Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74168
Title: รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Lifestyle, media exposure and purchasing behavior of Generation Y in Bangkok
Authors: ณัฐวุฒิ ศรีกตัญญู
Advisors: ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Yubol.B@chula.ac.th
Subjects: จิตวิทยาวัยรุ่น
วัยรุ่น
การดำเนินชีวิต
พฤติกรรมผู้บริโภค
เจนเนอเรชันวาย
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาความสัมพันธ์ของรูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้า ของเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร และนำไปเปรียบเทียบกับนิยามของเจเนอเรชั่นวายที่นักวิชาการวิเคราะห์จากสังคมอเมริกันและนิยามที่นักการตลาดในเมืองไทยให้ไว้ โดยทำการศึกษาเฉพาะนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใชีในการศึกษามีดำนวนทั้งสิ้น 481 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า t-test การวิเคราะห์ปัจจัย และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS WINDOW ในการประมวลผล ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. รูปแบบการดำเนินชีวิตของเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานครสามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มรักสวยรักงาม กลุ่มนักเที่ยว กลุ่มเด็กเรียน กลุ่มเอาแต่ตนเอง กลุ่มนักฝัน และกลุ่มรักบ้าน 2. เจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานครมีลักษณะของรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เหมือนกับเจเนอเรชั่นวายในสังคมอเมริกัน คือ เปิดรับสื่อในระดับมาก ชอบเล่นกีฬา ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและพิษภัยของยาเสพติด และการแต่งกาย ลักษณะที่ต่างกัน คือ เจเนอเรชั่นวายใน กรุงเทพมหานครให้ความสำคัญกับครอบครัว และไม่ค่อยสนใจและไม่นิยมใช้สินค้าที่มีเทคโนโลยีชั้นสูง ในขณะที่เจเนอเรชั่นวายในสังคมอเมริกันมีลักษณะที่ตรงกันข้าม 3. ลักษณะของเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานครที่ตรงตามนิยามของนักการตลาดในเมืองไทย คือ ตามแฟชั่น ใช้เสื้อผ้าจากต่างประเทศ ต้องการสิทธิ เสรีภาพ และการยอมรับจากสังคม ลักษณะที่ไม่ตรงตามนิยาม คือ ไม่ค่อยสนใจและไม่นิยมใช้สินค้าที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่กันมาก
Other Abstract: The purposes of this research are to study lifestyle, media exposure and purchasing behavior of generation Y in Bangkok, and to compare to studies of lifestyle of generation Y in American society, and the definitions stated by marketing man in Thailand. Questionnaires were used to collect data from a total of 481 Bangkok secondary students. Frequency, percentage, mean, factor analysis and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficients were used to analyse data through SPSS WINDOW. Results of the research are as follows : 1. Categories of generation Y in Bangkok are beauty conscious, pleasure lover, studious student, introvert, dreamer and homebody. 2. Generation Y in Bangkok was family oriented but was not technologically adept which oppose to generation Y in American society. The similarities between them are high media exposure, sport loving, environmental concern, awareness of the consequence of drugs and the dressing style. 3. Lifestyle of generation Y in Bangkok was concordant with definitions stated by marketing man in terms of brand name and fashion conscious as well as claim on teenager right, but discordant in terms of being high technology.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74168
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.335
ISSN: 9746372483
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1997.335
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natthawut_sr_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.1 MBAdobe PDFView/Open
Natthawut_sr_ch1_p.pdfบทที่ 1734.21 kBAdobe PDFView/Open
Natthawut_sr_ch2_p.pdfบทที่ 21.06 MBAdobe PDFView/Open
Natthawut_sr_ch3_p.pdfบทที่ 3822.2 kBAdobe PDFView/Open
Natthawut_sr_ch4_p.pdfบทที่ 43.22 MBAdobe PDFView/Open
Natthawut_sr_ch5_p.pdfบทที่ 51.35 MBAdobe PDFView/Open
Natthawut_sr_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.