Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67650
Title: | การนำเสนอลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต |
Other Titles: | A proposed features of computer-assisted instruction lessons on the Internet |
Authors: | จิรดา บุญอารยะกุล |
Advisors: | วิชุดา รัตนเพียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน อินเทอร์เน็ตในการศึกษา การเรียนการสอนผ่านเว็บ |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและนำเสนอลักษณะที่เหสมะสมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขา CAI และสาขาอินเทอร์เน็ตรวมทั้งหมดจำนวน 27 คน การศึกษาครั้งนี้ ใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบเดลฟาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1. ใช้แบบสอบถามกึ่งสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างปลายเปิด 2. ใช้แบบสอบถามปลายปิด ชนิดประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์และเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ มัยธฐาน พิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะที่เหมาะสมในชั้นนำเข้าสู่บทเรียน ชั้นนำเสนอเนื้อหา ขั้นการถาม-ตอบขั้นตรวจคำตอบ ขั้นข้อมูลยอนกลับหรือให้เนื้อหาเดิม และขั้นจบบทเรียนของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ 1. ตัวอักษรของเนื้อหาข้อความภาษาไทยและภาษาอังกฤษควรใช้ตัวหัวกลมแบบธรรมดา (Normal) ขนาด (Size) ตั้งแต่ 10 ถึง 20 พอยท์ เช่น AngsanaUPC CordiaUPC BrowalliaUPC JasmineUPC Arial Helvetica ฯลฯ ในหนึ่งหน้าจอควรมีเนื้อหาไม่เกิน 8-10 บรรทัด และควรใช้ลักษณะเหมือนกันรูปแบบเดียวตลอดหนึ่งบทเรียน 2. ภาพกราฟิกควรใช้ภาพการ์ตูน ภาพวีดีทัศน์ ภาพล้อเสมือนจริงที่เป็นภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ (Animation) และ 3 มิติ (3 D Animation) โดยเลือกใช้จำนวน 1 ถึง 3 ภาพภายในหนึ่งหน้าจอ และภาพพื้นหลัง (ถ้ามี) ควรใช้ภาพลายน้ำสีจางลักษณะเดียวกันตลอดหนึ่งบทเรียน 3. สีที่ปรากฎในจอภาพและสีของตัวอักษรข้อความไม่ควรใช้เกินจำนวน 3 สีโดยคำนึงถึงสีพื้นหลังประกอบด้วย 4. สื่อชั้นนำในการนำทาง (Navigational Aids) ควรเลือกใช้สัญรูป (Icon)แบบปุ่มรูปภาพ, แบบรูปลูกศรพร้อมทั้งอธิบายข้อความสั้น ๆ ประกอบสัญลักษณ์หรือแสดงข้อความ Hypertext และใช้เมนูแบบปุ่ม (Button), แบบ Pop Up ที่แสดงสัญลักษณ์สื่อความหมายได้เข้าใจชัดเจน 5. องค์ประกอบทั่วไปของโปรแกรมสามารถสืบค้นข้อมูลด้วย text box, Smart Search Engine ด้วยเทคนิค Pull Down, Scrolling Bar ข้อความเชื่อมโยง (Hypertext link)ใช้อักษรตัวหนา, ตัวขีดเส้นใต้มีสีน้ำเงินเข้มเมื่อคลิกผ่านไปแล้วสีน้ำเงินจางลงโดยอาศัยรูปมือ (Cueing) กะพริบร่วมด้วย และการขยายลำดับข้อมูลสืบค้น (Branching)ไม่ควรเกิน 3 ระดับ |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the opinions of the panel experts and to present proposed features of computer-assisted instruction lessons on the internet. The samples were 27 experts computer-assisted instruction and the internet Delphi technique was used for data collection. The structure used to collect data were questionnaires and interview. Five specified experts confirmed results the findings. The statistics used to analyze data were percentage, median, interquartile range, average value and standard deviation. The findings revealed that: Appropriate features of computer-assisted instruction lessons on the internet were: 1) Appropriate fonts should be normal type with the size between 10 - 20points such as AngsanaUPC, CordiaUPC, BrowalliaUPC, JasmineUPC, Arial, Helvetica and etc. There should not be more than 8 - 10 space lines within one screen frame. Same font types should be used throughout the lesson; 2) Two and three dimension of cartoon, video clip and comics were recommended. There should not be more than 3 pictures within one screen frame. Appropriate background was faded embossed; 3) There should not be more than 3 colors within one screen frame. The background color should be considered when deciding foreground color; 4) Icons were recommended as navigational aids; 5) Pull down and scroll bar were found to be two appropriate techniques for data searching. Underlined text with the hand pointer tool were found to be appropriate cue for hypertext. There should not be more than 3 levels of branching. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยม, 2542 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67650 |
ISBN: | 9743330097 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jirada_bo_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 936.35 kB | Adobe PDF | View/Open |
Jirada_bo_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Jirada_bo_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 3.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Jirada_bo_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Jirada_bo_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Jirada_bo_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Jirada_bo_back_p.pdf | บรรณานุกรมและบทคัดย่อ | 3.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.