Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67016
Title: การเพาะเลี้ยงสาหร่ายสีเขียว Tetraselmis suecica และโรติเฟอร์ Brachionus plicatilis แบบต่อเนื่องสำหรับอนุบาลกุ้งกุลาดำวัยอ่อน
Other Titles: Continuous culture of green alga Tetraselmis suecica and Rotifer Brachionus plicatilis for black tiger shrimp larviculture
Authors: ปวีณา ตปนียวรวงศ์
Advisors: เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต
สรวิศ เผ่าทองศุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: piamsak@sc.chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สาหร่ายสีเขียว -- การเพาะเลี้ยงและอาหารเลี้ยงเชื้อ
กุ้งกุลาดำ -- การเลี้ยง
โรติเฟรา
โรติเฟรา -- การเพาะเลี้ยงและอาหารเลี้ยงเชื้อ
Green algae -- Cultures and culture media
Penaeus monodon
Continuous culture
Rotifera
Rotifera -- Cultures and culture media
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเพาะเลี้ยงสาหร่ายและโรติเฟอร์ซึ่งเป็นอาหารมีชีวิตสำหรับใช้ในการอนุบาลลูกสัตว์น้ำวัยอ่อนเป็นกระบวนการที่ต้องการแรงงานและประสบการณ์ในการดูแลรักษามาก และมักประสบปัญหาผลผลิตไม่เพียงพอ งานวิจัยนี้ได้พัฒนาการเพาะเลี้ยงอาหารมีชีวิตแบบต่อเนื่องสำหรับใช้อนุบาลลูกกุ้งกุลาดำ โดยศึกษาการเติบโตของโรติเฟอร์ (Brachionus plicatilis) ที่เลี้ยงแบบต่อเนื่องโดยใช้สาหร่ายเตตราเซลมิส (Tetraselmis suecia) เป็นอาหาร ในสภาพแวดล้อมที่ระดับความเค็มพีเอสยู ความเข้มแสงประมาณ 1,500-2,000 ลักซ์ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส พบว่าในระบบการเลี้ยงแบบต่อเนื่อง ความหนาแน่นของสาหร่าย T. suecica แปรผกผันกับอัตราการเจือจาง โดยสาหร่าย T. suecica ที่เลี้ยงด้วยอัตราการเจือจาง 0.94 ต่อวัน ให้ความหนาแน่นและผลผลิตเซลล์สูงสุด 1.1 x 10⁹ เซลล์ต่อลิตรต่อวัน ส่วนการเติบโตของโรติเฟอร์พบว่าความหนาแน่นของโรติเฟอร์จะมีความแปรปรวนสูง แต่ก็สามารถเติบโตแบบต่อเนื่องได้ดีในช่วงอัตราการเจือจาง 0.4 ถึง 1.7 ต่อวัน โดยให้ผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 230,000 ตัวต่อลิตรต่อวัน ที่อัตราการเจือจาง 0.74 ต่อวัน การศึกษาการอนุบาลลูกกุ้งโดยการให้อาหารธรรมชาติแบบต่อเนื่องประกอบด้วยระบบการเลี้ยงไดอะตอม Chaetoceros sp. แบบต่อเนื่องเพื่อใช้เลี้ยงลูกกุ้งระยะซูเอีย และการเพาะเลี้ยงโรติเฟอร์แบบต่อเนื่องเพื่อใช้เลี้ยงลูกกุ้งในระยะไมซิสถึงโพสลาวาที่ 1 โดยเป็นการเติมอาหารธรรมชาติจากระบบผลิตแบบต่อเนื่องลงสู่ถังเลี้ยงลูกกุ้งโดยตรงเปรียบเทียบกับการเลี้ยงที่ให้ไดอะตอม Chaetoceros sp. และโรติเฟอร์จากการเลี้ยงแบบแบตช์วันละสองครั้งในเวลาเช้าและเย็น โดยทำการอนุบาลในถังขนาด 13 ลิตร ที่ความเค็ม 30 พีเอสยู อุณหภูมิน้ำประมาณ 29-32 องศาเซลเซียส พบว่าในการอนุบาลลูกกุ้งจำนวน 2 รอบ อัตราการรอดของลูกกุ้งในระยะโพสลาวาที่ 1 ของชุดควบคุมและชุดทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติแสดงให้เห็นว่าระบบผลิตอาหารแบบต่อเนื่องสามารถทำงานได้ผลดี ซึ่งจะช่วยให้การเลี้ยงลูกกุ้งทำได้ง่ายและสะดวกขึ้นมาก รวมทั้งได้ผลผลิตอาหารมีชีวิตที่เพียงพอและพร้อมใช้งานตลอดเวลา
Other Abstract: Cultivation of microalgae and rotifer as live feed for aquatic animal larviculture is generally needed both manpower and skills. Unreliable live feed productivity is one of the most common problems found in the hatchery system. This study involved the development of continuous live feed (microalgae and rotifer) systems for black tiger shrimp larviculture. Continuous culture of the rotifer under the laboratory condition (30 psu salinity, 1,500-2,000 lux light intensity and 25 ํC temperature) was performed by continuously feeding with the microalga Tetraselmis suecia. The results showed that, under continuous culture condition, density of T. suecica was negatively related with the dilution rate. Maximum productivity of 1.1 x 10⁹ cells/L/day was obtained at 0.94/day dilution rate. On the other hand, density of rotifer in continuous culture system had very high fluctuation. However, growth of the rotifer was still in the acceptable density when the dilution rates between 0.4 to 1.7/day were applied. Maximum rotifer productivity was 230,000 individual/day at the dilution rate 0.74/day. Continuous live feed production systems for the black tiger shrimp (Penaeus monodon) larviculture consisted of the continuous production of diatom (Chaeloceros sp.) for larviculture at Zoea stage and the continuous production of rotifer for larviculture at Mysis to Post Larva 1 stages. Comparison between continuous addition of live feed and manual feeding (morning and evening feeding) of live feed from batch cultivation was evaluated in 13 L culture tanks containing 30 psu seawater at room temperature between 29-32 ํC. The results from two trials of shrimp larviculture indicated that, survival rate of shrimp cultured with both continuous and manual feeding was not significant difference. This indicated that continuous diatom and rotifer production system had satisfactory performance. Productivity of diatom and rotifer was reliable so the live feed was ready to be used at anytime. Hence, shrimp larviculture using continuous live feed production system in this study was therefore simple and very convenience for the farmer.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67016
ISBN: 9745310743
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paveena_ta_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.08 MBAdobe PDFView/Open
Paveena_ta_ch1_p.pdfบทที่ 1681.98 kBAdobe PDFView/Open
Paveena_ta_ch2_p.pdfบทที่ 21.77 MBAdobe PDFView/Open
Paveena_ta_ch3_p.pdfบทที่ 31.76 MBAdobe PDFView/Open
Paveena_ta_ch4_p.pdfบทที่ 41.67 MBAdobe PDFView/Open
Paveena_ta_ch5_p.pdfบทที่ 51.14 MBAdobe PDFView/Open
Paveena_ta_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.