Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67051
Title: | ผลของโปรแกรมการเตรียมตัวคลอดที่เน้นผู้คลอดต่อการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก |
Other Titles: | The effect of childbirth preparation emphasizing active birth on perception of childbirth experience in primigravida |
Authors: | สมพิศ ดุษดี |
Advisors: | ชมพูนุช โสภาจารีย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chompunut.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การคลอด ครรภ์ การพยาบาลสูติศาสตร์ Labor (Obstetrics) Pregnancy Maternity nursing |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเตรียมตัวคลอดที่เน้นผู้คลอด กับกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตัวคลอดตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงครรภ์แรกที่มาฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำนวน 60 คน เริ่มดำเนินการในกลุ่มควบคุมก่อนกลุ่มทดลอง เลือกตัวอย่างเข้าในแต่ละกลุ่ม โดยทำการสุ่มตัวอย่างง่ายแบบคนเว้นคนจากลำดับการมาตรวจของหญิงตั้งครรภ์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการเตรียมตัวคลอดที่เน้นผู้คลอด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการรับรู้ประสบการณ์การคลอด ซึ่งประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้ความสุขสบายของผู้คลอด (ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86) แบบสอบถามการรับรู้ความปลอดภัยของผู้คลอด (ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.77) และแบบสอบถามการรับรู้ความเป็นอิสระของผู้คลอด (ค่าความเที่ยงเท่านกับ 0.88) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติทดสอบค่าทีที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ค่าเฉลี่ยของการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครรภ์แรกด้านความสุขสบายในการคลอดกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเตรียมตัวคลอดที่เน้นผู้คลอด ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการเตรียมตัวคลอดตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า.05 (t = 32.71, p<.05) 2.ค่าเฉลี่ยของการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครรภ์แรกด้านความปลอดภัยในการคลอดกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเตรียมตัวคลอดที่เน้นผู้คลอด ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการเตรียมตัวคลอดตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .05 (t = 27.01, p<.05) 3.ค่าเฉลี่ยของการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครรภ์แรกด้านความเป็นอิสระในการคลอดกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเตรียมตัวคลอดที่เน้นผู้คลอด ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการเตรียมตัวคลอดตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .05 (t = 23.93, p<.05) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67051 |
ISBN: | 9741739168 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sompid_du_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 841.34 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sompid_du_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sompid_du_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sompid_du_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sompid_du_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 755.97 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sompid_du_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sompid_du_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 1.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.