendering. Therefore the related mandatory provisions entangled with domestic laws which tend to vary from country to country as a result of socio-political and economic backdrops. Therefore, “Mandatory Provisions" of each country tends to vary inspire of the fact that the Model Law on International Commercial Arbitration of 1985 is being adopted similarly.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการอนุญาโตตุลาการen_US
dc.subjectการอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศen_US
dc.subjectการระงับข้อพิพาทen_US
dc.subjectการค้าระหว่างประเทศen_US
dc.subjectGrievance arbitrationen_US
dc.subjectArbitration and award, Internationalen_US
dc.subjectDispute resolution (Law)en_US
dc.subjectInternational tradeen_US
dc.titleหลักบทบังคับ (Mandatory procisions) ในกฎหมายการอนุญาโตตุลาการในการพาณิชย์ระหว่างประเทศ : ศึกษากรณีกฎหมายต้นแบบของคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ 1985 และพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545en_US
dc.title.alternativeMandatory provisions in international commercial arbitration law : a case study of uncitral model law on international commercial arbitration 1985 and arbitration act of B.E. 2545en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPhijaisakdi.H@chula.ac.th-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chakkapong_ru_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ890.02 kBAdobe PDFView/Open
Chakkapong_ru_ch1_p.pdfบทที่ 1811.27 kBAdobe PDFView/Open
Chakkapong_ru_ch2_P.pdfบทที่ 21.94 MBAdobe PDFView/Open
Chakkapong_ru_ch3_p.pdfบทที่ 32.28 MBAdobe PDFView/Open
Chakkapong_ru_ch4_p.pdfบทที่ 4997.78 kBAdobe PDFView/Open
Chakkapong_ru_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.