Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9975
Title: ผลของการขัดแต่งที่มีต่อกำลังดัดขวางของอลูมินัสพอร์ชเลน และเฟลด์สปาติกพอร์ชเลน
Other Titles: Effect of surface finish on the flexural strength of aluminous porcelain and feldspathic porcelain
Authors: วรางคณา บุตรดี
Advisors: กาญจนา กาญจนทวีวัฒน์
ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: KKanchan@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: พอร์ซเลนทางทันตกรรม
อลูมินัสพอร์ซเลน
เฟลด์สปาติกพอร์ซเลน
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการขัดแต่งต่อกำลังดัดขวางของพอร์ซเลน 2 ชนิด คือ เฟลด์สปาติก (FP) และอลูมินัสพอร์ซเลน (AP) จากการขัดด้วยวิธีขัดแบบต่างๆ การเคลือบผิวและการเคลือบทับ ความรู้ที่ได้เป็นแนวทางสำหรับทันตแพทย์ ในการพิจารณาวิธีการที่เหมาะสมต่อการขัดแต่งผิวพอร์ซเลนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เตรียม AP 165 ชิ้น และ FP 135 ชิ้น แบ่งด้วยการสุ่มออกเป็น 11 กลุ่ม และ 9 กลุ่ม ตามลำดับ (กลุ่มละ 15 ชิ้น) ดังต่อไปนี้ กลุ่มที่ 1) กลุ่มควบคุม เผาภายใต้สุญญากาศ ที่อุณหภูมิ 960 ํC สำหรับ AP และ 920 ํC สำหรับ FP 2) เคลือบผิว โดยเผาภายใต้อากาศปกติ ที่อุณหภูมิ 940 ํC สำหรับ AP และ 910 ํC สำหรับ FP 3) ขัดด้วยกระดาษซิลิกอนคาร์ไบด์ ในสภาวะที่เปียก 4) กลุ่มเคลือบทับ โดยเผาภายใต้อากาศปกติ ที่อุณหภูมิ 940 ํC สำหรับ AP และ 890 ํC สำหรับ FP 5) กรอด้วยหัวกรอกากเพชร ในสภาวะที่เปียก 6) ขัดด้วยหัวขัดยางซิลิโคน (เฉพาะใน AP) 7) ขัดด้วยหัวขัดกระดาษทรายรูปดิสก์ (เฉพาะใน AP) 8) ขัดด้วยหัวขัดยางซิลิโคนตามด้วยหัวขัดผ้าสักหลาดรูปดิสก์ฝังกากเพชรไว้ภายใน 9) ขัดด้วยหัวขัดกระดาษทรายรูปดิสก์ร่วมกับหัวขัดผ้าสักหลาดรูปดิสก์ฝังกากเพชรไว้ภายใน 10) ขัดด้วยหัวขัดยางซิลิโคนร่วมกับครีมกากเพชรขัดพอร์ซเลน และ 11) ขัดด้วยหัวขัดกระดาษทรายรูปดิสก์ร่วมกับครีมกากเพชรขัดพอร์ซเลน กลุ่มที่ 6-11 ขัดในสภาวะที่แห้ง นำชิ้นงานมาทำการทดสอบกำลังดัดขวาง (three-point-bend testing) ตาม ASTM C 1161-90 และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกำลังดัดขวาง โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียว และการทดสอบทูกีเอชเอสดี ที่ p<0.05 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (X+-SD, MPa) มีค่าดังนี้: ใน AP 1) 54.60+-13.97 2) 48.47+-15.41 3) 76.71+-10.91 4) 63.67+-11.33 5) 47.77+-6.96 6) 56.45+-14.34 7) 54.65+-11.75 8) 61.92+-9.72 9) 73.34+-8.85 10) 66.93+-8.55 และ 11) 67.24+-6.78 ใน FP 1) 42.90+-17.64 2) 53.77+-6.20 3) 57.01+-9.46 4) 83.48+-19.00 5) 48.32+-8.42 5) 48.32+-8.42 6)- 7)- 8) 61.49+-9.41 9) 64.33+-7.24 10) 56.28+-8.16 และ 11) 61.06+-11.84 ผลการวิจัยสรุปว่า การขัดละเอียดด้วยวิธีต่างๆ และการเคลือบทับ จะทำให้ค่ากำลังดัดขวางของพอร์ซเลนทั้งสองชนิดมากกว่าพอร์ซเลนที่ไม่ได้รับการขัดแต่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนการเคลือบผิวไม่สามารถเพิ่มกำลังดัดขวางของพอร์ซเลนทั้งสองชนิดได้
Other Abstract: The objective of this research was to study the effect of surface finish on the flexural strength of aluminous and feldspathic porcelain. The knowledge from this study would be beneficial to the selection of the most appropriate surface finishing procedures. 165 aluminous porcelain bars (AP) and 135 feldspathic porcelain bars (FP) were randomly divided into 11 and 9 groups respectively, 15 bars per group. The groups consisted of 1) as-fired under vacuum at 960 ํC for AP and 920 ํC for FP; 2) self-glazed (in air) at 940 ํC for AP and 910 ํC for FP; 3) polished with SiC paper in a wet condition; 4) overglazed (in air) at 940 ํC for AP and 890 ํC for FP; 5) ground with a diamond bur in a wet condition; 6) polished with silicone rubber polishing points (only AP); 7) polished with SiC polishing discs (only AP); 8) polished with silicone rubber polishing points and felts discs impregnated with diamond polishing paste; 9) polished with SiC polishing discs and felts discs impregnated with diamond polishing paste; 10) polished with silicone rubber polishing points and diamond polishing paste and 11) polished with SiC polishing discs and diamond polishing paste. Group 6-11 were polished in a dry condition. Bars were subjected to a three-point-bend testing according to ASTM C 1161-90. Data were statistically analyzed using one way ANOVA and Tukey HSD test at p<0.05. The mean flexural strengths (X+-SD, MPa) were; for AP 1) 54.60+-13.97 2) 48.47+-15.41 3) 76.71+-10.91 4) 63.67+-11.33 5) 47.77+-6.96 6) 56.45+-14.34 7) 54.65+-11.75 8) 61.92+-9.72 9) 73.34+-8.85 10) 66.93+-8.55 11) 67.24+-6.78, and for FP 1) 42.90+-17.64 2) 53.77+-6.20 3) 57.01+-9.46 4) 83.48+-19.00 5) 48.32+-8.42 5) 48.32+-8.42 6)- 7)- 8) 61.49+-9.41 9) 64.33+-7.24 10) 56.28+-8.16 11) 61.06+-11.84. The results indicate that the surface finish either final polishing or overglazing may significantly increase the flexural strength of tested ceramics. The lack of significant strengthening achieved with a self-glazing procedure in both porcelains is also observed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9975
ISBN: 9743310533
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warangkana_Bu_front.pdf966.62 kBAdobe PDFView/Open
Warangkana_Bu_ch1.pdf757.19 kBAdobe PDFView/Open
Warangkana_Bu_ch2.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Warangkana_Bu_ch3.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Warangkana_Bu_ch4.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Warangkana_Bu_ch5.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Warangkana_Bu_ch6.pdf820.33 kBAdobe PDFView/Open
Warangkana_Bu_back.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.