Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68364
Title: มหาเถรสมาคมกับการยอมรับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ ในการปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ ในการปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์
Other Titles: The acceptance of Maha Thera Samagom council for priests' participation in administrative reformation
Authors: พรศักดิ์ ธนพัฒนพงศ์
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: tanawadee.b@chula.ac.th
Subjects: มหาเถรสมาคม
ประชาธิปไตย
สงฆ์ -- การปกครอง
การสื่อสารในองค์การ
ไซเบอร์เนติกส์
การมีส่วนร่วมทางสังคม
Democracy
Communication in organizations
Cybernetics
Social participation
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาการบริหารปกครองคณะสงฆ์ที่ไม่สามารถจัดการกับการทำผิดพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดกระแสการเรียกร้องเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง คณะสงฆ์โดยยอมรับการมีส่วนร่วมทางการปกครองของพระสงฆ์ระดับต่าง ๆ มากขึ้น ท่ามกลางกระแสของการเรียกร้องเหล่านั้น ก็เกิดปรากฏการณ์การบิดเบือนข่าวสารทั้งจากของสื่อมวลชน และจากภายในองค์กรสงฆ์ งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ในศึกษาความคิดเห็นของคณะกรรมการมหาเถรสมาคม รูปแบบ วิธีการ หรือแนวทางการยอมรับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ เพื่อให้คณะสงฆ์พัฒนารูปแบบการบริหารที่เหมาะสมขึ้น ในฐานะที่มหาเถรสมาคมเป็นองค์กรสูงสุดของการปกครองคณะสงฆ์ไทย และยังศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาการบิดเบือนข่าวสารของมหาเถรสมาคมว่า ดำเนินการในรูปแบบใด หรือมีแนวทางอย่างไรเพื่อมิให้ส่งผลต่อการบริหารปกครองคณะสงฆ์ในอนาคต ผลการวิจัยพบว่า 1.มหาเถรสมาคมยังไม่มีรูปแบบ แนวทาง วิธีการ หรือแนวทางในการยอมรับการมีส่วนร่วม ของ พระสงฆ์ในการปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ 2.มหาเถรสมาคมยังไม่มีรูปแบบ แนวทาง วิธีการ หรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบิดเบือน ข่าวสารที่เกิดขึ้นอย่างเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นจากสื่อมวลชน หรือจากการสื่อสารภายในองค์กรคณะสงฆ์ นอกจากนี้ ยังพบว่าปัญหาและอุปสรรคสำคัญของการยอมรับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ คือโครงสร้างองค์กร แบบแผนทางวัฒนธรรม และรูปแบบการดำเนินงานของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งเห็นว่า ยังไม่ถึงเวลาที่จะมีการเปลี่ยนแปลง และการปฏิรูปการปกครองก็ไม่ใช่เป้าหมายสำคัญในการเผยแผ่พระธรรม สำหรับประเด็นของการบิดเบือนข่าวสารนั้น มีข้อน่าสังเกตเพิ่มเติมว่า มหาเถรสมาคมยังไม่มีความเข้าใจ และยังไม่เห็นประโยชน์ของการสื่อสารมวลชน ในขณะเดียวกันแม้จะยอมรับว่าการสื่อสาร ในองค์กรมีความสำคัญ แต่ก็ยังไม่มีรูปแบบ วิธีการ หรือแนวทางในการปรับปรุงการสื่อสารในคณะสงฆ์ ในมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Other Abstract: The problem Maha Thera Samagom, the supreme priest authority is entercountering is that the supreme is unable to manage the priests who violate the articles of the dharma principle effectively. From the events presents through mass media resulted in the demand among the Buddhists for priest administrative reform. It is requests Maha Thera Samagom accept priests’ participation in the process of administrative reform. During the current of claim, there appeared the information distortion presented in mass media and within priest organization. The purpose of this thesis is to investigate the opinion of key informants of Maha Thera Samagom Council, dealing the form, procedures and the tendency of acceptance of priests’ participation in administration reform in order to modify the appropriation of priest administration. Furthermore, the study also examined news distortion and tactics to handle the news distortion. The results of are as follow: 1.Maha Thera Samagom Council has no form, procedure or guideline in acceptance of priests’ participation in the Council. 2.Maha Thera Samagom Council has no certain means and tactics to manage news distortion, not only in mass communication channels but also internal priests’ organization itself. Moreover, it was found that the important problems and major obstacles to accept Maha Thera Samagom Council is its organization structure, cultural pattern and execution of the administration body. The senior priests administrative still conform to the traditional form. According to the senior priests the reform, was not major target to propagate virtue of the dharma. For news distortion, there is some remark that Maha Thera Samagom still did not perceive the advantage of information presented in mass communication. In the meantime, they had no pattern, procedure or guideline to make improve the communication within priest organization.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68364
ISSN: 9743315705
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phornsak_th_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ973.57 kBAdobe PDFView/Open
Phornsak_th_ch1_p.pdfบทที่ 11.51 MBAdobe PDFView/Open
Phornsak_th_ch2_p.pdfบทที่ 22.71 MBAdobe PDFView/Open
Phornsak_th_ch3_p.pdfบทที่ 31.13 MBAdobe PDFView/Open
Phornsak_th_ch4_p.pdfบทที่ 45.46 MBAdobe PDFView/Open
Phornsak_th_ch5_p.pdfบทที่ 53.72 MBAdobe PDFView/Open
Phornsak_th_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก733.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.