Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67577
Title: แนวจริยปฏิบัติในงานวรรณศิลป์ในประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ
Other Titles: Ethical-practice in literary works of Wat Phra Chetuphon inscriptions
Authors: ธนอร อัศวงค์
Advisors: อารดา กีระนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Arada.K@Chula.ac.th
Subjects: วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วรรณกรรมคำสอน
Wat Phra Chetuphon Vimolmangklararm
Didactic literature
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ ผู้วิจัยมุ่งที่จะศึกษาเนื้อหาวรรณกรรมคำสอนจารึกวัดพระเซตุพนฯ โดยวิเคราะห์ด้านแนวคิดทางจริยปฏิบัติ และความสำคัญของวิธีการทางวรรณศิลป์ที่มีผลต่อการนำเสนอแนวคิดทางจริยปฏิบัติ ผลจากการวิจัยพบว่า วรรณกรรมคำสอนที่จารึกอยู่ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามซึ่งมีอยู่ทั้งสิน ๙ เรื่อง ได้แก่ ๑. นิรยกถา ๒. เปตกถา ๓. ฉันท์วรรณพฤติ ๔. ฉันท์มาตราพฤติ ๕ . ฉันท์อัษฏาพานร ๖. ฉันท์กฤษณาสอน-น้อง ๗. ฉันท์พาสีสอนน้อง ๘. ร่ายสุภาษิตพระร่วง ๙. โคลงโลกนิติ มีเนื้อหาแสดงให้เห็นแนวคิดที่ทั้งสอนจริยปฏิบัติครอบคลุมแก่บุคคลทุกชนชั้นในจังคมไทย ตั้งแต่ชนชั้นปกครอง ได้แก่ ชนชั้นพระมหากษัตริย์ ชนชั้นเจ้านาย ชนชั้นข้าราชการ ขุนนาง นอกจากนั้นก็มีชนชั้นพิเศษคือ สมณสงฆ์จนกระทั้งถึงชั้นและประชาชนสามัญทั่วไปทั้งชายและหญิง ในแต่ละชนชั้นจะกล่าวถึงแนวจริยปฏิบัติต่อบุคคลในครอบครัว บุคคลอื่นในจังคม ตลอดจนสั่งสอนจริยปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป โดยภาพรวมแล้วคำสอนของทุกชนชั้นในสังคมไทยจะเน้นการสั่งสอนให้บุคคลปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม ผลการวิจัยอีกล่วนหนึ่งพบว่าศิลปะการประพันธ์มีส่วนสำคัญต่อการสอนแนวจริยปฏิบัติอยู่มาก กลวิธีการประพันธ์ในวรรณกรรมคำสอนเหล่านี้มีทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ส่วนสำนวนโวหารนั้นเป็นเทศนาโวหารเป็นส่วนใหญ่ โวหารอื่น ๆ ได้แก่ บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร สาธกโวหาร เป็นส่วนที่นำมาประกอบอยู่บ้างไม่มากนัก นอกจากนี้ในด้านศิลปะการใช้คำก็ยังมีความน่าสนใจไม่น้อย กล่าวคือมีผลต่อการสื่อความหมายและก่อ ให้เกิดความงามทางด้านเสียงได้แก่การใช้สัมผัส และการเล่นคำซ้ำคำซ้อน การสรรคำ ฯลฯ ศิลปะการประพันธ์เหล่านี้ก่อให้เกิดสุนทรยภาพแก่ผู้อ่านผู้ฟัง มีส่วนทำให้เนื้อหาของคำทั้งสอนน่าสนใจ อีกทั้งยังทำให้ผู้อ่านผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาคำสั่งสอนที่เป็นนามธรรม และส่งเสริมให้จดจำคำสอนได้ง่าย ทำให้ผู้อ่านผู้ฟังสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้
Other Abstract: This thesis aims at studying contents of didactic literature inscribed on stone slabs at Wat Phra Chetuphon in terms of their ethical practices and literary methods that affect the way these practices are presented. The research has found that didactic literature inscribed on stone slabs at Wat Phra Chetuphon consist mainly of nine literary works, namely Niriyakatha, Petakatha, Chan Wannaprut, Chan Matraprut, Chan Asdapanorn, Krisna Sorn Nong Kham Chan, Chan Pali Sorn Nong, Rai Suphasit Phra Ruang and Klong Lokaniti. The contents of these works present principles in teaching ethical practices to people of all social levels from the ruling class— monarchs, members of the royal family, noblemen and government officials, and a special class - clergy men, to commoners of both men and women. As related to each social class, there are ethical practices for family members, for other people in society and those used as guidelines in daily routine. For an overall image, didactic lessons for all social levels in Thai society will emphasize the conduct adhering to Buddhist principles, which will contribute a great deal to the way of living and co-habiting in society. Another part of the research has found that techniques of composition play a very important role in teaching ethical practices. The techniques used to present these works are both prose and poetry. The style is mainly a sermon style, with narrative, descriptive and interrogative modes sparsely used. Besides, the artistic use of words is also interesting since it affects how the meanings of words are relayed as well as creates an aesthetic value in sounds through the choice of alliterations, assonances, repetitions, word redundancies and word selections. The art of writing stirs aestheticism in readers and listeners, which in turn makes the didactic lessons more interesting. It helps them understand abstractions and facilitate their memorization of the lessons so that they can apply what they have been taught to their daily life.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67577
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.215
ISSN: 9741309546
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.215
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanaon_ad_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ786.97 kBAdobe PDFView/Open
Tanaon_ad_ch1_p.pdfบทที่ 1818.54 kBAdobe PDFView/Open
Tanaon_ad_ch2_p.pdfบทที่ 21.22 MBAdobe PDFView/Open
Tanaon_ad_ch3_p.pdfบทที่ 33.3 MBAdobe PDFView/Open
Tanaon_ad_ch4_p.pdfบทที่ 41.45 MBAdobe PDFView/Open
Tanaon_ad_ch5_p.pdfบทที่ 5692.44 kBAdobe PDFView/Open
Tanaon_ad_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก720.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.