Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9146
Title: มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันขยะอันตราย : ศึกษาเฉพาะชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Legal measures for the prevention of pollution from hazardous waste : a case study on Bangkok communities area
Authors: จริยา แสงราม
Advisors: มัทยา จิตติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ของเสียอันตราย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ขยะ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
สาธารณสุข -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเกี่ยวกับขยะอันตรายของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันขยะอันตราย และมุ่งเน้นศึกษาเฉพาะขยะอันตรายที่เกิดขึ้นในชุมชน และเพื่อให้การศึกษามีความชัดเจนผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาวิจัยภาคสนามโดยเลือกพื้นที่ชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครเป็นตัวอย่าง และได้มีการออกแบบสอบถามความคิดเห็นจากหัวหน้าครัวเรือนผู้นำชุมชนกลุ่มตัวอย่าง และผู้บริหารของกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่าการจัดการขยะอันตรายในประเทศไทยไม่มีกฎหมายระบุไว้เป็นการเฉพาะซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการขยะทั่วไปแล้วปรากฏว่ามีกฎหมายระบุไว้ชัดเจนหลายฉบับซึ่งในส่วนของกรุงเทพมหานครก็เช่นเดียวกันเพราะกรุงเทพมหานครออกกฎหมายโดย อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ประกอบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนยังขาดความรู้เกี่ยวกับเรื่องขยะอันตราย ไม่มีการคัดแยกขยะก่อนนำมาทิ้ง ส่งผลให้มีการทิ้งขยะอันตรายปนกับขยะทั่วไปเป็นเหตุให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนในชุมชน การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเรื่องขยะอันตรายเกิดผล เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนจึงได้มีข้อเสนอแนะแนวทางที่สำคัญในการป้องกันการทิ้งขยะอันตรายโดยแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการจัดการขยะของกรุงเทพมหานครคือ พระราชบัญญัติการสาธารณะสุข พ.ศ. 2535 เพื่อให้กรุงเทพมหานครใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขข้อบัญญัติและข้อบังคับให้ครอบคลุมถึงการจัดการขยะอันตราย และในทางปฏิบัติกรุงเทพมหานครควรให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเรื่องของขยะอันตราย และวิธีการในการคัดแยกขยะก่อนนำมาทิ้งด้วย
Other Abstract: The purpose of the study of hazardous waste in this thesis is to give the legal measures to protect the community in the urban area from the hazardous waste. The researcher has selected a community in Bangkok as the area of study. Hundred of questionnaires has been collected from the heads of family, chiefs of the community and administrators of the Bangkok Metropolitan Authority. According to the research, certain laws have already been passed to enforce the general waste management in Thailand. However, there has been no specific law to cope with hazardous waste at all. For example, the Public Health Act 2535 B.E. deals only with the management of general waste without any specification of hazardous waste. Due to this law, the Bangkok Metropolitan Authority has not produced any regulation to manage hazardous waste. Furthermore, the people in the communities have very little idea about the management of hazardous waste in their household. The result is that all kinds of waste have been dumped together without any sorting, thus causing problems that affect the well being of the people in the community. In order to solve the problem of hazardous waste efficiently, the Bangkok Metropolitan Authority should amend the Public Health Act 2535 B.E. empowering the authority to manage the hazardous waste. Along with this, the Bangkok Metropolitan Authority should keep the people well informed about the hazardous waste and how to manage it in their household.
Description: วิทยานิพนธ์(น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9146
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.916
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.916
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jariya.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.