Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72921
Title: ผลของกระบวนการกลุ่มต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการพยาบาล
Other Titles: The effect of group process on team performance of nursing personnel
Authors: อัจฉรา สืบสงัด
Advisors: วีณา จีระแพทย์
ลำยอง รัศมีมาลา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Veena.J@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: พยาบาล -- การทำงานเป็นทีม
การพยาบาลเป็นทีม
กลุ่มทำงาน
Nurses -- Teams in the workplace
Team nursing
Teams in the workplace
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม ทำการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง โดยมุ่งที่จะศึกษาเปรียบเทียบผลของกระบวนการกลุ่มต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการพยาบาล ระหว่างกลุ่มทดลองซึ่งได้รับกระบวนการกลุ่มในการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมกับกลุ่มควบคุมซึ่งปฏิบัติงานตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยเด็กสามัญโรงพยาบาลรามาธิบดี กลุ่มทดลองเป็นบุคลากรทางการพยาบาล จำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุมเป็น บุคลากร ทางการพยาบาลจำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ เครื่องมือในการทดลอง ได้แก่ แบบแผนการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินการทำงานเป็นทีม ซึ่งผ่านการทดสอบความเที่ยงและความตรงแล้ว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยของการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการพยาบาลกลุ่มทดลอง ภายหลังได้รับกระบวนการกลุ่มในการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม สูงกว่าก่อนได้รับกระบวนการกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการพยาบาล ภายหลังได้รับกระบวนการกลุ่มในการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมซึ่งปฏิบัติงาน ตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ .05
Other Abstract: This quasi - experimental research was two group, pretest - posttest design with non - equivalent group, aiming to study the effect of group process on team performance of nursing personnel comparing with those practiced on the conventional nursing assignment in pediatric ward of Ramathibodi Hospital. Subject was matched for working environment and then devided into two groups by simple random sampling technique. The experimental group was twenty - five nursing personnel who received the group process on team performance. The control group was twenty - six nursing personnel who practiced by using the conventional nursing assignment. The research tools were developed by the researcher The experimental instrument was the, group process on team performance promotion program and the instrument for data collection was the questionnaire on team performance of nursing personnel which was content validated and tested for test - retest reliability at r = 0.92. The findings of this study were : 1. The posttest mean score of team performance of nursing personnel who received the group process on team performance had team performance score higher than pretest at p < 0.05. 2. The mean difference of team performance score of nursing personnel who received the group process on team performance was higher than the control group at p < 0.05.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72921
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.310
ISBN: 9746389297
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1997.310
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atchara_su_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ715.24 kBAdobe PDFView/Open
Atchara_su_ch1.pdfบทที่ 1356.3 kBAdobe PDFView/Open
Atchara_su_ch2.pdfบทที่ 21.58 MBAdobe PDFView/Open
Atchara_su_ch3.pdfบทที่ 3696.9 kBAdobe PDFView/Open
Atchara_su_ch4.pdfบทที่ 4240.94 kBAdobe PDFView/Open
Atchara_su_ch5.pdfบทที่ 5350.81 kBAdobe PDFView/Open
Atchara_su_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.