Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17921
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างทรรศนะเรื่องนิจวัฏกับการวิจารณ์จริยศาสตร์ ของนิทซ์เช่ |
Other Titles: | The relationship between Nietzsche's concept of eternal recurrence and his ethical criticism |
Authors: | วนิดา คุตตวัส |
Advisors: | กีรติ บุญเจือ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | นิตเซ่, ฟริดริค วิลเฮล์ม, 1844-1900 จริยศาสตร์ |
Issue Date: | 2523 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | นิทซ์เช่ถือว่าทรรศนะเรื่องนิจวัฏของเขาเป็นแนวความคิดที่สำคัญที่สุด โดยกล่าวว่าทรรศนะนี้เป็น “ความคิดแห่งความคิดทั้งหลาย” และเป็น “แนวคิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุด” ในกระบวนความคิดทางปรัชญาของเขาทรรศนะเรื่องนิจวัฏก็คือ ทรรศนะที่เชื่อว่าชีวิตของแต่ละคนรวมทั้งการผันแปรทุกอย่างของโลก จะหมุนเวียนซ้ำรอยเดิมทุกประการอย่างไม่มีสิ้นสุดแนวคิดในการอธิบายโลกเช่นนี้เองที่นิทซ์เช่ถือว่าเป็น “สมมติฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สุดในบรรดาสมมติฐานที่เป็นไปได้ทั้งหมด” แต่ปรากฏว่าในตัวสมมติฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์ของนิทซ์เช่นี้เองก็ยังมีความคลุมเครืออยู่มาก และการพิสูจน์ทรรศนะนี้ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องน่าเชื่อถือจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป ดังนั้น ความสำคัญของทรรศนะเรื่องนิจวัฏที่มีต่อนิทซ์เช่จึงไม่น่าจะอยู่ว่า ทรรศนะนี้เป็นแนวทางอธิบายโลกและเอกภพเพียงอย่างเดียวหากแต่อยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างทรรศนะนี้กับแนวทางการวิจารณ์จริยศาสตร์ของเขาเองมากกว่า ทรรศนะเรื่องนิจวัฏในฐานะเป็นทฤษฏีทางจักวาลทางวิทยา ได้อธิบายเอกภพในลักษณะที่หมุนเวียนเป็นวงจรซ้ำรอยเดิม การอธิบายเช่นนี้เองเป็นการยืนยันว่า โลกที่มีอยู่จริงนั้นมีเพียงโลกที่ปรากฏให้เห็นเท่านั้น ไม่มีโลกอื่นที่อยู่เหนือประสบการณ์ของมนุษย์ การยืนยันว่าประสบการณ์เท่านั้นที่เป็นจริงเช่นนี้ ย่อมนำไปสู่การปฏิเสธสิ่งที่เป็นพื้นฐานสำหรับศีลธรรมแบบเก่า เช่น “โลกที่แท้จริง” ตัวตน เจตจำนงเสรี พระเจ้า ตลอดจนกระทั้ง ระบบศีลธรรมตายตัว และทำให้มาตรฐานทางคุณค่าที่นิทซ์เช่เสนอ คือ มาตรฐานแห่งอำนาจ กลายเป็นมาตรฐานทางคุณค่าเพียงมาตรฐานเดียวที่ควรแก่การยอมรับแทนคุณค่าแบบเก่า ทรรศนะเรื่องนิจวัฏซึ่งนำไปสู่การปฏิเสธพระเจ้าและศีลธรรมตายตัวแบบเดิมนี้เองทำให้ต้องปฏิเสธความหมายของโลกที่เคยยึดถือกันมาแต่เดิม และจัดเป็นลัทธิสุญนิยมจัดที่สุดรูปแบบหนึ่ง แนวความคิดแบบลัทธิทำลายล้างนี้ นิทซ์เช่เชื่อว่าก่อให้เกิดวิกฤติทางคุณค่าขึ้นและกระตุ้นให้มนุษย์เรา โดยเฉพาะพวกที่แข็งแกร่ง ค้นให้คุณค่าใหม่ที่เหมาะสมกับตน โดยเป็นอิสระจากคุณค่าแบบเดิมที่เคยผูกมัดสัญชาตญาณตามธรรมชาติของเขาไว้ เมื่อพวกที่เข้มแข็งได้กลับคุณค่าใหม่แล้ว พวกเขาก็สามารถคืนสู่ความเป็นตัวของตัวเอง กลับคืนมาสู่สัญชาตญาณตามธรรมชาติของเขา รวมทั้งกลับคืนสู่ความเป็นธรรมชาติของโลก แต่การกลับคืนสู่ธรรมชาติดั้งเดิมเท่านั้นยังไม่เพียงพอ เพราะว่าทรรศนะเรื่องนิจวัฏสอนว่ามนุษย์จะต้องเผชิญกับชีวิตแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนชั่วนิรันดร ดังนั้นผู้ที่มีความแข็งแกร่งย่อมจะต้องพบกับนิรันดรภาพของตนเองอย่างที่ตนพอใจที่สุด นั่นคือ เขาจะต้องเป็นผู้สร้างคุณค่าและกฎเกณฑ์สำหรับตนเอง สร้างสรรค์ตนเองให้สมบูรณ์ที่สุดในทุกๆด้าน และก้าวข้ามจากความเป็นมนุษย์ธรรมดาไปสู่ความเป็นผู้เหนือมนุษย์ และโดยนัยกลับกัน ผู้ที่เป็น “อภิมนุษย์” ย่อมต้องการตัวเองในแบบเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เขาย่อมต้องการนิรันดรภาพเพราะความสุขที่เขาได้รับในชีวิตที่เขาเองเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา และถึงแม้ว่าชีวิตของเขาจะมีความทุกข์ทรมานอยู่ด้วยก็ตาม แต่เขาก็ยังคงยืนยันชีวิตในแบบเดิมนี้ เพราะเขารู้ความสุขที่เขาได้รับไม่อาจแยกออกจากความทุกข์ที่เขารู้จัก ดังนั้น อภิมนุษย์ ซึ่งนิทซ์เช่เรียกในนาม “ดีโอนีซุส” นั้นจึงเป็นผู้ที่ยืนยันในชีวิตอย่างสูงสุด เพราะเขาไม่เพียงแต่เป็นผู้ยอมรับชีวิตไม่ว่าทุกข์หรือสุขในปัจจุบันนี้เท่านั้น แต่เขายังปรารถนาชีวิตแบบเดียวกันนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าไปจนชั่วนิรันดร นิทซ์เช่เรียกความปรารถนาเช่นนี้ว่า ความรักในชะตากรรม |
Other Abstract: | Nietzsche considers his conception of eternal recurrence as his most important insight, his "thought of thoughts," and "the mightiest of thoughts." The idea of eternal recurrence, the doctrine that one's own life and all variations of the world have already occured in all of its details an infinite number of times before and will recur in exactly the same way an infinite number of tines in the future, was also accounted by him to be "the most scientific of all possible hypo¬theses." But the doctrine itself seems so dubious and this "most scientific" hypothesis has found no acceptance among scientists. So the importance of the idea of eternal recurrence for Nietzsche is rather to be located in what he took this doctrine to be related with his own ethical criticism. As a cosmological hypothesis, the idea of cyclical world process affirms that what recurs is this exact world and only this phenomenal world, i.e. appearance is reality; there's no metaphysical world at all. This leads to the repudiation of the presuppositions of previous morality such as the "true world," the "ego," the free will, the existence of God, and also a moral world order. It is through this repudiation of a "beyond" world that Nietzsche's new standard of value, the power stand¬ard, is ensured to be the sole criterion of value. The thought of eternal recurrence, the refusal of God, moral world order and meanings in the world; is the most extreme form of nihilism and creates a crisis of values and a tension of new needs. It is this crisis which Nietzsche believes will induce the strong to revaluate the previous values as well as will provide the freedom to do so. When the strong has revaluated the previous values, he becomes reconciled with himself, his nature, and the nature of the world. Yet there is a furthur stop, for mere reconciliation is not enough. The doctrine of eternal recurrence alto induce the strong to create his own values, to perfect himself, to become the overman; so that his state of being is worthy of eternity. And vice versa, the overman wants an eternal recurrence out of the fullness of the joy in his life. Amor fati: the love of fate, is the faith of the overman to overcome nihilism. Such a man will affirm life, love life and say Yes to misery and pain, because he realizes that the joy he has known could not be possible apart from the pain he has known. So the overman-Nietzsche names him Dionysus is the one who creates himself, affirm his own being and his life to the extent that he wants nothing to be different in all eternity, he desires the same world over and over again into all eternity. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17921 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vanida_Ku_front.pdf | 325.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vanida_Ku_ch1.pdf | 279.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vanida_Ku_ch2.pdf | 512.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vanida_Ku_ch3.pdf | 854.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vanida_Ku_ch4.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vanida_Ku_ch5.pdf | 707.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vanida_Ku_ch6.pdf | 352.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vanida_Ku_ch7.pdf | 360.94 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vanida_Ku_back.pdf | 648.8 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.