Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66289
Title: ตัวแปรคัดสรรที่ส่งผลต่อลักษณะการเป็นองค์การเอื้อการเรียนรู้ ของหน่วยงานฝึกอบรม ภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Selected variables affecting the learning organization characteristics of private sector training units in Bangkok metropolis
Authors: ปัทมา จันทวิมล
Advisors: ประศักดิ์ หอมสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การเรียนรู้องค์การ
การเรียนรู้
สภาพแวดล้อมการทำงาน
การสื่อสารในองค์การ
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาลักษณะองค์การเอื้อการเรียนรู้ของหน่วยงานฝึกอบรม ภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะองค์การเอื้อการเรียนรู้ ของหน่วยงานฝึกอบรม ภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพฯ กับตัวแปรคัดสรร 3 ด้าน คือ ด้านการเรียนรู้ในองค์การ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านการสื่อสารในองค์การ 3) เพื่อศึกษาตัวแปรคัดสรร 3 ด้าน คือ ด้านการเรียนรู้ในองค์การ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านการสื่อสารในองค์การ ที่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวน ของลักษณะองค์การเอื้อการเรียนรู้ของหน่วยงานฝึกอบรม ภาคเอกชนในเขตกรุงเทพฯ ประชากรเป็นเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ในหน่วยงานฝึกอบรม ภาคเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร ทุกระดับชั้น จำนวน 749 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. หน่วยงานฝึกอบรม ภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีลักษณะที่สอดคล้องกับองค์การเอื้อการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง 2. ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะองค์การเอื้อการเรียนรู้ กับตัวแปรคัดสรรทั้ง 3 ด้าน พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 60 ตัว 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการหน่วยงานฝึกอบรม 2) การสื่อสารในลักษณะแนวดิ่ง รูปแบบจากบนลงล่าง 3) โครงสร้างแบบรวมอำนาจ 4) หัวหน้าแบบเผด็จการ 3. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Method) มีตัวแปรที่สามารถอธิบายลักษณะองค์การเอื้อการเรียนรู้ในระบบย่อยด้านพลวัตรการเรียนรู้ ด้านการปรับเปลี่ยนองค์การ ด้านการเพิ่มอำนาจแก่บุคคล ด้านการจัดการกับองค์ความรู้ และด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 10, 11 11, 11 และ 9 ตัว โดยตัวแปรทั้งหมดที่พบสามารถอธิบายความแปรปรวนของลักษณะองค์การเอื้อการเรียนรู้ ได้เท่ากับ 38.5%, 45.3%, 43.9%, 34.5% และ 44.5% ตามลำดับ และมีตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของลักษณะองค์การเอื้อการเรียนรู้ได้ทุกระบบย่อย 1 ตัวแปร คือ หนังสือที่เป็นประโยชน์ที่สามารถใช้เรียนรู้ด้วยตนเอง 4. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูรแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น (Stepwise Method) มีตัวแปรที่สามารถอธิบายลักษณะองค์การเอื้อการเรียนรู้ ในระบบย่อยด้านพลวัตรการเรียนรู้ ด้านการปรับเปลี่ยนองค์การ ด้านการเพิ่มอำนาจแก่บุคคล ด้านการจัดการกับองค์ความรู้ และด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 12, 17, 17, 10 และ 12 ตัวตามลำดับโดยตัวแปรที่พบในแต่ละขั้นสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของลักษณะองค์การเอื้อการเรียนรู้ได้เท่ากับ 29.9%, 38.0%, 35.5%, 24.3% และ 36.0% ตามลำดับ และมีตัวแปรที่สามารถอธิบาจความแปรปรวนของลักษณะองค์การเอื้อการเรียนรู้ได้ทุกระบบย่อย 3 ตัวแปร คือ 1) มีสัญญาการเรียนรู้ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ 2) มีอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นเครือข่ายสื่อสารทั่วโลก ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ และ 3) มีหนังสือที่เป็นประโยชน์ที่สามารถใช้เรียนรู้ด้วยตนเอง
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study the learning organization characteristics of private sector training units in Bangkok metropolis 2) to study the relationships between the characteristics of private sector training units in Bangkok metropolis and three categories of selected variables : learning in organization, work environment and organizational communication and 3) to identify predictor variables affecting the learning organization characteristics of private sector training units in Bangkok metropolis. The finding revealed that : 1. The private sector training units in Bangkok metropolis characterize learning organization in moderate level. 2. There were statistically significant positive relationships at .05 level between the learning organization characteristics and 60 selected variables. The first three variables were 1) leaders, openness on changes 2) leaders, vision of learning and 3) leaders, readiness to support learning climate in the organization. There were statistically significant negative relationships at .05 level between the learning organization characteristics and 4 selected variables. There were 1) training assistance manager position 2) downward communication 3) mechanistic organizational structure and 4) autocratic leader. 3. In multiple regression analysis (Enter Method) at .05 level, in building learning dynamics subsystem, organization transformation subsystem, people empowerment subsystem, knowledge management subsystem and technology application subsystem, there were 10, 11, 11, 11 and 9 predictor variables together were able to account for 38.5%, 45.3%, 43.9%, 34.5% and 44.5% of the variance. The only variable found in every subsystem was self-study books which support learning. 4. In multiple regression analysis (Stepwise Method) at .05 level, in building learning dynamics subsystem, organization transformation subsystem, people empowerment subsystem, knowledge management subsystem and technology application subsystem, there were 12, 17, 17, 10 and 12 predictor variables together were able to account for 29.9%, 38.0%, 35.5%, 24.3% and 36.0% of the variance. The three variables found in every subsystem were : 1) learning contract to support the learning 2) internet-based supports for the learning 3) self-study books which support learning.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66289
ISBN: 9740301347
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattama_ch_front_p.pdf861.47 kBAdobe PDFView/Open
Pattama_ch_ch1_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Pattama_ch_ch2_p.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open
Pattama_ch_ch3_p.pdf832.66 kBAdobe PDFView/Open
Pattama_ch_ch4_p.pdf5.22 MBAdobe PDFView/Open
Pattama_ch_ch5_p.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Pattama_ch_back_p.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.