Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74097
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฟอง เกิดแก้ว-
dc.contributor.authorสมบูรณ์ มโนภิรมย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-06-24T09:21:50Z-
dc.date.available2021-06-24T09:21:50Z-
dc.date.issued2536-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74097-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการเรียนการสอนวิชากรีฑาตามการรับรู้ของผู้สอนและนักศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นผู้สอนวิชากรีฑาในวิทยาลัยศึกษา 17 แห่ง จำนวน 17 คน และนักศึกษาวิชาเอกพลศึกษา ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2533 จำนวน 280 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบปัญหาโดยวิธีการหาค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานภาพของผู้สอนส่วนใหญ่เป็นชาย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการสอนและเข้ารับการอบรมวิชากรีฑามาแล้ว และนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นชายมีอายุ 20 ปี สำหรับสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชากรีฑา มีจำนวนนักศึกษาเรียนแต่ละคาบ 20-30 คน แต่งกายตามระเบียบที่วิทยาลัยกำหนด ผู้สอนมีการเตรียมและจัดทำแผนการสอนและมีการใช้คู่มือการสอน การสอนใช้วิธีการบรรยายและการสาธิต มีการนำนักศึกษาไปตัดสินกรีฑานอกวิทยาลัย ส่วนการวัดและประเมินผลใช้เกณฑ์กำหนดของผู้สอน มีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 2. ปัญหาทางด้านการเรียนการสอนวิชากรีฑาตามการรับรู้ของผู้สอนและนักศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษา พบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนเพื่อบรรลุจุดประสงค์ ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุเนื้อหาวิชา ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการเรียนการสอน ปัญหาเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ปัญหาเกี่ยวกับสถานที่อุปกรณ์ และเครื่องอำนวยความสะดวก ปัญหาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินผล และปัญหาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 3. การเปรียบเทียบการรับรู้ปัญหาของผู้สอนและนักศึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 7 ด้าน-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to investigate the state and problems of track and field instruction as perceived by instructors and students in colleges of physical education. The samples were seventeen instructors from seventeen colleges and two hundred and eighty second year students majoring in physical education in the academic year of 1990. They were selected by the simple random sampling and asked to complete the questionnaires constructed by the researcher. The data were analyzed by means of mean, standard diviation and t-test. The finding were as follows: 1. Most instructors were males who finished Bachelor’s Degree and had track and field teaching and training experiences. Most Students were 20 years-old-males. For the states of teaching and learning arrangement, there were 31-40 students in uniforms studied in each period, instructors had prepared their lesson plans and used teaching handbooks. The methods of evaluation were both theory and practical and students gained more experiences by being track and field referees in competitions outside the colleges. 2. problems of track and field instruction as perceives by instructors and students in colleges of physical education in all aspects; such as problem on teaching and learning Track & Field 1 and 2, teaching and learning for content objectives, teaching, and learning process, students, teaching places, equipments, facilities, evaluation and extra curricular activities, were rated at small level. 3. There was no statistic difference at .05 level when instructors and students’ problem perception were compared.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกรีฑาประเภทลาน -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)en_US
dc.subjectกรีฑาประเภทลู่ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)en_US
dc.subjectTrack and field -- Study and teaching (Higher)en_US
dc.titleสภาพและปัญหาการเรียนการสอนวิชากรีฑาตามการรับรู้ของผู้สอน และนักศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษาen_US
dc.title.alternativeState and problems of track and field instruction as perceived by instructors and students in colleges of physical educationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somboon_ma_front_p.pdf924 kBAdobe PDFView/Open
Somboon_ma_ch1_p.pdf853.57 kBAdobe PDFView/Open
Somboon_ma_ch2_p.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Somboon_ma_ch3_p.pdf788.09 kBAdobe PDFView/Open
Somboon_ma_ch4_p.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
Somboon_ma_ch5_p.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Somboon_ma_back_p.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.