Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74778
Title: ผลของการฝึกมนุษยสัมพันธ์ต่อสถานภาพทางสังคมมิติ และการวิเคราะห์ตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: Effects of human relations training on sociometric status and self-analysis of mathayom suksa three students
Authors: สุนันทา พลับแดง
Advisors: พรรณราย ทรัพยะประภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: มนุษยสัมพันธ์
สังคมมิติ
นักเรียน -- การประเมินตนเอง
Interpersonal relations
Sociometry
Students --- Self-evaluation
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกมนุษยสัมพันธ์ต่อสถานภาพทางสังคมมิติและการวิเคราะห์ตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีสมมติฐานการวิจัยว่า กลุ่มทดลองจะมีสถานภาพทางสังคมมิติสูงกว่ากลุ่มควบคุมและมีคะแนนการวิเคราะห์ตนเองในแต่ละด้านและรวมทุกด้านสูงกว่ากลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ปีการศึกษา 2531 ที่มีสถานภาพทางสังคมมิติต่ำมีจำนวน 20 คนโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน ซึ่งเป็นนักเรียนที่อาสาสมัครเข้าร่วมรับการฝึกมนุษยสัมพันธ์ทุกวันอาทิตย์ 6 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง รวมระยะเวลาการฝึก 18 ชั่วโมง และกลุ่มควบคุม 10 คน ซึ่งเป็นนักเรียนที่มีคะแนนสังคมมิติเท่ากับกลุ่มทดลองเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1. แบบวัดสถานภาพทางสังคมมิติตามแนวคิดของ นอร์แมน อี กรอนลุนด์ เพื่อประเมินหาสถานภาพทางสังคมมิติของกลุ่มตัวอย่าง 2. แบบทดสอบการวิเคราะห์ตนเองของ แจ็ค อาร์ กิบบ์ เพื่อประเมินความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อกลุ่ม 4 ด้าน คือ ด้านความไว้วางใจ ด้านการเปิดเผยตนเอง ด้านการตระหนักรู้ในตนและด้านการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนและหลังการทดลอง และวิเคราะห์ข้อมูลหาความแตกต่างของสถานภาพทางสังคมมิติด้วย The Wilcoxon Signed Ranks Test และ The Mann Whitney Test วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนการวิเคราะห์ตนเองด้วย t-test ตามโปรแกรม SPSS / Pc+ ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มทดลองมีสถานภาพทางสังคมมิติไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 แต่ถ้าแยกพิจารณาเฉพาะกลุ่มทดลองแล้วพบว่า กลุ่มทดลองมีสถานภาพทางสังคมมิติหลังการฝึกสูงกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 2. กลุ่มทดลองมีการวิเคราะห์ตนเองรวมทุกด้านสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 แต่เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านแล้วไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of human relations training on sociometric status and sell-analysis of Mathayomsuksa three students. The hypothesis tested was that the experimental group would show a higher rating in their self-analysis and higher sociometric status than the control group. The sample included 20 Mathayomsuksa three students from the Secondary Demonstration school of Srinakharinwirot University (Prasarnmitr) in the academic year 1988 whose sociometric status was low. Ten subjects of the experimental group voluntarily participated in human relations training for 18 hours. Another ten subjects whose sociometric status matched that of the experimental group was selected as a control group. The instruments used were: 1. The Sociometric Test developed by Norman E. Gronlund to evaluate the subjects. sociometric status. 2. The TORI Group Self-Diagnosis Scales constructed by Jack R. Gibb to evaluate the subiects' feelings towards the group on the following four dimensions: a) T-Trust, b) O-Openness, c) R-Realization, d) I-Interdependence The radomized pretest-posttest control group design was used. The t- test was used to find out differences in the self-analysis scales and the Wilcoxon Signed Ranks Test and the Mann Whitney Test was used to test differences in sociometric status The results show that 1. The sociometric status of the experimental group is not different from that of the control group at the 05 level of singificance. 2. The total scores of the self-analysis scales of the experimental group are higher than the control group at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74778
ISBN: 9745769037
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunanta_pl_front_p.pdf965.51 kBAdobe PDFView/Open
Sunanta_pl_ch1_p.pdf3 MBAdobe PDFView/Open
Sunanta_pl_ch2_p.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Sunanta_pl_ch3_p.pdf988.67 kBAdobe PDFView/Open
Sunanta_pl_ch4_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Sunanta_pl_ch5_p.pdf836.09 kBAdobe PDFView/Open
Sunanta_pl_back_p.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.