Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66006
Title: การวิเคราะห์ผลการประเมินการสอนของอาจารย์โดยผู้สอนและนิสิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Analysis of teaching evaluation results from instructor self rating and student rating in the Faculty of Education Chulalongkorn University
Authors: ธนพร นาคอำไพ
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- อาจารย์ -- การประเมิน
การสอนในมหาวิทยาลัย
College teaching
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินการสอนของอาจารย์ ระหว่างอาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง และนิสิตประเมินการสอนของอาจารย์ ในพฤติกรรมการสอน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านจุดมุ่งหมายและเนื้อหาวิชา ด้านเทคนิควิธีการสอนและความสามารถทางวิชาการ ด้านการประเมินผล ด้านบุคลิกลักษณะและจรรยาบรรณ และด้านมนุษยสัมพันธ์ รวมทั้งมุ่งศึกษาความสัมพันธ์ของคะแนนผลการประเมินอาจารย์ที่อาจารย์ประเมินตนเองและที่นิสิตเป็นผู้ประเมิน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบประเมินการสอนชนิดมาตรประมาณค่า 5 สเกล ที่ผู้วิจัยดัดแปลงจากแบบประเมินของหน่วยพัฒนาคณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยึดหลักการสร้างตามแนวทางที่ได้จากการศึกษาเอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการสอนโดยแบ่งองค์ประกอบการประเมินผลการสอนออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านจุดมุ่งหมายและเนื้อหาวิชา ด้านเทคนิควิธีการสอนและความสามารถทางวิชาการ ด้านการประเมินผล ด้านบุคลิกลักษณะและจรรยาบรรณ และด้านมนุษยสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอน และนิสิตระดับปริญญาบัณทิตและระดับบัณฑิตศึกษา ในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2543 ซึ่งได้มาจากการลุ่มแบบสุ่มอย่างง่าย (simple random) จากบัญชีรายชื่อของประชากรทุกคนด้วยวิธีการจับฉลากได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์ผู้สอน จำนวน 123 ท่าน โดยกลุ่มตัวอย่างแต่ละท่านจะได้รับการประเมินท่านละ 2 รายวิชา และใช้นิสิตเป็นผู้ประเมินการสอนของอาจารย์รายวิชาละ 15 คนขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายเพื่อศึกษาลักษณะและการกระจายของข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เปรียบเทียบค่ามัชฌิมเลขคณิตความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ทั้ง 5 ด้าน ที่มีข้อมูลพื้นฐานแตกต่างกันโดยสถิติ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) เปรียบเทียบค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนผลการประเมิน ระหว่างกลุ่มผู้ประเมิน ด้วยสถิติ t - test และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของผลการประเมินการสอนทั้ง 5 ด้าน ระหว่างผู้ประเมินที่เป็นอาจารย์ผู้ สอนเอง และนิสิตเป็นผู้ประเมิน รวมทั้งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคะแนนผลการประเมินระหว่างรายวิชาที่ 1 และ รายวิชาที่ 2 ในแต่ละกลุ่มผู้ประเมินโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ เปรียบเทียบระหว่างอาจารย์ประเมินตนเอง และนิสิตประเมินอาจารย์ ในพฤติกรรมการสอน 5 ด้าน แตกต่างกันอย่างมินัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. จากการศึกษาความสัมพันธ์ของคะแนนผลการประเมิน ระหว่างอาจารย์ประเมินตนเองและนิสิตประเมินอาจารย์ พบว่า มีคุณลักษณะ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคนิควิธีการสอนและความสามารถทางวิชาการ กับด้านการ ประเมินผลที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. และจากการศึกษาความสัมพันธ์และความสอดคล้องของคะแนนผลการประเมิน ระหว่าง 2 รายวิชาในแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า คะแนนผลการประเมินสัมพันธ์กันทุกด้าน อย่างมินัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of this research were to compare instructors self rating and students' rating in five characteristics of teaching effectiveness, namely, subjects' objective and content, teaching technique and academic abilities, evaluation, personality and ethics, teacher-student relationships as well as the correlation of teaching evaluation results score between instructors self rating and students' rating, and analyzed the correlation of teaching evaluation results score between the first and second subject in instructors self rating and students’ rating. The instrument was teaching evaluation rating scale with five level of Likert scale which applied from evaluation form of section teacher development of education Chulalongkorn University, research theory and the research of evaluating teaching effectiveness. The sample composed of two groups, the 123 teachers self rating and students’ rating. Data were analyzed by descriptive research statistics, t-test, Pearson product moment correlation. The result of study could be summarized as followed : 1. The teaching evaluation results score between instructors self rating and students’ rating in five characteristics of teaching effectiveness was found significantly different at .01 level. 2. There were two characteristics of teaching effectiveness that were correlated between teacher self rating and students’ rating, namely, teaching technique and academic abilities, evaluation which were significantly correlated at .01 level. 3. All characteristics of teaching effectiveness were significantly correlated between the first and second subject in instructors self rating and students’ rating at .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66006
ISBN: 9741706227
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanaporn_na_front_p.pdf900.99 kBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_na_ch1_p.pdf832.07 kBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_na_ch2_p.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_na_ch3_p.pdf807.97 kBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_na_ch4_p.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_na_ch5_p.pdf757.44 kBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_na_back_p.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.