Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71132
Title: | การจัดการศึกษากฎหมายตามแบบตะวันตกของไทยระหว่าง พ.ศ. 2440-2482 |
Other Titles: | Organization of the Thai legal education along western lines during 1897-1939 |
Authors: | ภัคพงศ์ จันทรสนธิ |
Advisors: | ปิยนาถ บุนนาค |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Piyanart.B@Chula.ac.th |
Subjects: | นิติศาสตร์ -- ไทย กฎหมาย -- การศึกษาและการสอน -- ไทย Jurisprudence -- Thailand Law -- Study and teaching -- Thailand |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงการนำเอาแนวความคิดทางกฎหมายของชาวตะวันตกมาใช้ในการจัดการศึกษากฎหมายของไทย ซึ่งนอกจากจะมีขึ้นเพื่อการผลิตนักกฎหมาย ให้กับกระบวนการยุติธรรมแบบใหม่ที่ไทยได้ก่อตั้งขึ้นมาแล้ว การจัดการศึกษากฎหมายตามแบบ ตะวันตกของไทยยังมีผลต่อการผลิตนักกฎหมายผู้มีส่วนในการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการร่างกฎหมายด้วย อันเป็นเหตุให้ไทยได้รับสิทธิสภาพนอกอานาเขตกลับคืนมาอย่างสมบูรณ์ในที่สุด ผลจากการศึกษาพบว่าในการจัดการศึกษากฎหมายตามแบบตะวันตกของไทยนั้นมีขึ้นเพื่อตอบสนองต่อแรงกดดันทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจจักรวรรดินิยม ซึ่งอังกฤษ และฝรั่งเศลเป็นประเทศจักรวรรดินิยมที่สามารถใช้อิทธิพลทั้งทางการทหาร และการเมือง บีบคั้นให้รัฐบาลไทยไม่สามารถใช้อำนาจรัฐในการควบดคุมความเป็นไปของคนในบังคับของประเทศจักรวรรดินิยมทั้งสองได้ การจัดการศึกษากฎหมายตามแบบตะวันตกจึงเกิดขึ้นมา เพื่อการผลิตนักกฎหมายผู้มีความรู้ความสามารถให้เข้ามาพัฒนางานด้านการยุติธรรมที่ได้รับการปฏิรูปให้เป็นแบบตะวันตก เนื่องจากรัฐมีความต้องการปกป้องผลประโยขน์ และลดการสูญเสียผลประโยชน์ของรัฐลงให้ได้มากที่สุด การผลิตทนายเพื่อว่าความให้กับรัฐในศาลต่างประเทศ ซึ่งทนายผู้มีความเชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษอย่างถ่องแท้ มีความสำคัญต่อรัฐเป็นอย่างยิ่งที่จะสามารถว่าความเพื่อการรักษาผลประโยชน์ให้กับรัฐอย่างได้ผลดี การที่รัฐสมบูรณาญาสิทธิของไทย นำเอาความรู้ทางกฎหมายแบบตะวันตกมาใช้ในการจัดการศึกษา ทำให้รัฐสมบูรณาญาสิทธิต้องกลั่นกรองเอาสิ่งที่มีผลกระทบต่อความมันคงของรัฐให้น้อยที่สุดมาใช้ในการบรรยายวิชากฎหมาย เพื่อ เป็นการรักษาพระราชอำนาจของนระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับในระบอบศักดินาเอาไว้ แต่การจัดการศึกษากฎหมายในช่วงหลังของการปกครองตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิกลับมีความต้องการนำเอา ระบบประมวลกฎหมาย ซึ่งให้ความสำคัญกับการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมาใช้ในการจัดการศึกษายังผลให้แนวความคิดทางกฎหมายที่เกิดขึ้นมา กลายเป็นแรงผลักดันให้นักกฎหมายผู้ที่ได้เข้าเป็นกรรมการร่างกฎหมายได้บรรจุเนื้อหาที่ให้สิทธิเสิรีภาพ และความเสมอภาค ของบุคคลที่มากขึ้นต่อไป ในการทำวิจัยนี้ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า ความสำเร็จในการร่างกฎหมายอันมีผลต่อการ หลุดพ้นจากการสูญเสียอำนาจอธิปไตยของรัฐนั้น การพัฒนาการศึกษากฎหมายในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2475 มีผลต่อความสำเร็จดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเป็นผลมาจากการวางแผนเพื่อพัฒนาการศึกษาและการผลิตนักกฎหมาย |
Other Abstract: | The main purpose of this thesis is to investigate the influence and the adaptation of western legal ideas on the modernization of Thai legal education. The modernization of Thai legal training was to prepare Thai lawyers to work within the modern Thai legal system. These lawyers, who were trained under the influence of western legal systems, later participated in the forming of a Thai legal committee, which helped abolish the extraterritorial rights of western countries over Thailand. The results of the study reveal that the modernization of Thai legal education was a result of the political pressures from western colonial imperial countries, namely, the British and the French, who had strong military and political influences. These colonizing western countries had pressured the Thai Government into giving up its legal jurisdiction over English and French subjects in Thailand. The Thai legal system was reformed in accordance with western legal systems. Then the modernization of Thai legal education was established to train Thai lawyers to work in the western legal system in order to protect the interests of Thai people. These attorneys, equipped with knowledge of foreign languages, especially English, were trained to work in foreign courts to protect the interests of Thai citizens and national stability. The Thai absolute monarchy government had to reform Thai legal education in order to protect the power of the King in the system of absolute monarchy. However, in the post-absolute monarchy period, there was a need to codify the law to encourage Thai citizens to participate in politics, by introducing human rights, human liberty, and human equality into the content of modern Thai legal courses. It is concluded that the success of Thai Legal reform and the modernization of Thai legal education before the period of 1920.protected Thailand from losing her sovereignty. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประวัติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71132 |
ISSN: | 9746390287 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pakpong_ch_front.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 357.09 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pakpong_ch_ch1.pdf | บทที่ 1 | 318.66 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pakpong_ch_ch2.pdf | บทที่ 2 | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pakpong_ch_ch3.pdf | บทที่ 3 | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pakpong_ch_ch4.pdf | บทที่ 4 | 2.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pakpong_ch_ch5.pdf | บทที่ 5 | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pakpong_ch_ch6.pdf | บทที่ 6 | 817.75 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pakpong_ch_back.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 977.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.