Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71346
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชัยชนะ นิ่มนวล | - |
dc.contributor.author | มุทธา วัธนจิตต์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-12-08T01:47:08Z | - |
dc.date.available | 2020-12-08T01:47:08Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9743470115 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71346 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองและหาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของรัฐบาล ในโรงเรียนแบบ สหศึกษาชายล้วนและหญิงล้วน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 913 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ ณ.จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Crossectional Analytic study) วัดผลโดยใช้มาตรวัดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของ Cooper smith ฉบับที่ใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา (Self-Esteem Inventory: CSEI) ผลการศึกษาพบว่า ระดับคะแนนความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนแบบต่างๆ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนใน โรงเรียนแบบต่างๆ โดยวิธี Regression Analysis พบว่าปัจจัยที่มีผลเพิ่มระดับความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนแบบสหศึกษา คือ คะแนน เฉลี่ยสะสมที่อยู่ระหว่าง 3.00 - 3.49 และ คะแนนเฉลี่ยสะสมที่อยู่ระหว่าง 2.00 - 2.49 ส่วน ปัจจัยที่ลดระดับความ รู้สึกภาคภูมิใจในตนเองคือ การขาดความพึงพอใจในรูปร่างหน้าตา ปัจจุบัน, ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ บิดาที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ วิศวกร สถาป นิก โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่มีผลเพิ่มระดับความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนมัธยม ศึกษาตอนปลายในโรงเรียน แบบหญิงล้วน คือ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของบิดาที่มากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป และสถานภาพสมรสของบิดามารดาที่อยู่ด้วยกัน ส่วนปัจจัยที่ลดระดับความรู้สึกภาคภูมิใจในตน เองคือ การขาดความพึงพอใจในรูปร่างหน้าตาปัจจุบัน และการรับรู้การมีโรคประจำตัว โดยมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่มีผลเพิ่มระดับความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนแบบชายล้วน คือ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ส่วนปัจจัยที่ลดระดับความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองคือ การขาดความพึงพอใจในรูปร่างหน้าตาปัจจุบัน , รายไค้เฉลี่ยต่อเดือนของบิดาที่อยู่ระหว่าง 5,000 - 9,999 บาท และ มารดาที่ประกอบอาชีพเอกชน เช่น ธนาคาร-ห้างร้าน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 | - |
dc.description.abstractalternative | This crossectional analytic research aims to study the effect of school types on student self-esteem. 913 government high-school students, from boy, girl and co-education schools, were subjects to whom tested by Cooper smith's self-esteem Inventory test (CSEI). No significant differences in students' self-esteem were found in the comparison data of the effects of the school types. The significant results (α = 0.05) from the regression analysis of the factors affecting the degree of self-esteem were demonstrated as following: For the co-education school, GPA, especially between 3.00-3.49 and 2.00-2.49 was the main effect in increasing the level of students’ self-esteem; while the lack of satisfaction in facial and physical appearance, grade 11, and having father whose careers are free-lance such as physicians, engineers and architects were the critical effects to decrease the level of students' self-esteem. The father's average monthly incomes over 20,000 baht and parents' healthy marriage were the factors increasing the level of girl school students' self-esteem. The main decreasing effect was tile lack of satisfaction in facial and physical appearance and having persistent disease. For the boy school, studying in “Suankularb College" was the main increasing effect. On the other hand, the lack of satisfaction in facial and physical appearance, fathers' average monthly income between 5,000-9,999 baht and mothers' working in private sector such as banks and companies were the factors mainly decreasing the level of students' self-esteem. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ความนับถือตนเอง | - |
dc.subject | นักเรียนมัธยมศึกษา | - |
dc.title | การเปรียบเทียบความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนแบบสหศึกษา และชายล้วนหรือหญิงล้วน สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพมหานคร | - |
dc.title.alternative | The comparative study of self-esteem of upper secondary education level student, in co-education school and boy school or girl school, under Department of Formal Education, Ministry of Education in Bangkok Metropolis | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | สุขภาพจิต | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Muttha_va_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 782.76 kB | Adobe PDF | View/Open |
Muttha_va_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 721.53 kB | Adobe PDF | View/Open |
Muttha_va_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 919.97 kB | Adobe PDF | View/Open |
Muttha_va_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 721.93 kB | Adobe PDF | View/Open |
Muttha_va_ch4_P.pdf | บทที่ 4 | 864.9 kB | Adobe PDF | View/Open |
Muttha_va_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 876.61 kB | Adobe PDF | View/Open |
Muttha_va_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.