Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81068
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความเหงา การเห็นคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์ การนิยามตนเองและการเผชิญกับความเหงา ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Other Titles: Relationships among loneliness, self-esteem, motivations for online communication, self-construals, and coping with loneliness in undergraduates
Authors: ชวนฟ้าชม นาวาบุญนิยม
Advisors: กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเหงา การเห็นคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์ การนิยามตนเองและการเผชิญกับความเหงาในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 179 คน มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 20.24 ปี (SD = 1.50) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, 2. มาตรวัดความเหงา, 3. มาตรวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง, 4. มาตรวัดแรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์, 5. มาตรวัดการนิยามตนเอง และ 6. มาตรวัดการเผชิญกับความเหงา วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย ค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียรสันและการวิเคราะห์การถอดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบสหสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความเหงากับการเห็นคุณค่าในตนเอง (r(177) = -.59, p < .01) แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์เพื่อพบปะผู้คน (r(177) = -.24, p < .01) แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์เพื่อคงรักษาความสัมพันธ์เดิม (r(177) = -.28, p < .01) การนิยามตนเองแบบพึ่งพาตนเอง (r(177) = -.19, p < .01) พบสหสัมพันธ์ทางบวกของการเผชิญความเหงาด้วยกลวิธีทางบวกมีกับความเหงาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r(177) = .19, p < .01) ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติในความสัมพันธ์ระหว่างความเหงากับการนิยามตนเองแบบพึ่งพากันและกันกับความเหงา (r(177) = -.10, p = .09) แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์เพื่อชดเชยการขาดทักษะทางสังคม (r(177) = -.12, p = .06) การเผชิญความเหงาด้วยกลวิธีทางลบ (r(177) = -.07, p = .16)  ตัวแปรทำนายทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความเหงาในนิสิตระดับปริญญาตรีได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 42.3 (R2 = .40, p < .001)
Other Abstract: The purpose of this research was to examine the relationships among among Loneliness, Self-Esteem, Motivations For Online Communication, Self-Construals And Coping With Loneliness In Undergraduates. Participant were 179 undergraduate students in Bangkok. An average age was 20.24 (SD = 1.50) years old. Instrument included 1.Demography Questionnaire, 2.UCLA Loneliness Scale, 3.Self-Esteem Scale, 4.Motives For Online Communication Scale, 5.Self-Construal, Scale, 6.The Coping with Loneliness Questionnaire Descriptive Statistic and Pearson’s Correlation coefficient and multiple linear regression were used. Findings reveal. There was a significant negative correlation between loneliness and self-esteem (r(177) = -.59, p < .01) online communication motivations for meeting people (r(177) = -.24, p < .01) and maintaining relationships (r(177) = -.28, p < .01) independent self-construal (r(177) = -.19, p < .01) positive coping with loneliness were positively correlated with loneliness (r(177) = .19, p < .01) there were no significant correlation between loneliness and online communication  motivations social skills compensation motive (r(177) = -.12, p = .06)  interdependent self-construal (r(177) = -.10, p = .09).Together The independent variable  were able to predict loneliness in undergraduates  and account for 42.3 (r2 = .40, p < .001) percent of the total of variance of loneliness
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81068
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.578
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.578
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270005638.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.