Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70860
Title: มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการหมุนเวียนพลาสติกกลับมาใช้ใหม่
Other Titles: Legal measures for the promotion of plastic recycling
Authors: วสันต์ เอารัตน์
Advisors: สุนีย์ มัลลิกะมาลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์
พลาสติก -- การนำกลับมาใช้ใหม่
กฎหมายสิ่งแวดล้อม
นโยบายสิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์กฎหมายไทยที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหามูลฝอยพลาสติก ตลอดจนศึกษาหาแนวทางและมาตรการของกฎหมายที่เกี่ยวกับการหมุนเวียนพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ของต่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหามูลฝอยพลาสติก ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายไทยที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหามูลฝอยยังมีลักษณะที่จำกัดและไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการแก้ไขปัญหามูลฝอยพลาสติก กล่าวคือ กฎหมายนี้มิได้มีเจตนารมณ์ที่จะมุ่งแก้ไขปัญหามูลฝอยแต่อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการจัดการสาธารณสุขและ อื่น ๆ อีกด้วย อันเป็นผลให้กฎหมายเหล่านี้มีเนื้อหาสาระของกฎหมายที่มุ่งไปตาม เจตนารมณ์ของกฎหมาย ฉบับนั้น จึงไม่สามารถใช้กฎหมาย เหล่านี้ในการแก้ไขปัญหามูลฝอยพลาสติก อีกทั้งกฎหมายบางฉบับยังให้เป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นที่จะตรากฎหมายลำดับรองในการแก้ไขปัญหามูลฝอย โดยเนื้อหา สาระของกฎหมายลำดับรองนั้น ต้องอยู่ภายในขอบเขตที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ ในขถะที่ปัญหามูลฝอย พลาสติกนั้น เป็นปัญหาที่จำต้องใช้เทคนิคและความผู้เฉพาะ ที่งในปัจจุบันราชการส่วนท้องถิ่นยังมีขีดความสามารถจำกัด จากสภาพปัญหานั่นเอง ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้รัฐต้อง เข้ามากำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสม โดยใช้แนวทางการหมุนเวียนพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ ด้วยการบัญญัติกฎหมาย เฉพาะเรื่องขึ้นบังคับใช้ใหม่ โดยใช้แนวทางการหมุนเวียนพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ในการแก้ไขปัญหามูลฝอยพลาสติก และนำมาตรการทางกฎหมายในการหมุนเวียนพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ของต่างประเทศที่เหมาะสมมาใช้ด้วย เช่น ระบบการมัดจำและคืนบรรจุภัณฑ์พลาสติก การกำหนดให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพลาสติกระบุชนิด พลาสติกที่ตัวผลิตภัณฑ์พลาสติก หรือการกำหนดโควต้าในการหมุนเวียนพลาสติกกลับมาใช้ใหม่
Other Abstract: The research has the objective to study and analyse the exiting of Thai laws related to the garbage plastic problems as will as to find out foreign direction and legal measures dealing with the problems. The result of the study comes out that, at present, the contents of the laws are limited and ineffictive enough to deal with the plastic garbage problems. These due to the main purpose of the laws do no deal with only the plastic garbage problems but also with other public health management. Besides though some laws authorised local authorities to issue subordinate law to solve the plastic garbage problems, such subordinate laws still need special technique and knowledge for the issuance of the laws which the local authorities have less capacities. It has recommended that it should have appropriate specific law which has the legal measures to solve such problems. The legal measures of U.S.A. and Germany should be adopted. The measures should cover the system of deposit and redemption of plastic container; the industrial operator should identify the type of plastic appeared on the products; and provide quotas for plastic reclycle.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70860
ISBN: 9745846911
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wasan_ha_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1 MBAdobe PDFView/Open
Wasan_ha_ch1_p.pdfบทที่ 11.27 MBAdobe PDFView/Open
Wasan_ha_ch2_p.pdfบทที่ 21.84 MBAdobe PDFView/Open
Wasan_ha_ch3_p.pdfบทที่ 31.47 MBAdobe PDFView/Open
Wasan_ha_ch4_p.pdfบทที่ 42.38 MBAdobe PDFView/Open
Wasan_ha_ch5_p.pdfบทที่ 52.35 MBAdobe PDFView/Open
Wasan_ha_ch6_p.pdfบทที่ 6942.31 kBAdobe PDFView/Open
Wasan_ha_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก978.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.