Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48315
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสนานจิตร สุคนธทรัพย-
dc.contributor.authorวีระชัย จิวะชาติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-08T07:25:42Z-
dc.date.available2016-06-08T07:25:42Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.isbn9745785695-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48315-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของระบบบริหารงานมัธยมศึกษา ของกรมสามัญศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่ทราบวัตถุประสงค์และนโยบาย ที่กรมกำหนดทุกเรื่อง แต่เรื่องที่ทำได้สำเร็จมากที่สุด ได้แก่ การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้สวยงาม ด้านการวางแผนพบว่ากรมสามัญศึกษาได้จัดทำแผนเพื่อการบริหารงาน 3 ประเภท คือ แผนปฏิบัติการประจำปี แผนพัฒนาการศึกษาประจำปี และแผนพัฒนาการศึกษาระยะ 5 ปี และส่วนใหญ่เห็นว่า แผนมุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนให้สามารถประกอบอาชีพอิสระ ด้านการจัดทรัพยากรพบว่ากรมได้จัดสรรทรัพยากรให้โรงเรียนต่างๆ ทั้งในเรื่องคน เงิน วัสดุอุปกรณ์และข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการจัดสรรทรัพยากรไว้ด้วย แต่การจัดสรรจริงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ด้านการจัดองค์การพบว่า ภารกิจและการแบ่งหน่วยงานของกรมในปัจจุบันเหมาะสมแล้ว แต่อำนาจหน้าที่ในส่วนกลางมีมากเกินไป ด้านการดำเนินงานพบว่า กรมจัดให้มีการนิเทศการปฏิบัติงานในเรื่องการเงิน การเรียนการสอนการบริหารโรงเรียน การบริหารงานบุคคล และเรื่องอื่นๆ ด้านการควบคุมพบว่า กรมได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานของงาน เพื่อควบคุมการบิหารงานตามภารกิจของโรงเรียน ทั้ง 6 งาน นอกจากนี้ยังจัดให้มีการควบคุม โดยให้โรงเรียนรายงานผลการปฏิบัติงาน การตรวจราชการทั้งในระดับกรม และเขตการศึกษา การตรวจสอบทั้งจากหน่วยงานระดับกรม จังหวัด และหน่วยราชการภายนอก ได้แก่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำหรับปัญหา พบว่าปัญหาที่มีผู้ระบุสูงสุด ได้แก่ วัตถุประสงค์ของกรมในปัจจุบัน ยากที่จะนำไป แปลความให้เป็นรูปธรรมเพื่อการปฏิบัติได้ และนโยบายมีจำนวนมากเกินไป เป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนสูงเกินไป กรมมีอำนาจมากเกินไป โรงเรียนได้รับทรัพยากรไม่เพียงพอ และขาดแผนการตรวจราชการที่แน่นอนen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the research was to study the states and problems of the secondary education administrative system of the Department of General education. The study revealed that the majority of the school administrators knew all the Department objectives and policies. However, the most successful one was providing pleasant atmosphere and environment in schools. In planning, the Department had 3 types of plan : annual operational plan, annual educational development plan and five-year education development plan. Most of these plans aim at developing manpower to enable then to be self-employed. In assembling resources, the Department allocated all the resources needed for policy implementation as well as developed standard criteria for resource allocation. However, the actual allocation was below the criteria. In organizing. It was stated that the existing mission and organization of the Department were appropriate but the administration was over centralized. In implementing, the Department provided supervision on finance, instruction, school management, personnel management and others. For controlling, the Department had set job standard for 6 school administrative tasks, organized a reporting system and set different forms of inspection. The administrative problems specified with highest frequency were : the existing objectives were subjective and there were too many policies; planning targets were too high; the Department has too much authority; schools received inadequate resources and lack of definite plans for inspection.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleสภาพและปัญหาของระบบบริหารงานมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษาen_US
dc.title.alternativeStates and problems of the secondary education administrative system, the department of general educationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weerachai_chi_front.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Weerachai_chi_ch1.pdf945.78 kBAdobe PDFView/Open
Weerachai_chi_ch2.pdf6.83 MBAdobe PDFView/Open
Weerachai_chi_ch3.pdf643.82 kBAdobe PDFView/Open
Weerachai_chi_ch4.pdf7.32 MBAdobe PDFView/Open
Weerachai_chi_ch5.pdf3 MBAdobe PDFView/Open
Weerachai_chi_back.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.