Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67083
Title: | ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินกับผลตอบแทนของหุ้น ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
Other Titles: | Relationship between the financial ratios and stock returns in the Stock Exchange of Thailand |
Authors: | ศจี ศรีสัตตบุตร |
Advisors: | พิมพ์พนา ปีตธวัชชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
Advisor's Email: | Pimpana.P@Chula.ac.th |
Subjects: | อัตราผลตอบแทน การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ทฤษฎีประสิทธิภาพตลาดหลักทรัพย์ บริษัทมหาชน Rate of return Ratio analysis Efficient market theory Public companies |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงรูปแบบความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการงินกับผลตอบแทนของหุ้น เปรียบเทียบความสำคัญของอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อผลตอบแทนของหุ้นและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินที่บรัษัทเปิดเผยในแบบ 56-1 กับผลตอบแทนของหุ้นกับ ความสำพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินที่ผู้วิจัยคำนวนจากข้อมูลที่เปิดเผยในงบการเงินกับผลตอบแทนของหุ้น โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่ายและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษา พบว่า อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนของหุ้นในรูปแบบสมการ Exponential ได้แก่ อัตราผลตอบแทนจากยอดขาย อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และอัตราส่วนหุ้นส่วนต่อ ส่วนผู้ถือหุ้นที่บริษัทเปิดเผยและที่ผู้วิจัยคำนวนได้ และอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือที่บริษัทเปิดเผย แสดงว่า เมื่ออัตราส่วนทางการเงินเพิ่มขึ้นในช่วงแรกจะส่งผลให้ผลตอบแทนของหุ้นค่อย ๆ เพิ่มขึ้น และเมื่ออัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลให้ผลตอบแทนของหุ้นเพิ่มมากขึ้นในสัดส่วนที่สูงกว่าในช่วงแรก ส่วนอัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนหุ้นในรูปแบบสมการ Logarthmic ได้แก่ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นที่บริษัทเปิดเผยและที่ผู้วิจัยคำนวนได้ และอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือที่ผู้วิจัยคำนวนได้ แสดงว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวส่งผลให้ผลติบแทนของหุ้นเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่สูงในช่วงแรก และหารอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวยังคงเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่คงที่ จะส่งผลให้ผลตอบแทนของหุ้นเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ลดลง ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ พบว่าอัตราผลตอบแทนจากยอดขาย และอัตราการหมุนเวียน ของสินค้าคงเหลือมีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนของหุ้นสูงกว่าอัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ และพบว่าอัตรา ส่วนทางการเงินที่บริษัทเปิดเผย สามารถอธิบายผลตอบแทนของหุ้นได้สูงกว่าส่วนทางการเงินที่ผู้วิจัยคำนวณ จากข้อมูลในงบการเงิน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนมีความเชื่อถือข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยมากกว่าการที่นักลงทุนนำข้อมูลจากงบการเงินมาทำการวิเคราะห์เอง |
Other Abstract: | The objectives of this are to study the relationship between financial ratios and stock returns to compare importance of financial rations that effect stock returns and to compare the relationship between the company’s disclosed financial ration taken from from 56-1 and stock returns and the relationship between financial ration calculate by researcher and stock returns. In this study, bivariate and multiple regression are used to test the relationship of financial ration and stock returns. This study finds that the relationship between financial rations and stock rations is exponential model for relationship return on saies retuin on assets and debt to equity ratio for both company’s disciosed rations and researcher calculated artios, as well as the companry’s disclosed inventory turnover. The results indicate that the increase in tinaciat rations is associated with gradual increase in stock returns at first, and with higher rate of stock returns increase later. The relationship between financial ration and stock returns is logarithmic model for company’s disclosed and researcher calculated return on equity and researcher calculated invenlory turnover. The results indicate that the increase in financial ration is associated with high inrease in stock returns at first and with lower increasing rate later. The multiple regression analysis results find that return on sales and inventory turnover are more related to stock returns than the another financial ratios. Finally, the company’s disclosed financial ratios in form 56-1 can explain the stock returns higher than the researcher calcutated financial ratios. The results indicate that investors rely on information disclosed by companies more than financial ratios that researcher calculates from the finatements. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบัญชี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67083 |
ISBN: | 9745325465 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Acctn - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sajee_sr_front_p.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sajee_sr_ch1_p.pdf | 750.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sajee_sr_ch2_p.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sajee_sr_ch3_p.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sajee_sr_ch4_p.pdf | 3.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sajee_sr_ch5_p.pdf | 891.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sajee_sr_back_p.pdf | 2.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.