Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17940
Title: ความคิดเห็นของครูสังคมศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของครูสังคมศึกษา ในการแนะแนวนักเรียน
Other Titles: Social studies teachers' opinions concerning their roles in students' guidance
Authors: จริมศรี เพ็ชรกุล
Advisors: พิบูลศรี วาสนสมสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การแนะแนวการศึกษา
กิจกรรมเสริมหลักสูตร
ครูสังคมศึกษา
สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาเกี่ยวกับบทบาทในการแนะแนวนักเรียนในด้านการศึกษา อาชีพและการพัฒนาบุคลิกภาพ โดยการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทในการแนะแนวนักเรียนระหว่างครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การสอนต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรในการวิจัย เป็นครูสังคมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 388 คน ซึ่งได้จาการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นขึ้น 1 ชุด ประกอบด้วยคำถามแบบเลือกตอบ (Check-list) แบบมาตราส่วนประเมินค่า (rating scale) และแบบปลายเปิด (Open ended question) แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 แล้วนำไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างประชากร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-test) แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัย 1.การศึกษาความคิดเห็นของครูสังคมศึกษา เกี่ยวกับบทในการแนะแนวนักเรียนในด้านการศึกษา อาชีพและการพัฒนาบุคลิกภาพ ปรากฏผลดังนี้ ก.โดยการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน ครูส่วนใหญ่เห็นด้วยมากว่าควรปฏิบัติเกือบทุกด้าน นอกจาการเรียนการสอนเรื่องสหกรณ์ ซึ่งครูเห็นด้วยปานกลางว่าครูควรให้นักเรียนรู้จักเลือกและตัดสินใจเลือกอาชีพในอนาคต โดยการนำนักเรียนชมงานสหกรณ์ร้านค้าในเขตชุมชน หรือท้องถิ่นที่ดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จแล้ว เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการประกอบอาชีพต่อไป ข.โดยการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ครูส่วนใหญ่เห็นด้วยมากว่าควรปฏิบัติเกือบทุกด้าน นอกจากการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรบางกิจกรรม ซึ่งครูเห็นด้วยปานกลางว่าควรปฏิบัติ ได้แก่ การจัดกิจกรรมมี่ให้ความรู้ทางวิชาการ เช่น เชิญวิทยากรมาบรรยาย จัดอภิปรายหรือโต้วาที นำนักเรียน ไปศึกษานอกสถานที่ สาธิตผลงานกิจกรรมทางด้านวิชาการและการจัดกรรมการนักเรียนหรือชมรมกิจกรรมนักเรียนเพื่อเป็นศูนย์ประสานงานจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ ครูควรพานักเรียนไปชมและฝึกงานอาชีพต่างๆ ในห้องถิ่น ตลอดจนครูควรติดต่อสัมพันธ์กับนักจิตวิทยา เพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้มีสุขภาพจิตที่ดี 2.การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทในการแนะแนวนักเรียนด้านการศึกษา ก.อาชีพและการพัฒนาบุคลิกภาพ ระหว่าง ครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การทำงาน 1-14 ปี ปละครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การทำงาน 15ปีขึ้นไป ปรากฏดังนี้ ก. โดยการเรียนการสอนในห้องเรียน พบว่า ครูสังคมศึกษาทั้ง 2 กลุ่มมีความคิด เห็นโดยส่วนรวมไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.01 แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดปรากฏว่าครูทั้ง 2 กลุ่ม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในเรื่องต่อไปนี้คือ คือ ครูควรบอกนักเรียนให้เข้าใจเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในบทเรียน ครูควรใช้เทคนิคทางจิตวิทยา และการแนะแนวจูงใจให้นักเรียนเห็นประโยชน์ของการเรียนวิชาสังคมศึกษา วางแผนการเยนวิชาต่างๆ ร่วมกับนักเรียนโดยสอดแทรกวิธีเรียนที่ดีให้นักเรียนรู้จักการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลและแนะแนวให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองสามารถสรุปสาระ สำคัญในเนื้อหาแต่ละบทเรียนได้อย่างถูกต้อง ครูควรบอกคุณค่าและความสำคัญของวิชาที่สอนเพื่อค้าหาความสนใจ ความถนัดของนักเรียนแต่ละคนเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกวิชาและอาชีพ และเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพโดยการสอนวิชาสังคมศึกษา เรื่องมารยาทในสังคมและการปฏิบัติตนต่อผู้ใหญ่ ครูควรบอกหลักและแนวทางให้นักเรียนจัดกิจกรรมโดยการสาธิต การแสดงละคร ครูประพฤติตนเป็นตัวอย่างและสอดแทรกการสอนเรื่องการรักษาระเบียบวินัยและบรรทัดฐานที่วางไว้ของโรงเรียน ครูควรให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพเหตุการณ์บ้านเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อให้นักเรียนตระหนักในหน้าที่และกระทำตนเป็นพลเมืองดีของชาติ เมื่อการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาจะสิ้นสุดลงในแต่ละภาคครูควรเสริมกำลังใจ ด้วยการให้รางวัลหรือชมเชย และครูควรชี้แจงให้นักเรียนทราบข้อบกพร่องและเสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป ข. โดยการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ปรากฏว่าครูสังคมศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม มีความคิด เห็นโดยส่วนรวมไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.01 แต่เมื่อเปรียบเทียบรายข้อปรากฏว่าครูสังคมศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในเรื่องต่อไปนี้ คือ เรื่องการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ให้ความรู้ทางวิชาการโดยเชิญวิทยากรมาบรรยาย การฝึกให้นักเรียนเขียนโครงการ กำหนดจุดมุ่งหมายการดำเนินงานและขั้นตอนการทำงาน รู้จักประสานกับหน่วยงานหรือองค์การที่เกี่ยวข้องเพื่อให้งานดำเนินไปด้วยดี และครูควรสอดแทรกความรู้เรื่องความอดทน การเรียนรู้งาน ความมีระเบียบวินัย ความสะอาด ความรับผิดชอบให้นักเรียนด้วย
Other Abstract: Purposes : 1.to study the secondary school social studies teachers’ opinions concerning their roles in educational, vocational and personality development guidance through classroom instructional activities and extra-curricular activities. 2.To compare the opinions concerning the roles in students’ guidance between social studies teachers with different teaching experiences. Procedures : The sample group was 388 social studies teachers in secondary government schools in Bangkok Metropolis selected by simple random sampling. A setoff questionnaires consisted of three types of question ; check-list, rating scale and open ended question with the reliability of 0.89 was constructed by the researcher and sent to the samples. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, and then presented in tables with description. Results : 1.The social studies teachers’ opinions concerning their role in educational, vocational and personality development guidance appeared as follows : a)Through classroom instructional activities ; the majority of social studies teachers highly agreed that they should perform all types of activities except the Cooperative activities which most of them agreed moderately that they encourage their students to make decision and choose career by themselves by taking the students to visit successful Cooperative Stores in their communities in order to get guidelines for their vocation. b)Through extra-curricular activities ; most teachers highly agreed that they should perform almost all types of activity except some academic activities which they agreed moderately that they should perform such as inviting resource person, discussion or debate, field trip, and demonstration of academic work, and setting up student body or students’ activity club as a coordinating center distributing information and knowledge. The teachers should take the students to visit and practice in various career resource places in the community, and should contact psychologists or social workers in order to help the students attain good mental health. 1.On comparing the opinions concerning social studies teachers’ roles in educational, vocational and personality development guidance between social studies teachers with 1-14 years of teaching experiences and those with 15 pears of teaching experiences, it appeared as follows : a)Through classroom instructional activities ; the opinions concerning the social studies’ roles in guidance in all areas; educational, vocational and personality development were not different at the 0.04 level of significance. But on comparing their opinions in detail, it appeared that there was a significant difference at the 0.01 level concerning the following items :the teachers should make the students understand the supplementary suggestions in each lesson, the teachers should use psychological and guidance techniques to help the students realize the values of social learning, the teacher and students should set up study plan together by integrating the way of thinking reasonably and guiding the students to acquire knowledge by themselves and conclude the knowledge in each lesson correctly. The teachers should tell the students about the values and importance of the subject so that they find out the students’ interest, aptitudes in order to guide them the subject and career selection. Concerning personality development through teaching social studies for good conduct towards the elders, the teachers should tell them the principles and guidelines through demonstration and dramatization illustration by teachers’ behavior and integration of how to maintain the school disciplines and standards. The teachers should inform the students about nation and international current situations so that they understand their duties of good citizenship. At the end of each semester, the teachers should reinforce by rewards or praise, inform the students of their weak points and suggestions for improvement. b) Through extra-curricular activities; it appeared that the opinions of both groups of teachers were not different at level of significance of concerning all aspects. But on comparing their opinions in detail, they were significantly different at the 0.01 level on the following items ; the academic activities such as inviting resource persons to the school students’ practice on project writing including project objectives, working process and coordinating with other organization. Moreover, the teachers should integrate the information concerning toughness, work concept, discipline, cleanliness and responsibility as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17940
ISBN: 9745665029
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jarimsri_Pe_front.pdf333.16 kBAdobe PDFView/Open
Jarimsri_Pe_ch1.pdf318.18 kBAdobe PDFView/Open
Jarimsri_Pe_ch2.pdf893.94 kBAdobe PDFView/Open
Jarimsri_Pe_ch3.pdf258.77 kBAdobe PDFView/Open
Jarimsri_Pe_ch4.pdf615.26 kBAdobe PDFView/Open
Jarimsri_Pe_ch5.pdf393.41 kBAdobe PDFView/Open
Jarimsri_Pe_back.pdf652.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.