Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68427
Title: การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าระหว่างจังหวัดเชียงราย กับ เมืองเชียงรุ่ง โดยทางบกและทางน้ำ
Other Titles: The efficiency comparison in commodity transportation between Changrai and Jianghong by land route and water route
Authors: ยุทธนา วรชื่น
Advisors: ประจักษ์ ศกุนตะลักษณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การขนส่งสินค้า
ยูนนาน (จีน)
สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ
ไทย -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ -- จีน
Commercial products -- Transportation ; Shipment of goods
Thailand -- Foreign economic relations -- China
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การขนส่งสินค้าระหว่างจังหวัดเชียงราย กับเมืองเชียงรุ่ง (จิ่นหง) สามารถทำการขนส่งสินค้าได้ทั้งทางบก โดยใช้เส้นทางจากชายแดนไทย-พม่า ที่อำเภอแม่สาย ผ่านเมืองเชียงตุง ประเทศพม่า เข้าสู่ประเทศจีน ที่ด่านต้าหลั่ว จากนั้นเข้าสู่เมืองเชียงรุ่ง ในเขตปกครองสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ในขณะที่การขนส่งสินค้า ทางน้ำจะเดินทางตามแม่น้ำโขงจากท่าเรือเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ผ่านแม่น้ำโขงช่วงที่เป็นชายแดนลาว-พม่า จากนั้นเข้าสู่ประเทศจีนที่เมืองล่า และเดินทางต่อสู่ท่าเรือจิ่นหง ในงานวิจัยนี้ได้แบ่งเรือสินค้าออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เรือสินค้าขนาดเล็ก, ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับการขนส่งทางบก โดยใช้รถบรรทุกสิบล้อ ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพจะใช้ต้นทุนเฉลี่ยต่อตัน ต่อกิโลเมตร จากการ สัมภาษณ์ผู้ประกอบการและเป็นต้นทุนที่เกิดจากการดำเนินการขนส่งสินค้า 8 ชนิดได้แก่ แอปเปิล, สาลี่, เห็ด หอมตากแห้ง, ข้าวสาร, ลำไยอบแห้ง, มะขามหวาน, นมผง และยางรถยนต์ เป็นดัชนีแสดงถึงประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้า จากการศึกษาพบว่า เรือสินค้าขนาดใหญ่จะมีต้นทุนต่อตัน ต่อกิโลเมตรที่ต่ำกว่าพาหนะแบบอื่น เมื่ออยู่ในช่วงเดือนที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงสูง ซึ่งได้แก่ช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ตามเมื่อ ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลง โดยเฉพาะเดือนพฤษภาคม และเดือนธันวาคมซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนฤดู เรือสินค้าขนาดเล็ก จะมีต้นทุนต่อตัน ต่อกิโลเมตรที่ต่ำที่สุด (ยกเว้นกรณีของการขนส่งยางรถยนต์) และเมื่อระดับน้ำในแม่น้ำโขงอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง เรือสินค้าขนาดกลาง และขนาดใหญ่จะไม่สามารถเดินทางในแม่น้ำโขงได้ ทำให้พาหนะที่ให้บริการขนส่งสินค้ามีเพียงรถบรรทุก และเรือสินค้าขนาดเล็ก ซึ่งเรือสินค้าขนาดเล็กจะมีต้นทุนต่อตัน ต่อกิโลเมตรที่ต่ำที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรถบรรทุก พบว่าในทุกฤดูกาล จะมีต้นทุนต่อตัน ต่อกิโลเมตรที่สูงที่สุด เมื่อเทียบกับเรือสินค้าทั้ง 3 ประเภท ดังนั้นสรุปได้ว่าเมื่อระดับน้ำในแม่น้ำโขงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนพฤศจิกายน จะเกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) ในการขนส่งสินค้าระหว่างจังหวัดเชียงราย กับเมืองเชียงรุ่ง ทั้งนี้เมื่อไม่พิจารณาถึงเรือสินค้าขนาดกลาง ซึ่งมีโครงสร้างต้นทุนที่แตกต่างจากเรือสินค้าขนาดอื่น ๆ
Other Abstract: The commodity transportation between Chaing Rai and Jianghong has 2 routes: land route and water route. The land route transporters move from Thai-Myanmar border at Mai Sai pass Chai- in-Tung in Myanmar to Myanrnar-China border at Da Lio, then travel to them destination Jinghong. The water route transportation proceeds from Chinag Saen port in Chaing Rai along the Mekhong River (called in China "Lancang Jiang") to Jianghong port. This thesis uses the cost per ton-kilometer of transportation enterprises in that area to compare the efficiency between the truck transportation and ships. Ships are divided in 3 sizes: small-sized ship (80-99 dwt.), medium-sized ship (100-199 dwt.) and large-sized ship (200 dwt. UP). This thesis analyzes 8 commodities transported ton- kilometer: apple, Chinese pear, dried mushroom, rice, dried longan, tamarind, powdered milk and truck's tire. The results show that the large-sized ship has the lowest cost per ton-kilometer for all commodities transported in June to November, with high water level in the Mekong River. While in May and December, the small sized-ship has the lowest cost per ton-kilometer in almost every commodities transported except tires. In summer (January to April) when the water level in the Mekong River is low, only the small-sized ship can travel along this route, and it has lower cost per ton - kilometer than truck. Moreover, transportation by truck has the highest cost per ton - kilometer for all commodities transported in all seasons. With the exception of medium-sized ship of which cost structure is somewhat different from other-sized ships, it can be concluded that there exists an economy of scale in water-route transportation between Chaing Rai and Jianghong during the high water level season in the Mekong River.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68427
ISSN: 9743325255
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yutthana_vo_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ776.56 kBAdobe PDFView/Open
Yutthana_vo_ch1.pdfบทที่ 11.75 MBAdobe PDFView/Open
Yutthana_vo_ch2.pdfบทที่ 22.36 MBAdobe PDFView/Open
Yutthana_vo_ch3.pdfบทที่ 31.8 MBAdobe PDFView/Open
Yutthana_vo_ch4.pdfบทที่ 43.52 MBAdobe PDFView/Open
Yutthana_vo_ch5.pdfบทที่ 54.52 MBAdobe PDFView/Open
Yutthana_vo_ch6.pdfบทที่ 6315.62 kBAdobe PDFView/Open
Yutthana_vo_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.