Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67417
Title: ประสิทธิภาพของถังปฏิกรณ์อีจีเอสบีในการบำบัดน้ำเสียโรงงานแป้งมันสำปะหลัง
Other Titles: Efficiency of EGSB in treating tapioca-starch wastewater
Authors: สุวรรณา ขจรไพศาล
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chavalit.R@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด
เครื่องปฏิกรณ์
โรงงาน -- การกำจัดของเสีย
โรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
Sewage -- Purification
Factories -- Waste disposal
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงประสิทธิภาพของถังปฏิกรณ์อีจีเอสบี ในการบำบัดน้ำเสียโรงงานแป้งมันสำปะหลังที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์สูง โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ศึกษาประสิทธิภาพของระบบ อีจีเอสบีที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ต่างกัน คือที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 10 20 และ 40 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ใช้ความเร็วไหลขึ้นเท่ากันคือ 3 ม./ชม. ในช่วงที่ 2 ทําการศึกษาประสิทธิภาพของระบบอีจีเอสบีความเร็วไหลขึ้นต่างกัน เปรียบเทียบที่ความเร็วไหลขึ้น 3 5 และ 7 ม./ชม. ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 20 และ 40 กก.ซีโอดี/ลบ.ม. วัน ในการศึกษานี้น้ำเสียที่ใช้ในการทดลองคือน้ำเสียโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งมีค่าซีโอดีประมาณ 18,000 มก./ล. เจือจางให้มีความเข้มข้นของซีโอดีเพื่อใช้ในการทดลองคือ 3,000 มก./ล. ปรับค่าพีเอชให้เท่ากับ 7 เพื่อใช้ในการทดลอง ผลการทดลองช่วงที่ 1 พบว่า ระบบอีจีเอสบีในการบําบัดน้ำเสียแป้งมันสําปะหลัง มีประสิทธิภาพการกําจัด ซีโอดีสูงกว่า 92 เปอร์เซ็นต์ ในการบําบัดน้ำเสียที่รับภาระบรรทุกสารอินทรีย์ถึง 20 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน เมื่อเพิ่มภาระบรรทุกสารอินทรีย์ที่ 40 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน พบว่าประสิทธิภาพการกําจัคซีโอดีน้อยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เล็กน้อย ปริมาณก๊าซชีวภาพภาระบรรทุกสารอินทรีย์10 20 และ 40 กก.ซีโอดีเลบ.ม.-วัน มีค่าเท่ากับ 14.6 29.4 และ 39.6 ล./วัน ตามลําดับ และความสามารถจําเพาะในการสร้างมีเทนของเม็ดตะกอนมีค่าในช่วง 0.20-0.35 0.20-0.50 และ 0.28-0.42 ก.ซีโอดี-มีเทน/ก.วีเอสเอส-วัน ตามลําดับ ผลการทดลองช่วงที่ 2 พบว่า ประสิทธิภาพการกําจัดซีโอดีที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 20 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.วัน ความเร็วไหลขึ้น 3 5 และ 7 ม./ชม. ประสิทธิภาพการกําจัคซีโอดี เท่ากับ 93.48 95.29 และ 94.35 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ ปริมาณก๊าซชีวภาพ เท่ากับ 29.42 39.65 และ 45.77 ล./วัน ความสามารถจําเพาะในการสร้างมีเทนของเม็ดตะกอนมีค่าในช่วง 0.25-0.50 0.23-0.45 และ 0.21-0.47 ก.ซีโอดี-มีเทน/ก.วีเอสเอส-วัน ตามลำดับ เพิ่มภาระบรรทุกสารอินทรีย์ที่ 40 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน พบว่า ความเร็วไหลขึ้น 7 ม./ชม. มีประสิทธิภาพการกําจัคซีโอดี และปริมาณก๊าซชีวภาพลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วไหลขึ้น 3 และ 5 ม./ชม. ความเร็วไหลขึ้นและภาระบรรทุกสารอินทรีย์ สูงทำให้เม็ดตะกอนหลุดออกจากระบบได้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อความสามารถจําเพาะในการสร้างมีเทนของเม็ดตะกอนที่ลดลงด้วย จากผลการศึกษางานวิจัยนี้ จะได้ว่าระบบอีจีเอสบีเป็นทางเลือกใช้ในการบําบัดน้ําเสียแป้งมันสําปะหลังที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์สูงถึง 40 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน โดยใช้ความเร็วไหลขึ้น 3-5 ม./ชม. ได้อย่างเหมาะสม
Other Abstract: This research aims to study efficiency of EGSB in treating tapioca-starch wastewater, which contains high organic content. The research was divided into two experiments. The first experiment was done to investigate effect of organic loading rates at 10 20 and 40 kgCOD/m³-day with keeping upflow velocity at 3 m/hr. The second experiment was performed to investigate effect of upflow velocity on EGSB system performance. The upflow velocity were varied to 3 5 and 7 m/hr, while two organic loading rates at 20 and 40 kgCOD/m³-day were observed. The wastewater employed in this research was from a tapioca-starch industry having COD of 18,400 mg/l. The influent to the EGSB system was prepared by dilution of raw wastewater to have COD concentration at 3,000 mg/l, while influent pH was approximately 7. From the first experiment, it was found that COD removal efficiencies could be achieved higher than 92 percent even with organic loading rate upto 20 kgCOD/m³-day. When organic loading rate increased upto 40 kgCOD/m³-day, COD removal efficiency was slightly less than 90 percent. The biogas production was found to be 14.6 29.4 and 39.6 l/d at organic loading rates at 10 20 and 40 kgCOD/m³-day, respectively. Specific methanogenic activities of granular sludge were also in the ranges of 0.20-0.35 0.21-0.5 and 0.28-0.43 gCOD-methane/gVSS-d, respectively From the second experiment, it was found that COD removal efficiencies at COD loading rate of 20 kgCOD/m³-day were 93.5 95.3 and 94.4 percents with upflow velocities at 3 5 and 7 m/hr, respectively. The biogas production were 29.42 39.64 and 45.77 1/d, respectively. Specific methanogenic activities of sludge bed were in the range of 0.21-0.50 0.23-0.45 and 0.21-0.47gCOD-methane/gVSS-d, respectively. When COD loading rate was increased upto 40 kgCOD/m³-day, It was found that both COD removal and biogas production efficiencies were decreased at upflow velocity 7 m/hr, when compared to those of upflow velocity at 3 and 5 m/hr The reason was that higher upflow velocity and organic loading rate caused significant wash out of granular sludge from the system. Moreover, Specific methanogenic activities were also slightly decreased. From overall results obtained in this study, EGSB system can be alternative wastewater treatment system for tapioca-starch wastewater since it can accept a very high organic loading upto 40 kgCOD/m³-day at upflow velocity of 3-5 m/hr.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67417
ISBN: 9745326453
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwanna_ka_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.17 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_ka_ch1_p.pdfบทที่ 1711.76 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_ka_ch2_p.pdfบทที่ 22.91 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_ka_ch3_p.pdfบทที่ 31.17 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_ka_ch4_p.pdfบทที่ 48.66 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_ka_ch5_p.pdfบทที่ 5673.99 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_ka_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก7.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.