Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68115
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุปรีชา หิรัญโร-
dc.contributor.authorขจรศักดิ์ เจ้ากรมทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-09-23T01:38:10Z-
dc.date.available2020-09-23T01:38:10Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743318259-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68115-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความต้องการที่อยู่อาศัยของบุคลากรของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตและมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต โดยการศึกษาถึงสภาพสังคม เศรษฐกิจ และลักษณะที่อยู่อาศัยในปัจจุบันรวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนความต้องการที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมรวมทั้งปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อ ความต้องการที่อยู่อาศัย และเพื่อเสนอแนะเป็นแนวทางในการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับความต้องการที่อยู่อาศัยของบุคลากรทั้งสองแห่ง ผลการศึกษาพบว่าลักษณะเศรษฐกิจและสังคม ของกลุ่มตัวอย่างจากทั้งสองมหาวิทยาลัยคล้ายคลึงกันโดยมีอายุโดยเฉลี่ย 26-45 ปี มีสถานภาพโสดเป็นส่วนใหญ่ มีระดับการศึกษาสูงในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยในกลุ่มอาจารย์จะมีระดับการศึกษาสูงกว่ากลุ่มอื่นคือมีการศึกษาระดับปริญญาโทและเอกมากกว่า ปัจจัยที่แตกต่างกันระหว่างสองมหาวิทยาลัยได้แก่ ระดับเรื่องรายได้ โดยกลุ่มตัวอย่างของมหาวิทยาลัยกรุงเทพมีแนวโน้มที่มีรายได้สูงกว่า กลุ่มตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเรื่องที่อยู่อาศัยในปัจจุบันพบว่ากลุ่มตัวอย่างจากทั้งสองมหาวิทยาลัยจะมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นส่วนใหญ่ โดยพักอาศัยรวมกันกับครอบครัวในลักษณะที่เป็นครอบครัวขยาย มีปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในเรื่องสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เช่น น้ำประปา การเก็บขยะ น้ำท่วม ปัญหาที่กลุ่มตัวอย่างทั้งสองให้ความสำคัญเหมือนกันได้แก่ ปัญหาในการเดินทางมาทำงาน แม้ว่าจะไม่เป็นปัญหาขั้นร้ายแรงและปัญหาเกิดกับกลุ่มตัวอย่างระดับเจ้าหน้าที่ต้องใช้รถประจำทางมาทำงานเป็นสำคัญ ด้านความต้องการที่อยู่อาศัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างต้องการที่จะซื้อที่อยู่อาศัยหลังปี 2542 โดยทั้งสองกลุ่มตัวอย่างต้องการที่อยู่อาศัยใกล้กับแหล่งงานเหมือนกัน แต่มีระดับราคาที่ต้องการแตกต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีงบประมาณในการซื้อที่อยู่ 500,000 – 1,000,000 บาท และมหาวิทยาลัยกรุงเทพมีงบประมาณในการซื้อสูงกว่าอยู่ถึง 1,000,000 – 2,000,000 บาท ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความต้องการรูปแบบที่พักอาศัยเป็นบ้านเดี่ยว มีบริเวณโดยรอบ โดยต้องการซื้อกับโครงการและเช่าซื้อโดยการผ่อนชำระกับสถาบันการเงิน ด้านความต้องการด้านสวัสดิการของที่อยู่อาศัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งมีความต้องการสวัสดิการในรูปของดอกเบี้ยในการกู้เพื่อที่อยู่อาศัยที่ต่ำกว่าสถาบันการเงิน และที่อยู่อาศัยต้องอยู่ใกล้แหล่งงาน นอกจากนี้ต้องอยู่ในทำเลทีดี การสัญจร การเดินทางสะดวกและมีสภาพแวดล้อมที่ดี ผลการศึกษานำมาสู่ข้อเสนอแนะที่ว่า ในการจัดรูปแบบของที่อยู่อาศัยให้แก่บุคลากรของรัฐและเอกชนในมหาวิทยาลัย ควรจัดในรูปแบบของการให้สวัสดิการที่อยู่อาศัย ปัจจัยที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ระยะการเดินทางมายังที่ทำงาน ส่วนในเรื่องรูปแบบของอาคาร และการเป็นโครงการของรัฐหรือเอกชน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญรองลงมา-
dc.description.abstractalternativeThe aim of this research is to compare the residential needs of the staff at Thammasat University, Rangsit Center and Bangkok University, Rangsit Campus. The study focuses on social economic and residential conditions at the present as well as other relevant problems. It also deals with housing and environmental needs and other factors which affect these needs. The research is an attempt to identify a guideline for housing development to respond to the needs of the staff of both universities. According to the study, the economic and social conditions of the sampling groups in both universities are similar. Their ages range between 26 and 45. Most of them are single. Their educational levels range from bachelor’s, master’s, to doctorate degrees. Among these sampling groups. The lecturers have had higher education than the others. They all obtained a master’s degree or doctorate. However, there is a difference in revenue rates between the staff of Thammasat University and Bangkok University. The study indicates that the staff of Bangkok University earn more than those of Thammasat University. In term of the present accommodation, the study showed that most of the sampling groups have their original dwellings in Bangkok and suburban areas. They live in an extended family. Usually with their parents. All of them suffer from public utility problems such as water supply. Waste disposal and flood. Both groups considered commuting their major problem although it is not the most critical problem and mainly occurs for those who use public transportation. The study found that both groups plan to buy houses near their workplace after 1999. But each group differs in their ability to afford a new home. The sampling group from Thammasat University set their budget for a house between 500,000 and 1,000,000 baht whereas those from Bangkok University were 1,000,000 – 2,000,000 baht. Both groups want a detached house with a compound. They tend to purchase their houses from a real estate agent and take a loan from a financial institution. They demand that the universities provide them with housing welfare in terms of low interest rate loans. Both groups prefer housing projects which are close to their office, in a good location with a favorable environment, and convenient for transport. According to the study. It is suggested that the universities should provide their staff with housing welfare. The primary factor in developing a housing project is the distance from accommodation to workplace. The style of housing and whether it is a government or private project should be secondary factors.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์en_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยกรุงเทพen_US
dc.subjectที่อยู่อาศัยen_US
dc.subjectบุคลากรทางการศึกษาen_US
dc.subjectThammasat Universityen_US
dc.subjectBangkok Universityen_US
dc.subjectDwellingsen_US
dc.subjectHousingen_US
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบความต้องการที่อยู่อาศัยของบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตและมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิตen_US
dc.title.alternativeA comparative study on staff housing needs at Thammasat University Rangsit Center and Bangkok University Rangsit Campusen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเคหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSupreecha.H@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kajohnsak_ch_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.01 MBAdobe PDFView/Open
Kajohnsak_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1746.38 kBAdobe PDFView/Open
Kajohnsak_ch_ch2_p.pdfบทที่ 21.04 MBAdobe PDFView/Open
Kajohnsak_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3746.45 kBAdobe PDFView/Open
Kajohnsak_ch_ch4_p.pdfบทที่ 41.88 MBAdobe PDFView/Open
Kajohnsak_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.18 MBAdobe PDFView/Open
Kajohnsak_ch_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.