Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9355
Title: | มาตรการในการป้องกันการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมในการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ |
Other Titles: | The legal measures for protecting unfair competition in government procurement |
Authors: | กชกร รังคสิริ |
Advisors: | เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม การจัดซื้อ การจัดจ้าง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ เป็นระเบียบกลางที่กำหนดหลักเกณฑ์ให้ส่วนราชการปฏิบัติตามเมื่อมีความประสงค์จะจัดหาพัสดุ แต่การปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวของส่วนราชการโดยส่วนใหญ่ก่อให้เกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างส่วนราชการและเอกชนซึ่งเป็นผู้เสนอราคา และมีการกล่าวหาจากเอกชนเสมอว่า ส่วนราชการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมีการกระทำที่มีลักษณะของการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ภาครัฐจึงได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 และตราพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ปัญหาข้อพิพาทยังคงไม่หมดไป เนื่องจากปัญหาโดยส่วนใหญ่เกิดจากการใช้อำนาจดุลพินิจของส่วนราชการในการดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ประกอบกับเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุมักขาดความรู้ความเข้าใจในระเบียบดังกล่าว รวมทั้งองค์กรที่วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการพัสดุไม่มีความชำนาญในปัญหาอย่างเพียงพอหรือมีก็เป็นเพียงคณะกรรมการซึ่งแต่งตั้งโดยฝ่ายบริหารที่ไม่มีอำนาจวินิจฉัยปัญหา ผู้เขียนเสนอให้ยกระดับของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ โดยการตราเป็นพระราชบัญญัติ หรือประมวลกฎหมาย และจัดตั้งคณะกรรมการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับพัสดุ ควบคุมการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการในทุกขั้นตอน รวมถึงการจัดตั้งองค์กรตรวจสอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นอีกระดับ และมีคณะกรรมการซึ่งทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทปัญหาเกี่ยวกับการพัสดุโดยเฉพาะ |
Other Abstract: | Rule of the Office of Minister on Supply B.E. 2535 [1941] has been used as the standard regulation for the operation of government agencies when requiring supply. Unfortunately, to follow the regulation the state agency always has problems with private sector and has been accused for distorted government procurement and the impediment of price competitiveness. The government has put attempt to solve the problem by revising rule of the Office of Minister on Supply B.E. 2541 [1998] and launching the Act on the Offence of Tender of Price to State Agency B.E. 2542 [1999] including the cabinet approval on the government procurement. However, the disputes still continued because most problems were stemmed from the authority utilization of state agency following the regulation the lack of knowledge of officials, lack of skills of organization scrutinizing the supply problem. Even there was a committee appointed by administrative unit, it has no authority to judge the problem. In my point of view, rule of the Office of Minister on Supply should be amended by launching the Act or the Code of law as well as the committee qualifying on supply should be appointed to monitor all stages of government procurement. Meanwhile, the checking organization should be established to increase the efficiency of government procurement monitoring as well as the committee specificially taking charge of supply dispute consideration. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9355 |
ISBN: | 9741311095 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kochakorn.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.