Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65676
Title: นโยบายผู้สูงอายุของประเทศไทย
Other Titles: Government policy on older persons in Thailand
Authors: ปิยากร หวังมหาพร
Advisors: ศุภชัย ยาวะประภาษ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Supachai.Y@Chula.ac.th
Subjects: ผู้สูงอายุ -- นโยบายของรัฐ -- ไทย
การวางแผนผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ -- ไทย
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Older people -- Government policy -- Thailand
Older people -- Thailand
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเข้าสู่วาระนโยบาย กระบวนการก่อตัวของนโยบายและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากรูปแบบการกำหนดนโยบายผู้สูงอายุของประเทศไทย โดยประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องการเข้าสู่วาระนโยบายของคิงส์ดอน แนวคิดเรื่องการกำหนดนโยบายของมอสคา ไดร์ แวมสเล่ย์ และซาล และการวิเคราะห์ผลกระทบนโยบายของแกรมเป็นกรอบในการศึกษา นโยบายผู้สูงอายุที่ศึกษาในครั้งนี้ กำหนดขอบข่ายไว้ที่ แผน ระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2525-2544) นโยบายและมาตรการสำหรับผู้สูงอายุระยะยาว (พ.ศ. 2535-2554) แผนผู้'สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ซึ่งในช่วง ดังกล่าว (ปี พ.ศ.2525-2546) สภาพการเมืองและการปกครองไทยเป็นแบบอำมาตยาธิปไตยและต่อมาพัฒนาไปเป็นการเมืองแบบประชาธิปไตย การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารทางราชการ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และการสัมภาษณ์ตัวแสดงที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย ชี้ว่า กระแสการเมือง กระแสนโยบาย และกระแสตัวปัญหา รวมทั้งผู้สร้างหรือผู้ผลักดัน นโยบายมีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการเข้าสู่วาระนโยบาย นโยบายผู้สูงอายุของประเทศไทย ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเมืองและการปกครองแบบอำมาดยาธิปไตย ถูกกำหนดโดยส่วนราชการตามตัวแบบผู้นำ เมื่อสภาพการเมือง และการปกครองเปลี่ยนแปลงมาสู่ประชาธิปไตย นโยบายผู้สูงอายุยังคงถูกกำหนดตามตัวแบบผู้น้าโดยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แต่เป็นตัวแบบผู้นำที่แปลงรูป เนื่องจากส่วนราชการใช้กลุ่มผลประโยชน์ทำหน้าที่เป็นองค์กรตัวแทนในการผลักตันนโยบายผู้สูงอายุ การกำหนดนโยบายตามตัวแบบผู้นำนี้ ทำให้โครงการของรัฐบาลไทยที่จัดสรรให้กับผู้สูงอายุจำกัดอยู่เฉพาะโครงการด้านรักษาพยาบาลและสถานสงเคราะห์ เนื่องจากส่วนราชการที่ผลักดันให้เกิด นโยบายเป็นส่วนราชการด้านสาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์ ในขณะที่งบประมาณที่จัดสรรให้กับโครงการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของหน่วยงานรัฐบาลอื่น ๆ ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุปรากฏให้เห็นไม่มากนัก การศึกษานโยบายผู้สูงอายุของประเทศไทยนี้ นำมาสู่ข้อค้นพบเรื่องตัวแบบการเข้าสู่วาระนโยบายการก่อตัวของนโยบายและผลกระทบของนโยบายใน 3 ประการสำคัญ กล่าวคือ 1. ประเด็นเรื่องผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเด็นดังกล่าวถูกองค์การระหว่างประเทศ ส่งผ่านและถ่ายทอดแนวคิดนโยบายมายังประเทศที่กำลังพัฒนา ผ่านการประชุมสัมมนาขององค์การระหว่างประเทศ จุดประกายความคิดให้เกิดขึ้นในหมู่ผู้นำประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ประเด็นเรื่องผู้สูงอายุเข้าสู่วาระนโยบายของรัฐบาลในประเทศที่กำลังพัฒนาได้ 2. การก่อตัวของนโยบายผู้สูงอายุของประเทศไทยเป็นไปตามตัวแบบผู้นำแปลงรูป ผ่านองค์กรตัวแทนกล่าวคือ ส่วนราชการ ในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย ดำเนินการทางการการเมือง ผ่านกลุ่มผลประโยชน์ที่ตนเองจัดตั้งและให้เงินสนับสนุน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยกำหนดนโยบายผู้สูงอายุ 3. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการก่อตัวของนโยบายผู้สูงอายุตามตัวแบบผู้นำแปลงรูป ทำให้การจัดสรรงบประมาณเพื่อผู้สูงอายุมุ่งเน้นไปที่โครงการต่าง ๆตามความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ผลักดันเรียกร้องนโยบายจากรัฐบาล
Other Abstract: This study is aimed to investigate Thai government policy on older persons especially on how the agenda was set and formulated to become policy statements and actions as well as their impacts. The literature on agenda setting proposed by Kingdon, on policy formulation asserted by Mosca by Dye and by Wamsley & Zald and Gramm ‘s model on the impact policy analysis were used as a framework for this investigation. The study put its emphasis on these particular policy actions namely, The First National Long Term Plan for the Older Persons (1982-2001), The Long Term Measures and Policy on the Older Persons (1992-2011), The Second National Plan for Older Persons (2002-2021), and The Older Persons Act of 2003. These policy actions were formulated during the period which considered by Thai scholars as a bureaucratic polity regime (1982-1996) and further developed into the democratic regime (1997 onwards). Analysis of the official policy documents and the findings from the interview of the policy stakeholders led to the conclusion that the political stream, the policy stream and the problem stream including policy entrepreneurs significantly effected the agenda setting of the policy on older persons. In bureaucratic polity setting, the policy on older persons in Thailand was initiated and pushed through formulation by those technocrats concerned as suggested by the elite model. When the country moved into democratic polity, the policy on older persons was again initiated by those same technocrats through the “set-up” agency called “Senior Citizen Council of Thailand” (สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ). This is the mutation of the traditional elite model to suit the Thai polity. The technocrat groups advocating the policy are those from Ministry of Public Health and the Department of Social Welfare whose interests are mainly on health care and public welfare services. The policy actions are inevitably concentrated on these two main services and very small number of policy actions are found in other areas. To be specific, findings from this study indicate the followings : 1. Issues on older persons visible in the developed countries were transferred to the less developed countries via the international organizations through international seminars and conference in which technocratic elite from less developed were invited to attend. 2. Formulation of the older persons policy in Thailand can be described as a “mutated elite model". Those technocrats concerned had set up a non-governmental organization called “Senior Citizen Council of Thailand" through which policies were initiated and requests to the government were made. 3. Impacts of the older person policies were found visible in the area of health care and social welfare which are the main concerns of those advocatic technocrats.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: รัฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65676
ISBN: 9741743416
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyakorn_wh_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ851.06 kBAdobe PDFView/Open
Piyakorn_wh_ch1_p.pdfบทที่ 11.33 MBAdobe PDFView/Open
Piyakorn_wh_ch2_p.pdfบทที่ 21.87 MBAdobe PDFView/Open
Piyakorn_wh_ch3_p.pdfบทที่ 3921.92 kBAdobe PDFView/Open
Piyakorn_wh_ch4_p.pdfบทที่ 41.48 MBAdobe PDFView/Open
Piyakorn_wh_ch5_p.pdfบทที่ 51.37 MBAdobe PDFView/Open
Piyakorn_wh_ch6_p.pdfบทที่ 6996.07 kBAdobe PDFView/Open
Piyakorn_wh_ch7_p.pdfบทที่ 71.04 MBAdobe PDFView/Open
Piyakorn_wh_ch8_p.pdfบทที่ 81.73 MBAdobe PDFView/Open
Piyakorn_wh_ch9_p.pdfบทที่ 91.13 MBAdobe PDFView/Open
Piyakorn_wh_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.