Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8093
Title: การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการออมของชาวชนบทในจังหวัดสุรินทร์
Other Titles: Media exposure, knowledge, attitude and saving behavior of the rural Thais in Surin
Authors: สาวิตรี สุตรา
Advisors: ปรมะ สตะเวทิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Parama.s@chula.ac.th
Subjects: การประหยัดและการออม -- ไทย -- สุรินทร์
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับความรู้เกี่ยวกับการออมของประชาชน 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับทัศนคติเกี่ยวกับการออมของประชาชน และ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับพฤติกรรมการออมของประชาชน ลักษณะของการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 416 คน ประมวลผลข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC+ สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) เพื่ออธิบายข้อมูลส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่างและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และใช้สถิติแบบเพียร์สัน (Pearson's product moment correlation coefficient) ทดสอบสมมติฐานเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1.การเปิดรับสื่อหนังสือพิมพ์ สื่อนิตยสาร และสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการออมของประชาชน 2. การเปิดรับสื่อวิทยุมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของประชาชน 3. การเปิดรับสื่อโทรทัศน์ สื่อหนังสือพิมพ์ และการสื่อสารระหว่างบุคคลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของประชาชน
Other Abstract: The purpose of this research were as follows: 1. to study the relationship between media exposure and the knowledge about saving of the people 2. to study the relationship between media exposure and the attitude about saving of the people 3. to study the relationship between media exposure and the saving behavior of the people. This study was survey research. Questionnaires were administered to 416 samples who were 25 years old up. The data processing was done by SPSS/PC+ program. Percentage, Frequency and mean were used to present the personal data of the samples and media exposure. Pearson's product moment correlation coefficient was employed to test the hypotheses. The results of this study were as follows: 1. Exposure to newspaper, magazine and printed matters correlated with people's knowledge about saving. 2. Exposure to radio correlated with people's attitude about saving. 3. Exposure to television, newspaper and interpersonal communication correlated with people's saving behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8093
ISBN: 9746356402
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Savitri_Su_front.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Savitri_Su_ch1.pdf914.39 kBAdobe PDFView/Open
Savitri_Su_ch2.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open
Savitri_Su_ch3.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Savitri_Su_ch4.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Savitri_Su_ch5.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Savitri_Su_back.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.