Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73758
Title: การศึกษารูปแบบการใช้ที่ดินชุมชนเมืองนครปฐม
Other Titles: A study for land use pattern of Nakhon Pathom urban area
Authors: สมเกียรติ เรือนทองดี
Advisors: มานพ พงศทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การใช้ที่ดิน
ผังเมือง -- ไทย -- นครปฐม
เมือง -- การเจริญเติบโต
Land use
City planning -- Thailand -- Nakhon Pathom
Cities and towns -- Growth
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การใช้ที่ดินในแต่ละชุมชน ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมทางกายภาพเศรษฐกิจ และสังคมของแต่ละชุมชน ซึ่งมีวิวัฒนาการต่อเนื่องมาแต่อดีต และจะบ่งชี้ถึงแนวทางในอนาคตต่อไป โดยผสมผสานสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา และบทบาทของชุมชนนั้น ๆ วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาคือ บทบาทและความสำคัญของชุมชนเมืองนครปฐม, สภาพของชุมชน และปัญหาที่เกิดขึ้น, ลักษณะการขยายตัวของชุมชน และรูปแบบการใช้ที่ดินที่เหมาะสมกับสภาพของชุมชนเมืองนครปฐม ในการศึกษา ได้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานของทางรายการเป็นหลัก ประกอบกับข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจในพื้นที่ การวิเคราะห์ได้ประยุกต์ใช้ในเทคนิคต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ Location Quotient ในการหาความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมของจังหวัด และฐานเศรษฐกิจของชุมชน Geometric & Share Extrapolation ในการคาดคะเนประชากรในอนาคต, Threshold Analysis & Potential Surface Analysis ในการวิเคราะห์พื้นที่สำหรับการพัฒนา และ Goal Achievement Matrix ในการคัดเลือกทางเลือกของรูปแบบการใช้ที่ดิน จากการศึกษา ปรากฏผลดังนี้ จังหวัดนครปฐมมีบทบาทด้านการเกษตรกรรม การคมนาคมขนส่งทางบก และการรองรับการขยายตัวจากกรุงเทพฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชุมชนเมืองนครปฐมในฐานะที่เป็นชุมชนหลักของจังหวัด ชุมชนเมืองนครปฐมมีบทบาทหลักในการเป็นแหล่งพักอาศัย ศูนย์พาณิชยกรรมและการคมนาคมขนส่งระดับภาคและจังหวัด ส่วนบทบาทรอง ได้แก่ การเป็นแหล่งอุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร และการปศุสัตว์ ปัญหาการใช้ที่ดินนับเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในชุมชน การขยายตัวของชุมชน จะมีขึ้นภายในเขตเทศบาล และกระจายออกไปโดยรอบเขตเทศบาล โดยมุ่งเข้าหาแนวถนนเพชรเกษม ศักยภาพของการใช้ที่ดินเพื่อพักอาศัย พาณิชยกรรม จะรวมกันอยู่ในเขตเทศบาลโดยรอบองค์พระปฐมเจดีย์ และกระจายออกไปโดยรอบ ส่วนอุตสาหกรรมจะอยู่ภายในบริเวณเขตเทศบาล และเส้นทางคมนาคมสายหลัก รูปแบบการใช้ที่ดินของชุมชนเมืองนครปฐมในปี พ.ศ. 2539 เพื่อรองรับประชากร108,172 คน ควรเป็นรูปแบบผสม (Combination) โดยเป็นการผสมผสานของรูปแบบการใช้ที่ดินในแบบ Mono-Centric, Poly Centric และ Ribbon Development การศึกษาดังกล่าว จะเป็นแนวทางในการพัฒนาด้านกายภาพของชุมชน การจัดทำผังเมืองรวม และฝังเฉพาะของชุมชนในโอกาสต่อไป โดยควรมีการศึกษาเพิ่มเติม และปรับปรุงในทุก ๆ ช่วง 5 ปี
Other Abstract: Urban land uses are different from each other in the terms of physical, socio-economic and environmental systems which evolve from the past. These will indicate guidelines for the future by development frames and the urban's roles. The objectives of this thesis are : to study the roles of Nakhon Pathom urban area; to study the conditions and problems in the area; to reccomend the trend of future urban expansion; and to purpose the future land use pattern of Nakhon Pathom urban area. Generally, the study has used secondary data from the government office together with primary data from surveying. The significant techniques analysis are : 'Location Quotient' for considering the specialization of industrial in Nakhon Pathom province and the economic base of the urban area; 'Geometric and share extrapolation for projection of the future population, 'Threshold Analysis and Potential Surface Analysis for analysing the area for development, and 'Goal Achievement Matrix' for selecting the alternatives of land use patterns. From this study, there has emerged the following findings: First, the roles of Nakhon Pathom province are agriculture area, transportation center and alleviating are to support the distribution from Bangkok. That will directly effect the roles of Nakhon Pathom urban area as the main center of the province. Nakhon pathom urban area's main roles are residential area, commercial and transportation center while the subordinate roles are industrials center and also farming area. The most important problem is land use problem. Second, the urban expansion should be around the municipality, expecially in the southern area along Phetchakasem road. The potentials of residential and commercial land use aggromerate in the municipality while industrial land use could locate in the municipality and on the main roads. Third, land use pattern of Nakhon pathom urban area in the year 1996 should be 'the combination pattern' which has been integrated by Mono-Centric, Poly-Centric and Ribbon development pattern. The result of this thesis could be a guideline for Nakhon pathom urban area development as well as the preparation for Comprehensive plan and action plan in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73758
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1984.19
ISSN: 9745638196
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1984.19
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkiat_ru_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ18.08 MBAdobe PDFView/Open
Somkiat_ru_ch1.pdfบทที่ 16.91 MBAdobe PDFView/Open
Somkiat_ru_ch2.pdfบทที่ 228.8 MBAdobe PDFView/Open
Somkiat_ru_ch3.pdfบทที่ 3134.49 MBAdobe PDFView/Open
Somkiat_ru_ch4.pdfบทที่ 4133.16 MBAdobe PDFView/Open
Somkiat_ru_ch5.pdfบทที่ 572.37 MBAdobe PDFView/Open
Somkiat_ru_ch6.pdfบทที่ 6119.53 MBAdobe PDFView/Open
Somkiat_ru_ch7.pdfบทที่ 777.88 MBAdobe PDFView/Open
Somkiat_ru_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก71.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.