Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74851
Title: | มโนทัศน์เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Concepts of family life education of mathayom suksa six students, Bangkok Metropolis |
Authors: | มาลินี ทองเรืองโรจน์ |
Advisors: | ลาวัณย์ วิทยาวุฑฒิกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ความคิดรวบยอด ประชากรศึกษา ครอบครัว -- ไทย Concepts Population education Families -- Thailand |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบมโนทัศน์เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิง นักเรียนที่มีพื้นฐานทางครอบครัวแตกต่างกัน และนักเรียนที่มีแหล่งเรียนรู้มโนทัศน์เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวศึกษาแตกต่างกัน ตัวอย่างประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 730 คน จากโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2531 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน (Multi-stage stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบมโนทัศน์เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวศึกษา ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ทดสอบค่าทีและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กรุงเทพมหานคร มีมโนทัศนเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวศึกษา 5 ด้านคือ มโนทัศน์เกี่ยวกับสถาบันครอบครัว ชีวิตสมรส การอบรมเลี้ยงดูบุตร กฎหมายครอบครัว มรดกและการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมกับชีวิตครอบครัวถูกต้องโดยมีค่ามัชฌิชเลขคณิตเท่ากับ 39.52 จากคะแนนเต็ม 63 คะแนน 2. การเปรียบเทียบมโนทัศน์เกี่ยวกับชีวิตครอบครัว พบว่า 2.1 มโนทัศน์เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวศึกษาของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ. 05 2.2 นักเรียนที่มีพื้นฐานทางครอบครัวแตกต่างกันในด้านการศึกษาและอาชีพบิดาและมารดา มีมโนทัศน์เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวศึกษาไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ. 05 ส่วนนักเรียนที่มีลักษณะครอบครัวที่เอื้ออำนวยและไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และพัฒนามโนทัศน์เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวศึกษามโนทัศน์เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ. 05 2.3 นักเรียนที่มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวศึกษาแตกต่างกัน มีมโนทัศนเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ. 05 ในมโนทัศน์เกี่ยวกับชีวิตสมรสและการอบรมเลี้ยงดูบุตร |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study and to compare the concepts of family life education of Mathayom Suksa six students between boy and girl students, among students. with different family backgrounds, and among students with different learning sources of family life education. The samples were 730 Mathayom Suksa six students in secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education, Bangkok Metropolis in the academic year of 1988, which were selected by multi-stage stratified random sampling. A test with a reliability of 0.83 on concepts of family life education constructed by the researcher was administered to the samples. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test and one-way analysis of variance. The research findings were as follows: 1. Mathayom Suksa six students in Bangkok Metropolis had correct concepts of family life education in five aspects: family institution, marriage, rearing, family laws, and impacts of changes in science and technology, politics, economics, society and culture on family life with the score of 39.52 from total scores of 63. 2. The comparison of concepts of family life education of the samples were as follows: 2.1 The concepts of family life education of boy and girl students were significantly different at the .05 level. 2.2 The concepts of family life education among students with different family backgrounds on their parents' educational level and occupations were not significantly different at the .05 level. The concepts of family life education of students with and without family support on learning and developing concepts of family life education we were significantly different at the .05 level. 2.3 The concepts of the family life education of the students with different learning sources were significantly different at the .05 level in concepts of marriage and rearing. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสอนสังคมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74851 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Malinee_th_front_p.pdf | 925.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Malinee_th_ch1_p.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Malinee_th_ch2_p.pdf | 4.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Malinee_th_ch3_p.pdf | 832.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Malinee_th_ch4_p.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Malinee_th_ch5_p.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Malinee_th_back_p.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.