Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66467
Title: การนำเสนอนโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการศึกษาพิเศษในสถาบันอุดมศึกษา
Other Titles: A proposal of policies and operational plans for special education in higher education institutions
Authors: ศิริวิมล ใจงาม
Advisors: พรชุลี อาชวอำรุง
สุชาติ ตันธนะเดชา
Advisor's Email: Pornchulee.A@chula.ac.th
Suchart.T@Chula.ac.th
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- ไทย
การศึกษาพิเศษ -- ไทย
เด็กพิการ -- การศึกษา -- ไทย
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- ไทย
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Academic achievement -- Thailand
Special education -- Thailand
Children with disabilities -- Education -- Thailand
Education, Higher -- Thailand
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสัมฤทธิ์พลในการเรียนของนักศึกษาพิการ ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังในการจัดการศึกษาพิเศษของสถาบันอุดมศึกษา และนำเสนอนโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการศึกษาพิเศษในสถาบันอุดมศึกษา ดำเนินการวิจัยโดยการวิเคราะห์สาระจากเอกสารและเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาพิเศษในสถาบันอุดมศึกษา 4 ฝ่าย คือ ผู้ บริหาร อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาพิการ และนักศึกษาปกติ ระดับปริญญาตรี จากสถาบันอุดมศึกษา 3 กลุ่ม คือ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ และวิทยาลัย จำนวน 573 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สาระ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบและค่าเอฟ จัดทำร่างนโยบายและตรวจสอบโดยการจัดประชุมกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อปรับแก้จนได้นโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการศึกษาพิเศษในสถาบันอุดมศึกษา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ปัจจัยที่มีผลต่อสัมฤทธิ์ผลในการเรียนของนักศึกษาพิการ ประกอบด้วย 8 ปัจจัย คือ ความร่วมมือร่วมใจของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจารย์และบุคลากร คุณลักษณะของนักศึกษาพิการ การบริหารสถาบัน การบริหารวิชาการ งบประมาณเพื่อการพัฒนา การบริหารกิจการนักศึกษา และ การให้โอกาสและความเป็นอิสระแค่นักศึกษา 2. สภาพปัจจุบันในการจัดการศึกษาพิเศษของสถาบันอุดมศึกษา มีการปฏิบัติในระดับปานกลาง 5 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากน้อยไปหามาก คือ ด้านการบริหารกิจการนักศึกษา ด้านงบประมาณ ด้านสภาพ แวดล้อมภายในสถาบัน ด้านการบริหารวิชาการ และ ด้านการบริหารสถาบัน ส่วนที่เหลือ 3 ด้าน มีการปฏิบัติในระดับมาก ในด้านนักศึกษา ด้านบุคลากร และด้านสภาพแวดด้อมภายนอกสถาบัน ส่าหรับสภาพที่คาดหวังในการจัดการศึกษาพิเศษของสถาบันอุดมศึกษา คาดหวังให้มีการปฏิบัติระดับมากทุกด้าน โดยคาดหวังการปฏิบัติระดับมากที่สุดคือด้านบุคลากร รองลงมาคือด้านสภาพแวดด้อมภายในสถาบัน และด้านการบริหารสถาบัน 3. นโยบายที่นำเสนอเพื่อการจัดการศึกษาพิเศษในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย 4 นโยบาย ได้แก่ (1) นโยบายตระหนักรู้เข้าใจ ให้สถาบันเร่งสร้างความเข้าใจ ปรับทัศนคติ กลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญต่อการพัฒนานักศึกษา (2) นโยบายเอื้ออาทร ให้จัดสภาพแวดด้อม จัดหน่วยให้บริการนักศึกษาพิการ (3) นโยบายใส่ใจผู้เรียน ให้พัฒนาคุณภาพการ เรียนการสอน เพื่อการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ และ (4) นโยบายพึ่งตนเอง สนับสนุนให้นักศึกษาได้กันพบตนเอง ยอมรับและภาคภูมิใจในตนเองเพื่อความสำเร็จและพึ่งพาตนเองในที่สุด ผลการวิจัยนี้ นำเสนอ สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ผู้บริหาร อาจารย์ และบุคคลที่มีนัยสำคัญต่อสัมฤทธิ์ผลในการเรียนของนักศึกษาพิการทุกฝ่าย ให้คำนึงถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ การอยู่ร่วมกันในสังคม และการจัดการศึกษาสำหรับทุกคนอย่างมีคุณภาพ
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate the factors that affected the disabled students learning efficiency, to examine the current and expected conditions of the special education administration in Universities, and to present policies and operational plans for special education administration in universities. The subjects of this study were 573 administrators, lecturers, disabled students, graduate students in government universities. The data were collected by using content analysis, an interview, and a questionnaire. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, factor analysis, and F- test. The policies were planed and checked by connoisseurship model. The results revealed that there were 8 factors which affected the disabled students learning efficiency, namely the cooperation of related personnel and organization, teacher and officials, characteristics of disabled students, organization administration, academic administration, budgets for development, student affairs administration, and students’ opportunities and freedom. The results also showed that the performance of the special education administration in universities was at the medium level in 5 areas, namely student affairs administration, budget, internal environment of the universities, academic administration and organization administration respectively. The performance of the other 3 areas was at a high level. This study presented 4 policies for special education administration, 1) a realizing policy: attitude adjudging of stakeholders, 2) a thoughtful policy: providing service unit and suitable environment, 3) a learner attention policy: being interested in disabled learning ability and 4) a self dependent policy: encouraging disabled students to be independent. It is recommended for all higher education institutions, administrators, lecturers and other related units in realizing the importance of human resources, the congregation of society, and education provision for all qualitatively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66467
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.900
ISBN: 9745315575
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.900
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriwimol_ja_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.11 MBAdobe PDFView/Open
Siriwimol_ja_ch1_p.pdfบทที่ 11.17 MBAdobe PDFView/Open
Siriwimol_ja_ch2_p.pdfบทที่ 26.59 MBAdobe PDFView/Open
Siriwimol_ja_ch3_p.pdfบทที่ 31.4 MBAdobe PDFView/Open
Siriwimol_ja_ch4_p.pdfบทที่ 43.59 MBAdobe PDFView/Open
Siriwimol_ja_ch5_p.pdfบทที่ 51.74 MBAdobe PDFView/Open
Siriwimol_ja_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก7.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.