Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73797
Title: การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ไอโซโทปของยูเรเนียม-235 และยูเรเนียม-238 โดยใช้เทคนิคอิเลคโตรดีโพซิชัน และใช้อัลฟาสเปคโตรมิเตอร์วัดรังสี
Other Titles: Development of U-235 and U-238 analysis by electrodeposition technique using alpha spectrometer as radiation counter
Authors: อุไรวรรณ สุวรรณโพธิ์รุ่ง
Advisors: ชยากริต ศิริอุปถัมภ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ยูเรเนียม -- ไอโซโทป
ยูเรเนียม -- การวิเคราะห์
Uranium -- Isotopes
Uranium -- Analysis
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้ทำการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณไอโซโทปของยูเรเนียม-235 และยูเรเนียม-238 ในตัวอย่างยูเรเนียม โดยเทคนิคอิเลคโตรคีโพซิชั้นและแยกวัดพลังงานรังสีอัลฟา โดยอัลฟาสเปคโตรมิเตอร์ ขั้นตอนประกอบด้วยการทำให้ยูเรเนียมบริสุทธิ์ โดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยน ไอออนด้วยเรซินชนิดลบคือ Amberite IRA-400 และชะล้างยูเรเนียมบริสุทธิ์ออกมา ด้วยกรดไฮโดรคลอริก 1 โมลาร์ แล้วทำอิเลคโตรดีโพธิชน ยูเรเนียมบนแผ่นเหล็กไร้สนิม วัดความแรงรังสีอัลฟาของยูเรเนียมบนแผ่นเหล็กไร้สนิมนี้ด้วยหัววัดรังสีกึ่งตัวนำชนิดเชอร์เฟสแบริเออร์ ซึ่งสามารถแยกวัดพลังงานรังสีอัลฟาได้ดี แล้วคำนวณหาปริมาณไอโซโทปของยูเรเนียมได้ โดยการเปรียบเทียบกับค่าความแรงรังสีของสารมาตรฐานยูเรเนียมที่ใช้ขั้นตอนเดียวกันในการทำให้บริสุทธิ์และการวัดรังสี การทดลองพบว่าเงื่อนไขที่เหมาะสมในการทำอิเลคโตรดีโพซิชันของยูเรเนียมคือ ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 170 มิลลิแอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตร เวลาในการทำอิเลคโตรดีโพธิชน 3 ชั่วโมง ผลการวิเคราะห์ดีพลีทยูเรเนียมจากต่างประเทศ 1 ตัวอย่าง โดยวิธีที่ได้พัฒนาแล้วนี้พบว่า ปริมาณไอโซโทปเรเนียม-234 ยูเรเนียม-235 และยูเรเนียม-238 มีค่า 0.0026%, 0.25% และ 99.747% ตามลำดับ การทดลองยังคลอบคลุมถึงผลของอุณหภูมิที่มีต่อการทำอิเลคโตรดีโพซิชันและผลของสิ่งเจือปนในตัวอย่างคือ สารหนู เหล็ก โมลิบดินัม และวาเนเดียม ที่มีต่อความถูกต้อง ของการวิเคราะห์ด้วย
Other Abstract: An analytical method for U-235 and U-238 in uranium sample by electrodeposition technique followed by alpha spectrometry was developed. The process involved purification of uranium by anion exchange resin, Amberite IRA-400 prior to electrodeposition of uranium on stainless steel disc and counted the alpha activity by using a silicon surface barrier detector. The alpha energies could be resolved clearly. The quantity of uranium isotopes could be calculated by comparing with that of the uranium standard which was treated by the same method. The optimum current density for the electrodeposition was found to be 170 mA/cm' and electrodeposition time was about 3 hours. A depleted uranium sample was analyzed by this method and found that uranium-234, uranium-235 and uranium-238 contents were 0.0026%, 0.25% and 99.747% respectively. The studies covered also the effect of temperature on electrodeposition of uranium and the effects of impurities in the sample: arseric, iron, molybdenum and vanadium on the accuracy of analyses.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73797
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1984.26
ISSN: 9745635391
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1984.26
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Uraiwan_su_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.47 MBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_su_ch1_p.pdfบทที่ 11.15 MBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_su_ch2_p.pdfบทที่ 23.18 MBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_su_ch3_p.pdfบทที่ 31.55 MBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_su_ch4_p.pdfบทที่ 41.66 MBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_su_ch5_p.pdfบทที่ 53.1 MBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_su_ch6_p.pdfบทที่ 6960.18 kBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_su_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.