Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71035
Title: ผลของการใช้รูปแบบการสอนตามแนวทฤษฎีสามเกลียวของสเติร์นเบอร์ก ในวิชากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: Effects of using Sternberg's Triarchic Teaching Model in life experiences area on creative problem solving and academic achievement of prathom suksa five students
Authors: ศศิกานต์ วิบูลยศรินทร์
Advisors: นิรันดร์ แสงสวัสดิ์
ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การแก้ปัญหา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
นักเรียนประถมศึกษา
กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
สเติร์นเบอร์ก, โรเบิร์ต เจ
ปัญญา -- การทดสอบ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอนตามแนวทฤษฎีสามเกลียวของสเติร์นเบอร์กในวิชากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลสามเสน จำนวน 86 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 43 คน กลุ่มควบคุม 43 คน ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่เจาะจงอย่างง่าย ในระยะการทดลองกลุ่มทดลองได้รับการสอนตามรูปแบบการสอนตามแนวทฤษฎีสามเกลียวของสเติร์นเบอร์กจำนวน 10 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนตามปกติจำนวน 10 ครั้ง โดยใช้เนื้อหาวิชากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ผู้วิจัยทำการประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และแบบประเมินผลผลิตของการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และทำการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระยะก่อนการทดลองและหลังการทดลอง จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1.คะแนนการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ในมิติของกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.คะแนนการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ในมิติของกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.คะแนนการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ในมิติของผลผลิตของการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.คะแนนการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ในมิติของผลผลิตของการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5.คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6.คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this research w as to study the effects of using Sternberg's Triarchic Teaching Model in life experiences area on creative problem solving and academic achievement of Prathom Suksa five students. The subjects w ere 86 Prathom Suksa five students from Samsen Kindergarten School. They were randomly assigned into experimental group and control group with 43 each. The experimental group was taught ten sessions using Sternberg's Triarchic Teaching Model while the control group was taught ten sessions by traditional teaching within the content of the life experiences area. All subjects were tested on creative problem solving by Creative Problem Solving Test and Creative Problem Solving Product Semantic Scale before and after treatment. And then, they were tested on academic achievement by Academic Achievement Test before and after treatment. The data were analyzed by t-test. The results were as follows: 1. The students in the experimental group had higher scores on creative problem solving by Creative Problem Solving Test on the posttest than the students in the control group at the significant level of .01. 2. The students in the experimental group had higher scores on creative problem solving by Creative Problem Solving Test on the posttest than on the pretest at the significant level of .01. 3. The students in the experimental group had higher scores on creative problem solving by Creative Problem Solving Product Sem antic Scale on the posttest than the students in the control group at the significant level of .01. 4. The students in the experim ental group had higher scores on creative problem solving by Creative Problem Solving Product Semantic Scale on the posttest than on the pretest at the significant level of .01. 5. The students เท the experimental group had higher scores on academic achievement by Academic Achievement Test on the posttest than the students in the control group at the significant level of .01. 6. The students in the experimental group had higher scores on academic achievement by Academic Achievement Test on the posttest than on the pretest at the significant level of .01.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71035
ISBN: 9741308337
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasikarn_wi_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ849.19 kBAdobe PDFView/Open
Sasikarn_wi_ch1_p.pdfบทที่ 1835.29 kBAdobe PDFView/Open
Sasikarn_wi_ch2_p.pdfบทที่ 22.43 MBAdobe PDFView/Open
Sasikarn_wi_ch3_p.pdfบทที่ 31.11 MBAdobe PDFView/Open
Sasikarn_wi_ch4_p.pdfบทที่ 4801.15 kBAdobe PDFView/Open
Sasikarn_wi_ch5_p.pdfบทที่ 51.12 MBAdobe PDFView/Open
Sasikarn_wi_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก5.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.