Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72552
Title: | สภาพการทำการประเมินความต้องการจำเป็นทางการศึกษาและการใช้ผลในกระทรวงศึกษาธิการ |
Other Titles: | State of conducting educational needs assessment and utilization of the results in the ministry of education |
Authors: | สุดนิสา พูลศิริ |
Advisors: | สุวิมล ว่องวาณิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Suwimon.W@Chula.ac.th |
Subjects: | กระทรวงศึกษาธิการ การประเมินความต้องการจำเป็น การประเมิน การวางแผน Needs assessment Evaluation Planning |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการทำการประเมินความต้องการจำเป็นทางการศึกษาและการใช้ผลในกระทรวงศึกษาธิการโดยจำแนกเป็น 3 วัตถุประสงค์ย่อยคือเพื่อศึกษาสภาพการทำและการใช้ผลการประเมินความต้องการจำเป็น เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของผู้บริหารกับการทำการประเมินความต้องการจำเป็น และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของผู้บริหารกับ ปริมาณการใช้ผลการประเมินความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้อำนวยการกองจำนวน 88 คน และบุคลากรจำนวน 65 คน ในกรมต่าง ๆ 14 กรมของกระทรวงศึกษาธิการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การทดสอบค่าไค-สแควร์ (X2- test) การทดสอบค่าที (t - test) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ ผลการวิจัยพบว่าผู้อำนวยการกองร้อยละ 69.30 มีการทำการประเมินความต้องการจำเป็น และนำผลการประเมินความต้องการจำเป็นไปใช้ร้อยละ 75.68 ส่วนบุคลากรมิการทำการประมินความต้องการจำเป็นร้อยละ 44.60 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังกับการทำการประมินความต้องการจำเป็นของผู้อำนวยการ ผลปรากฏว่าตัวแปรที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่การได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการประเมินโครงการหรือประเมินบุคลากร ประสบการณ์ในการประเมินโครงการ การได้รับความรู้เกี่ยวกับการประเมินความต้องการจำเป็น และทัศนคติต่อการประเมินความต้องการจำเป็น ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้ตัวแปรพยากรณ์ 8 ตัวแปร ได้แก่วุฒิทางการศึกษา (EDU) สาขาวิชาที่จบการศึกษา (AREA) ประสบการณ์ในการทำงาน (EXP) การได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการประมินโครงการ/ประมินบุคลากร (TRA) ประสบการณ์ ในการประมินโครงการ (EVAEXP) การได้รับความรู้เกี่ยวกับการประมินความต้องการจำเป็น (NKNOW) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินความต้องการจำเป็น (NTEST) และทัศนคติต่อการประมินความต้องการจำเป็น (ATT) พบว่าตัวแปรพยากรณ์ สามารถอธิบายความแปรปรวนของปริมาณการใช้ผลการประเมินความต้องการจำเป็นได้ร้อยละ 28.24 และตัวแปรพยากรณ์ที่สัมประสิทธิ์ ถดถอยมีนัยสำคัญ คือทัศนคติต่อการประเมินความต้องการจำเป็น สมการทำนายในรูปคะแนนดิบ UTIL = - 12.704 + 3.304NTEST + 0.917EVAEXP + 0.769ATT + 0.468TRA - 3.273NKNOW - 0.868EDU - 0.859AREA - 0.246EXP สมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน ZUTIL = 0.225ZNTEST + 0.140ZEVAEXP + 0.504ZATT + 0.070ZTRA - 0.048ZNKNOW - 0.060ZEDU - 0.016ZAREA - 0.071ZEXF |
Other Abstract: | The main purpose of this research was to study the state of conducting educational needs assessment and utilization of the result. The specific objectives were (1) to study the conducting and utilization of educational needs assessment, (2) to study the relationship between background of administrators and conducting of needs assessment, and (3) to study the relationship between background of administrators and utilization of needs assessment. The sample consisted of 88 department directors and 65 officers in the Ministry of Education. The instrument of this study was questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics, X2-test, t-test and multiple regression analysis through SPSS/PC+ program. The results indicated that 69.30% of the department directors conducted needs assessment, and 75.68 % of those utilized the needs assessment results. 44.60% of the officers conducted needs assessment. The analysis of the relationship between background of administrators and conducting of needs assessment indicated that training experience in personnel/project evaluation, project evaluation experience, needs assessment knowledge and attitude towards needs assessment were significantly related to the conducting of needs assessment at .05. level. Regression analysis consisted of 8 predictors, i.e. educational degree (EDU), area of study (AREA), work experience (EXP), training experience in personnel/project evaluation (TRA), project evaluation experience (EVAEXP), training in needs assessment (NKNOW), needs assessment knowledge (NTEST), and attitude towards needs assessment (ATT). The results indicated that the predictors were able to explain 28.24% of variance in degree of results utilization of needs assessment. The significant predictor was attitude towards needs assessment. The regression equation for raw scores was UTIL = - 12.704 + 3.304NTEST + 0.917EVAEXP + 0.769ATT + 0.468TRA - 3.273NKNOW - 0.868EDU - 0.859AREA - 0.246EXP. And the regression equation in standard scores form was ZUTIL = 0-225ZNTEST+ 0.140ZEVAEXP + 0.504ZATT + 0.070ZTRA - 0.048ZNKNOW - 0.060ZEDU - 0.016ZAREA - 0.071ZEXP. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72552 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1998.78 |
ISBN: | 9746398415 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1998.78 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sudnisa_pu_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 992.79 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sudnisa_pu_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sudnisa_pu_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sudnisa_pu_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sudnisa_pu_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sudnisa_pu_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sudnisa_pu_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.