Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67943
Title: ผลทางสังคมของภาพยนตร์จีนชุด "เปาบุ้นจิ้น" ที่มีต่อผู้ชมในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The social effects of the Chinese TV drama, "Judge Poa" on the viewers in Bangkok
Authors: นฤบดี วรรธนาคม
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Parichart.S@Chula.ac.th
Subjects: ละครโทรทัศน์
ภาพยนตร์ -- แง่สังคม
การเรียนรู้
Television plays
Motion pictures -- Social aspects
Learning
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลทางสังคมของภาพยนตร์จีนชุด “เปาบุ้นจิ้น” ต่อผู้ชมในกรุงเทพมหานครในประเด็นหลัก ๆดังต่อไปนี้ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมที่นำเสนอในภาพยนตร์จีนชุด “เปาบุ้นจิ้น” การเรียนรู้ค่านิยมส่งเสริมสังคม การมองเปาบุ้นจิ้นในฐานะแม่แบบในการดำรงชีวิต และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงกับ “เปาบุ้นจิ๋น” โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มตัวอย่างแบบ การจำแนกสัดส่วน ตามอาชีพ (Quota-Sampling) ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1. ผู้ชมภาพยนตร์จีนชุด “เปาบุ้นจิ้น” มีส่วนร่วมในวัฒนธรรมที่นำเสนอในภาพยนตร์ ในระดับปานกลาง 2. ผู้ชมเรียนรู้ค่านิยมที่นำเสนอในภาพยนตร์จีนชุด “เปาบุ้นจิ้น” ในระดับปานกลาง โดยค่านิยมที่ผู้ชมเรียนรู้มากที่สุดคือ ค่านิยมในด้านความกตัญณูกตเวที 3. ผู้ชมมองเปาบุ้นจิ้นในฐานะแม่แบบในการดำรงชีวิตในระดับปานกลาง 4. ผู้ชมภาพยนตร์จีนชุด “เปาบุ้นจิ้น” มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงกับเปาบุ้นจิ้น ในระดับปานกลาง 5. ระดับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงกับเปาบุ้นจิ้นมีความสัมพันธ์ในเซิงบวกกับ การเรียนรู้ค่านิยมส่งเสริมสังคมของผู้ชม 6. ระดับการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมที่นำเสนอ การเรียนรู้ค่านิยมส่งเสริมสังคม การมอง เปาบุ้นจิ้นในฐานะแม่แบบในการดำรงชีวิต และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงกับเปาบุ้นจิ้นจะแตกต่างกันตามเพศและเชื้อชาติ
Other Abstract: The main objective of this study is to examine the social effects of the Chinese TV drama, “Judge Pao,” on viewers in Bangkok, in terms of cultural shareabiltiy, social learning, role modeling, and Para social interaction. The survey research was conducted. The samples include 400 Bangkokians. The results of this study are as follows: 1. Viewers can share the cultural concepts with “Judge Pao” at moderate level. 2. Viewers learn prosocial values from “Judge Pao” at moderate level. The values which viewers learn at the highest level is gratefulness. 3. Viewers regard “Judge Pao” as their role model at moderate level. 4. The degree of Para social interaction between viewers and “Judge Pao” is moderate. 5. The degree of Para social interaction is positively correlated with the degree of learning prosocial values. 6. The degree of cultural shareability, social learning, role modeling, and Para social interaction are different among genders and races
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67943
ISBN: 9746399195
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narubodee_wa_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.04 MBAdobe PDFView/Open
Narubodee_wa_ch1_p.pdfบทที่ 11.01 MBAdobe PDFView/Open
Narubodee_wa_ch2_p.pdfบทที่ 22.21 MBAdobe PDFView/Open
Narubodee_wa_ch3_p.pdfบทที่ 31.09 MBAdobe PDFView/Open
Narubodee_wa_ch4_p.pdfบทที่ 41.32 MBAdobe PDFView/Open
Narubodee_wa_ch5_p.pdfบทที่ 51.43 MBAdobe PDFView/Open
Narubodee_wa_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.