Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65587
Title: จุดมุ่งหมาย เนื้อหา และวิธีการนำเสนอในการสื่อสารผ่านรายการสารคดีสั้นทางโทรทัศน์
Other Titles: Aim, content and presentation in communicating through short television feature program
Authors: ณัชชา วานิชอังกูร
Advisors: เกริกเกียรติ พันธุ์พิพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Grirggiat.P@chula.ac.th
Subjects: สื่อมวลชน
รายการสารคดีทางโทรทัศน์
สื่อมวลชน -- แง่สังคม
Mass media
Documentary television programs
Mass Media -- Social aspects
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของผู้ที่ต้องการสื่อสารผ่านรายการสารคดีสั้นทางโทรทัศน์ ลักษณะเนื้อหาและวิธีการนำเสนอเพื่อตอบสนองต่อจุดมุ่งหมายนั้น โดยอาศัยแนวคิดบทบาทสื่อมวลชนในฐานะเป็นตัวกลางเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางสังคม แนวคิดสื่อมวลชนกับบทบาทด้านการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ แนวคิดเรื่องการออกแบบเนื้อหาสารทางโทรทัศน์ และแนวคิดเรื่ององค์ประกอบของรายการสารคดีทางโทรทัศน์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ในบรรดาผู้ที่ต้องการสื่อสารผ่านสารคดีสั้นทางโทรทัศน์ที่เป็นองค์กรราชการนั้น มีจุดมุ่งหมายที่แท้จริงเพื่อให้ความรู้ที่สัมพันธ์กับภารกิจขององค์กร และประชาสัมพันธ์ผลงานเสริมสร้างภาพ ลักษณ์ที่ดีขององค์กรด้วยการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานขององค์กร และใช้วิธีการนำเสนอด้วยเสียงบรรยายประกอบภาพ หรือมีพิธีกรดำเนินรายการ และมีการสัมภาษณ์ รวมทั้งใช้วิธีการอ้างพยานเพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลสำหรับกลุ่มรัฐวิสาหกิจพบว่ามีจุดมุ่งหมายที่แท้จริง คือ ประชาสัมพันธ์ผลงานขององค์กรและเสริมสร้างภาพลักษณ์ด้วยการนำเสนอเนื้อหาตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรและเผยแพร่กิจกรรมด้านการส่งเสริมสังคมและใช้วิธีการนำเสนอมีทั้งเสียงบรรยายประกอบภาพ ละครสั้น พิธีกรดำเนินรายการและการอ้างพยาน ส่วนองค์กรเอกชนนั้นแยกจุดมุ่งหมายที่แท้จริงเป็น 2 แบบคือ จุดมุ่งหมายโฆษณาผลิตภัณฑ์ขององค์กร ด้วยการนำเสนอเนื้อหาที่จูงใจผู้ชม โดยเลือกกล่าวถึงด้านดีของผลิตภัณฑ์และอาศัยเหตุผลด้วยการนำจุดเด่นของสินค้ามาไว้ในรายการ และใช้วิธีการนำเสนอด้วยแบบที่มีพิธีกรดำเนินรายการ การนำสินค้ามาเป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก ละคร การสาธิตและการอ้างพยานรวมทั้งการใช้สโลแกนและระบุชื่อผู้สนับสนุนเพื่อตอกยํ้าผู้บริโภค และจุดมุ่งหมายอีกแบบหนึ่ง คือให้ ความรู้พร้อมกับเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้องค์ ด้วยการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับปัญหาสังคมและแสดงความห่วงใยสังคม โดยใช้วิธีการนำเสนอแบบที่มีทั้งเสียงบรรยายประกอบภาพ มีพิธีกรดำเนินรายการ และการสัมภาษณ์ รวมทั้งการใช้สโลแกนและพร้อมกับระบุชื่อผู้สนับสนุนเพื่อตอกยํ้าผู้บริโภค
Other Abstract: The objectives of this qualitative research are to find out the true aims of the advocates through short television feature, and to understand the content and the presentation that are designed to serve such aims. The research is based on 4 concepts namely; mass communication as a society – wide process: the mediation of social relations, mass media for advertising and public relation, television message design and the elements of television feature. It is found that most government advocates aim to provide knowledge relevant to their responsibilities, and to promote their images by publicizing their performances. The content of the programs is largely related to their works. The presentation includes narrated visions, on – camera presenters, interviews and testimonial. Likewise, most state enterprises aim to promote their images and to publicize their performances. The content is mostly about their responsibilities and social contribution. As for the presentation, narrated vision, dramatization, on – camera presenters as well as testimonial are used. Among private organizations, the aims of the advocates can be divided into 2 groups: those who aim to promote their products and the others who aim to provide knowledge or information that in turn promote their images. The former present the content that relates directly to the products and use various presentation techniques such as celebrity or famous presenters, drama, demonstration, testimonial and of the show the symbols and slogans. The latter present the content that shows their social concern or provide knowledge. The presentation includes narrated vision, presenters, interviews and almost always shows the symbols of the organizations together with their slogans.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65587
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.308
ISBN: 9741735812
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.308
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natcha_va_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ752.2 kBAdobe PDFView/Open
Natcha_va_ch1_p.pdfบทที่ 1851.03 kBAdobe PDFView/Open
Natcha_va_ch2_p.pdfบทที่ 21.05 MBAdobe PDFView/Open
Natcha_va_ch3_p.pdfบทที่ 3696.92 kBAdobe PDFView/Open
Natcha_va_ch4_p.pdfบทที่ 41.63 MBAdobe PDFView/Open
Natcha_va_ch5_p.pdfบทที่ 52.01 MBAdobe PDFView/Open
Natcha_va_ch6_p.pdfบทที่ 6706.85 kBAdobe PDFView/Open
Natcha_va_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก679.02 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.