Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73953
Title: | สภาพและปัญหาของโรงเรียนเอกชนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา |
Other Titles: | State and problems of non-profit private schools under the patronage of Buddhist temples |
Authors: | นภาลัย กสิวัฒน์ |
Advisors: | ทิพวรรณ เลขะวณิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | โรงเรียนเอกชน -- การบริหาร Private schools School management and organization |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของโรงเรียนเอกชนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ พ.ศ. 2488 - 2533 ในด้านการบริหารและการดำเนินงานการเรียนการสอนการจัดกิจกรรมและความร่วมมือที่ได้รับ ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนเอกชนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาแห่งแรกตั้ง ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2477 โดย จัดการเรียนการสอนวิชาสามัญให้เฉพาะเด็กชายและภิกษุสามเณรในต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ ปี พ.ศ. 2502 ได้อนุญาตให้สตรีเข้าเป็นครูและนักเรียนได้ ในปี พ.ศ. 2509 มหาเถรสมาคมได้มีมติ ไม่อนุมัติการจัดตั้งหรือการโอนโรงเรียนราษฎร์ของวัด ปัจจุบันมีโรงเรียนเอกชนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาอยู่ 40 แห่งทั่วประเทศ มีรูปแบบการบริหารตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 การจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับวิชาที่ขัดต่อสมณวิสัยของพระภิกษุสามเณร เช่น ดนตรี พลศึกษา ได้จัดสอนภาษาล้านนา และฝึกการเทศน์ทดแทน แม้ว่าโรงเรียนมีทุนในการดำเนินงานจากเงินอุดหนุนของรัฐบาล และค่าธรรมเนียมการเรียนแต่โรงเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาทางด้านการเงิน โรงเรียนจึงไม่สามารถพัฒนาการเรียนการสอนและอาคารสถานที่ได้เนื่องจากเงินทุนจะถูกจ่ายเป็นเงินเดือนมากที่สุด และจำนวนนักเรียนมีแนวโน้มน้อยลงเนื่องจากการขยาย โอกาสทางการศึกษาของรัฐ แนวทางในการแก้ไขปัญหา รัฐควรเพิ่มเงินอุดหนุนเป็นเงินสมทบเงินเดือนครู และควรมีการตรวจสอบบัญชีรายรับจ่ายเงินของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the state and problems of non-profit private schools under the patronage of Buddhist Temples during 1945-1990, the administration processes, the teaching and learning, the school activities and co-operation received. Findings: The first non-profit private schools under the patronage of Buddhist temples was founded in 1934, providing education for pocr rural boys, novices and monks in academic subjects. Until 1959, women and girls were allowed to become teachers and students in these schools. In 1966, an agreement was made by the Mahathera Council not to set up or transfer any of the schools. At present there are 40 schools all over the country. The schools administration pattern is under the law of Private School Act 1982. Generally the schools are at secondary education level. The teachers followed the Ministry of Education Curriculum. Some schools offered Lanna Language courses and sermon preaching to substitute music and physical education courses for novices and monks. Although most of the schools received government financial support and tuition fee, they lacked fund to improve teaching, learning and school buildings. The teachers' salary was the largest expense of the schools. The problems should be solved as: The government should subsidize more of the teachers' salary and closely examine the schools' expenditure. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พื้นฐานการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73953 |
ISBN: | 9745783943 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Napalai_ka_front_p.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Napalai_ka_ch1_p.pdf | 939.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Napalai_ka_ch2_p.pdf | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Napalai_ka_ch3_p.pdf | 932.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Napalai_ka_ch4_p.pdf | 3.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Napalai_ka_ch5_p.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Napalai_ka_back_p.pdf | 2.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.