Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68780
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าเกี่ยวกับพรมแดนทางบก : ศึกษาการดำเนินนโยบายของไทยเกี่ยวกับกรณีดอยลาง บ้านเจดีย์สามองค์ และเนิน 491
Other Titles: Thailand - Burma relations concerning land boundaries : a study of the implementation of Thai policies on Doilarng, Ban Chedi-Sarm-Ong, and Nern 491
Authors: เจษฎา หุ่นเฮง
Advisors: ชัยโชค จุลศิริวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chayachoke.C@Chula.ac.th
Subjects: ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- พม่า
ไทย -- ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ -- พม่า
ไทย -- ปัญหาชายแดน -- พม่า
กระทรวงกลาโหม
สภาความมั่นคงแห่งชาติ
กองอำนวยการปฏิบัตินโยบายชายแดนไทย-พม่า
บ้านเจดีย์สามองค์
Thailand -- Foreign relations -- Burma
Thailand -- International relations -- Burma
Thailand -- Boundary disputes -- Burma
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะศึกษาถึงการดำเนินนโยบายขององค์การที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติในท้องถิ่นเกี่ยวกับกรณีดอยลาง บ้านเจดีย์สามองค์และเนิน 491 ในช่วงเกิดวิกฤตการณ์ ตลอดจนศึกษาถึงลักษณะของหน่วยงานหรือองค์การของรัฐดังกล่าว เพื่อเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์การดำเนินนโยบายของไทย จากการศึกษาพบว่า การที่ไทยมีแนวพรมแดนติดต่อกับพม่าเป็นระยะทางยาวกว่า 2,800กิโลเมตร ทำให้ไทยและพม่ามีปัญหาความขัดแย้งบริเวณพรมแดนหลายเรื่อง เช่น ปัญหาเส้นเขตแดน ปัญหาผู้ผลัดถิ่น ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง และปัญหายาเสพติด เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาความขัดแย้งตามแนวพรมแดนทางบกนั้น ในบางครั้งถึงขั้นมีการใช้กำลังต่อกัน ดังในกรณีปัญหาพิพาทที่ดอยลาง และบ้านเจดีย์สามองค์ นอกจากนี้ยังพบว่าองค์การที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัตินโยบายในท้องถิ่น ในบางครั้งจะดำเนินนโยบายตามแนวคิดด้านผลประโยชน์ มโนทัศน์ และยุทธวิธีขององค์กร ซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดไว้ ส่วนกรณีพิพาทที่เนิน 491 วิกฤตการณ์ได้ดำเนินการถึงขั้นเตรียมพร้อมจะใช้กำลังต่อสู้กับพม่า แต่วิกฤตการณ์ได้แปรเปลี่ยนไปสู่ภาวะปรกติ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีกระแสพระราชดำรัส ให้ทุกฝ่ายหาวิธีการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ดังนั้น ในกรณีนี้ การดำเนินนโยบายของผู้ปฏิบัติ จึงยังไม่เป็นไปตามแนวคิดของตนเองและขององค์การ อย่างไรก็ตาม องค์การที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย และผู้ปฏิบัตินโยบายในท้องถิ่น แม้ว่าโดยทั่วไป จะดำเนินตามแนวคิดด้านผลประโยชน์ และยุทธวิธีขององค์การและของตนเองก็ตาม แต่องค์การเหล่านั้น ยังคงยึดหลักนโยบายของชาติในแนวทางเดียวกัน ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์แห่งชาติเป็นสำคัญ
Other Abstract: The main objective of this thesis is to make a study on the implementation of the policy of Thai governmental organizations relating to policy making and on officials representing local agencies who implemented the policy as regards the crises at Doi Larng, Ban Chedi-sarm-one, and Nern 491. The thesis also made a study on structures of these state agencies and organizations so that they could be used for bases of analysis on the implementation of the policy. From this study it is found that Thailand, by having a common border of more than 2,800 kilometers with Burma, faced with a number of problems along border areas such as boundary questions, refugees, illegal migrants, drug offences, etc. Certain problems in particular occurring along the land boundary led to the use of military forces, in two of the three cases under studies, that is the cases at Doi Larng, and Ban Chedi-sarm-[one]. It is also found that the policy formulating organizations and local agencies would implement the policy in accordance with their concepts of interests, perceptions, and strategies which sometimes differed from the set policy. However, in the case of Nern 491, the use of force almost occurred but through the King’s advice which urged all parties concerned to seek a peaceful settlement, the crisis was averted. Therefore, in this last instance, policy implemented by local officials did not follow their concepts of interests and the concepts of their organizations. For the final conclusion, it can be said that although policy making organizations and local agencies which [implemented] the policy followed their concepts of interests, perceptions and strategies, they would generally adhere to the same national policy basing on the principle of national interests.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68780
ISBN: 9743317163
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jesada_ho_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.21 MBAdobe PDFView/Open
Jesada_ho_ch1_p.pdfบทที่ 11.23 MBAdobe PDFView/Open
Jesada_ho_ch2_p.pdfบทที่ 22.18 MBAdobe PDFView/Open
Jesada_ho_ch3_p.pdfบทที่ 31.57 MBAdobe PDFView/Open
Jesada_ho_ch4_p.pdfบทที่ 45.71 MBAdobe PDFView/Open
Jesada_ho_ch5_p.pdfบทที่ 51.13 MBAdobe PDFView/Open
Jesada_ho_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.