Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68215
Title: อำนาจสอบสวนของเจ้าหน้าที่ทหารเรือไทย
Other Titles: Investigating authority of the Thai Navy officer
Authors: เชาวเลิศ ประสพสันต์
Advisors: กมลชัย รัตนสกาวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ทหารเรือ -- การสืบสวนสอบสวน
ทหารเรือ -- การตรวจค้น -- อำนาจหน้าที่
ทหารเรือ -- การจับกุม -- อำนาจหน้าที่
พยานหลักฐาน
ทหารเรือ -- ไทย
กฎหมายทะเล -- ไทย
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
การสืบสวนคดีอาญา
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในน่านน้ำไทย เป็นภารกิจหนึ่งซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารเรือได้ รับมอบอำนาจและหน้าที่ในการรักษากฎหมาย เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทหารเรือมีความพร้อมในการปฏิบัติการในน่านน้ำไทย ซึ่งปรากฎว่ามีกฎหมายหลายฉบับที่ได้ให้อำนาจและหน้าที่แก่เจ้าหน้าที่ทหารเรือไว้แตกต่างกัน เช่น พ.ร.บ.ให้อำนาจ ทหารเรือปราบปรามการกระทำผิดบางอย่างทางทะเล พ.ศ.2490 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2534) ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจสอบสวน และเป็นพนักงานสอบสวน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามกระทำอันเป็นโจรสลัด พ.ศ.2534 ให้อำนาจเจ้า หน้าที่ทหารเรือมีอำนาจสืบสวนสอบสวนเบื้องต้น พ.ร.บ.เรือไทย พ.ศ.2481 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2534) ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ ทหารเรือมีอำนาจตรวจค้น จับกุม และนำตัวผู้กระทำผิดส่งให้พนักงานสอบสวน เป็นต้น ความแตกต่างกันของบทบัญญัติแห่งกฎหมายประกอบกับความชำนาญในการสอบสวนคดีอาญาของเจ้าหน้าที่ทหารเรือ ได้ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ คือ เจ้าหน้าที่ทหารเรือไม่มีความชำนาญและไม่มั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะไม่พบว่ามีอำนาจอยู่อย่างไร สามารถใช้ อำนาจได้มากน้อยเพียงใด หรือเมื่อปฏิบัติการตามที่กฎหมายให้อำนาจแล้ว ก็มักจะนำตัวผู้ถูกจับกุมส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป ทั้ง ๆ ที่กฎหมายบางฉบับนั้น เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจในการสอบสวนได้เอง ความแตกต่างของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารเรือดังกล่าวจึงสมควรที่จะปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยมีแนวทางดังนี้ แนวทางที่ 1 บัญญัติกฎหมายฉบับใหม่ให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจในการตรวจค้น จับกุม การกระทำผิดกฎหมายที่มีโทษทางอาญาในทะเลทุกประเภทความผิด ย่อมทำให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติการ และหากเกิดความผิดทางอาญาใหม่ๆ ก็สามารถอ้างอิงอำนาจจากกฎหมายที่ออกมาใหม่นี้ได้ แต่จะทำให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือเข้ามามี บทบาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญามากขึ้น แนวทางที่ 2 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจในการตรวจค้น จับกุม และนำตัวผู้ถูกจับกุมส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป การมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจสอบ สวนนั้นก่อให้เกิดปัญหา แก่เจ้าหน้าที่ทหารเรือ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทหารเรือไม่มีความชำนาญในการสอบสวนคดีอาญา จึงสมควรมอบอำนาจในการปฏิบัติการให้แก่เจ้าหน้าที่ทหารเรือเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากมิได้มีการมอบอำนาจในการรวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้น ให้แก่พนักงานสอบสวนเลยนั้น ย่อมทำให้เกิดความยากลำบากในการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวน จึงสมควรนำแนวทางแก้ไข ปัญหาในแนวที่ 1และ 2 มาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหา กล่าวคือ สมควรมีการบัญญัติกฎหมายฉบับใหม่ โดยกำหนดถึงวิธี ปฏิบัติการป้องกัน และปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในบริเวณน่านน้ำไทย โดยให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเบื้องต้น เกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายที่มีโทษทางอาญา และจับกุมผู้กระทำผิดส่งให้พนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินการต่อไป
Other Abstract: Defence and suppression of law’s violation in Thai Waters are the missions which Navy Officer have power and function to enforce the law. It is because Navy Officer have capability to perform them. However, the relevant laws that authorized Navy Officer to perform their function are not provided in the same kinds of crimes in Thai Waters Act B.E. 2490 (amended B.E. 2534) empower Navy Officer to have inquiry and investigating authority and to be the inquiry official. Defence and suppression privacy Act B.E. 2534 empower Navy Vessel Act B.E. 2481 empower Navy Officer to have inspection searching authority, arresting authority, and authorize Navy Officer to bring offender to the inquiry official for furthur operation. The different of these provisions and the Navy Officer’s skill in inquire criminal are cases make a problem in practice. It is that Navy Officer are hesitate and loose confidence to function their duties because they do not know how many power they have and so, sometimes, they often take offender to inquiry official despite some legislations provide that Navy Officer have inquiry authoity. These difference of the provisions of these legislation effect to the Navy Officer’s performance. So, they should be amended by some of these ways. 1. Enact new legislation that empower Navy Officer to have inspection search and arresting [authority] for enforce all criminal offence in Thai Waters. This way would make Navy Officer have self- confidence for performing their function and if some new criminal offence bases take place, we can refer power from this new legislation 2. Amend the existing legislation to empower Navy Officer to have inspecting search authority, arresting authority and authorizing Navy Officer to Bring the offender to the inquiry official. But this way would make Navy Officer some problem in performing their function because they have a few skill. However, if inquiry official do not be authorized in collecting prima facie evidence, the collecting prima facie evidence procedure would not be successful. So, we should solve this problem by appreciating both 1 and 2. We should enact new law which provide guideline for defence and suppression law’s violation in Thai Waters which empowers Navy Officer to have primary investigation and inquiry authority regrinding to delinquency and bringing offender to inquiry official for [further] operation.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68215
ISBN: 9743322221
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaowalert_pr_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ980.55 kBAdobe PDFView/Open
Chaowalert_pr_ch1_p.pdfบทที่ 1779.38 kBAdobe PDFView/Open
Chaowalert_pr_ch2_p.pdfบทที่ 21.9 MBAdobe PDFView/Open
Chaowalert_pr_ch3_p.pdfบทที่ 34 MBAdobe PDFView/Open
Chaowalert_pr_ch4_p.pdfบทที่ 41.76 MBAdobe PDFView/Open
Chaowalert_pr_ch5_p.pdfบทที่ 5752.15 kBAdobe PDFView/Open
Chaowalert_pr_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.