Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/846
Title: มาตรการทางกฎหมายในการใช้วิธีการคุมประพฤติแบบเข้ม
Other Titles: Legal measures for intensive probation
Authors: อรนิตย์ บุณยรัตพันธุ์, 2520-
Advisors: อมราวดี อังค์สุวรรณ
นัทธี จิตสว่าง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: การคุมประพฤติ
การลงโทษ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงมาตรการทางเลือกแก่ศาล ด้วยวิธีการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดโดยไม่ใช้เรือนจำ ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด โดยเน้นการบังคับใช้กับผู้กระทำผิดคดีอาญาร้ายแรงแต่เป็นผู้ที่ไม่มีนิสัยเป็นอันตรายต่อสังคม มิใช่ผู้ประพฤติผิดติดนิสัยหรือเป็นอาชญากร โดยสันดานไม่สมควรที่ศาลจะลงโทษโดยใช้เรือนจำแก่ผู้กระทำผิด เนื่องจากผู้กระทำผิดกลุ่มนี้ยังพอสามารถแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรมภายนอกเรือนจำได้ อีกทั้งการลงโทษโดยใช้เรือนจำก่อให้เกิดผลเสียหลายประการ ซ้ำยังเป็นการเพิ่มปริมาณผู้ต้องขังโดยไม่จำเป็นและทำให้เป็นภาระของรัฐที่ต้องแก้ปัญหาต่อไปอีกด้วย ผลการศึกษาพบว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการใช้มาตรการคุมประพฤติแบบเข้มเพื่อเป็นทางเลือกแก่ศาลแทนการลงโทษจำคุก ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของมาตรการลงโทษระดับกลางที่มีลักษณะคาบเกี่ยวระหว่างมาตรการคุมประพฤติแบบปกติและการลงโทษจำคุก โดยศาลเป็นผู้พิจารณาออกคำสั่งภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายประกอบกับความสมัครใจของผู้กระทำผิดในการร้องขอต่อศาลด้วย มาตรการคุมประพฤติแบบเข้มนี้มีกระบวนการสอดส่องดูแลผู้ถูกคุมประพฤติอย่างเข้มงวดและเคร่งครัดมาก โดยเฉพาะเงื่อนไขคุมประพฤติที่ศาลกำหนดเวลาห้ามออกจากเคหะสถานโดยใช้เครื่องมืออิเลคทรอนิกส์ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เพิ่มความเข้มงวดและมีประสิทธิภาพมากกว่ามาตรการคุมประพฤติแบบปกติ เพื่อใช้บังคับกับผู้กระทำผิดคดีอาญาร้ายแรงหรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ประเทศอังกฤษยังมีมาตรการป้องกันภยันตรายแก่สังคมด้วยการทำงานร่วมกันแบบพหุภาคีของหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม เช่น ตำรวจ คุมประพฤติและราชทัณฑ์ เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในสังคมว่าผู้กระทำผิดเหล่านั้นจะไม่หวนกลับมากระทำผิดซ้ำอีก มาตรการคุมประพฤติแบบเข้มจึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้บังคับในประเทศไทย ตามแนวทางการบังคับใช้และการแก้ไขกฎหมายที่ได้เสนอไว้ เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้แก่ศาลในการพิจารณามาตรการลงโทษโดยไม่ใช้เรือนจำ ทั้งกรณีผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่และผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กหรือเยาวชนให้ได้รับโอกาสกลับตัวเป็นคนดีของสังคมและเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศต่อไป
Other Abstract: On account of this thesis reveals studies upon substantially requires by laws of juridical's options via non-custodial treatment with enforceable felony case which its effective in rehabilitation for offender whom poses non-violent habitual, not habitual offender or criminal. These ones should haven't been considered prison's terms to them because they could have been reformed without, it would have caused several damages, the unnecessary inmate's accumulation and additional obligations to problem-solving. The studied therefore, the justice in the United States of America used intensive probation as the alternative to prison. This is model in intermediate sanction do having between probation and prison's terms, court's deliberation on voluntary based of those offender who have submitted the petition to and the relevant laws' articles shall be considered too. This intensive probation do have strictly restrictive supervision upon its probationers especially the curfew controlled by electronical devices this process increased more of its works with felony offender or high-riskers, effectively and essence better than the method of regular probation. More over, in England have such a public defensive restriction as juristic multi agencies work forces on public protection's arrangement for police, Probation and Correction departments just to reassured public to confidence no more revived of criminals, and recidived. This restriction of intensive probation suitable to practice here in Thailand as presents hereby the method of reenacted laws and enforcement. To increased court's alternative in judicial restriction on the option rather than prison's terms including both culprits grows up and juvenile. To get better chance of reformation would be socially welcomed as qualities citizen and resources.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/846
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oranit.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.