Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30136
Title: การบำบัดน้ำเสียจากที่พักอาศัยด้วยบ่อผักตบชวา
Other Titles: Treatment of domestic wastewater by water hyacinth pond
Authors: อภิชัย เชียร์ศิริกุล
Advisors: ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์
บุญส่ง ไข่เกษ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาอัตราการเติบโตขอผักตบชวาในน้ำเสียจากที่พักอาศัยโดยใช้ความหนาแน่นเริ่มต้น 6 กิโลกรัมน้ำหนักเปียกต่อตารางเมตร และศึกษาความหนาแน่นที่เหมาะสมของผักตบชวาที่ใช้บำบัดน้ำเสียจากที่พักอาศัยรวมทั้งศึกษาประสิทธิภาพของบ่อผักตบชวาต้นแบบขนาดเล็กในการบำบัดน้ำเสียจากที่พักอาศัยที่ผ่านการตกตะกอนขั้นปฐมภูมิของระบบบำบัดน้ำเสียของเคหะชุมชนห้วยขวาง โดยใช้ความหนาแน่นของผักตบชวา 8 กิโลกรัมต่อน้ำหนักเปียกต่อตารางเมตร เก็บเกี่บวออกสัปดาห์ละ 2.28 กิโลกัรม น้ำหนักเปียกต่อตารางเมตร เก็บเกี่ยวทางด้านน้ำเข้า น้ำเสียมีระยะเวลาเก็บกักในบ่อ 10 วัน ผลการศึกษาพบว่าผักตบชวาในระบบที่มีการเติมน้ำเสียต่อแบบต่อเนื่องมีอัตราการเติบโตสูงสุด 0.47 กิโลกรัมน้ำหนักเปียกต่อตารางเมตรต่อวัน และผักตบชวาในระบบที่มีการเติมน้ำเสียแบบครั้งคราวมีอัตราการเติบโตสูงสุด 0.43 กิโลกรัมน้ำหนักเปียกต่อตารางเมตรต่อวัน ความหนาแน่นของผักตบชวาที่เหมาะสมที่ใช้บำบัดน้ำเสียจากที่พักอาศัยเท่ากับ 8 กิโลกรัมน้ำหนักเปียกต่อตารางเมตร ซึ่งให้ผลได้มวลชีวภาพสูงสุด สัปดาห์ละ 2.28 กิโลกรัมน้ำหนักเปียกต่อตารางเมตร ประสิทธิภาพของบ่อผักตบชวาในการลด ซี. โอ. ดี., บี. โอ. ดี., สารแขวนลอยรวม, ที. เค. เอ็น. และฟอสฟอรัสทั้งหมด เท่ากับ 80.9% 85.8% 96.4% 70.6% และ 48.3% ตามลำดับ ประสิทธิภาพของบ่อผักตบชวาในการบำบัดน้ำเสียจากที่พักอาศัยได้ดีกว่าบ่อควบคุม (ซึ่งไม่ใส่ผักตบชวา) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p 0.0001) น้ำทิ้งที่ออกจากระบบไม่เกินมาตรฐานน้ำทิ้งจากอาคารซึ่งประกาศโดยสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
Other Abstract: The objectives of this research were to study growth rate of water hyacinth cultured in domestic wastwater with starting plant density of 6 kg. wet , wt.m⁻² and also to study the optimum water hyacinth density for treatment of domestic wastewater as well as to study efficiency of pilot-scale water hyacinth pond for treatment of domestic wastewater which was preteated by primary sedimentation tanks of Huaykwang wastewater treatment plant, The system used optimestic density of water hyacinth about 8 kg. wet wt,m⁻² and about 2. 2 8 kg, wet wt. m⁻² of water hyacinth were harvasted once a week from inlet part. Hydraulic retention time of this system was fixed at 10 days. The results showed that the maximum growth rate was found to be 0, 47 kg. wet wt. m⁻²d⁻¹ for water hyacinth cultured in continuous-flow system and 0.43 kg, wet wt.m⁻²d⁻¹ for water hyacinth cultured in batcb system. The optimum water hyacinth density for treatment of domestic wastewater was found to be 8 kg. wet. wt.m⁻² to achieve maximum biomass yieids per week of 2,28 kg, wet. wt. m⁻². The efficiency of water hyacinth pond in reducting COD , BOD, TSS, TKN and TP were 80,9%, 85,8%, 96,4%, 70,6% and 48,3% respectively. The efficiency of water hyacinth pond was more effective than the control pond (without water hyacinth) (p 0.0001) The effluent from this system remained below the domestic effluent standards from building established by the Office of the National Environment Board, Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30136
ISBN: 9745777307
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apichai_ch_front.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Apichai_ch_ch1.pdf755.79 kBAdobe PDFView/Open
Apichai_ch_ch2.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Apichai_ch_ch3.pdf997.4 kBAdobe PDFView/Open
Apichai_ch_ch4.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open
Apichai_ch_ch5.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Apichai_ch_ch6.pdf334.45 kBAdobe PDFView/Open
Apichai_ch_back.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.