Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69038
Title: ผลกระทบของอินเฮเรนด์แอนไอโซทรอปีในก่อนและหลังการเกิดกำลังสูงสุด ของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ
Other Titles: Effect of inherent anisotropy on pre and post peak strength characteristics of soft Bangkok clay
Authors: วิบูลย์ เจริญกุล
Advisors: สุพจน์ เตชวรสินสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Supot.T@Chula.ac.th
Subjects: ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ความเครียดและความเค้น
แอนไอโซทรอปี
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยผลกระทบของอินเฮเรนท์แอนไอโซทรอปีในก่อนและหลังการเกิดกำลังสูงสุดของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยแรงและความเครียดที่เกิดจากการกระทำของแรงภายนอกในทิศทางต่าง ๆ ของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯในชั้น Weathered zone ซึ่งคาดว่ามีพฤติกรรมเป็นแอนไอโซทรอปีอันเนื่องมาจากลักษณะอนุภาคและการจัดเรียงตัวของ อนุภาคดินเหนียวเอง การวิจัยนี้ดำเนินการศึกษาโดยใช้ดินตัวอย่างจากโครงการก่อสร้าง 2 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ระดับความลึกเดียวกัน ที่ 4 เมตรจากระดับผิวดินเดิมลงไป การทดสอบที่ใช้เพื่อศึกษาแอนไอโซทรอปีในการวิจัยนี้มีทั้งสิ้น 4 การทดสอบ ได้แก่ 1. การทดสอบแรงเฉือนโดยตรง 2. การทดสอบแรงเฉือนแบบวงแหวน 3. การทดสอบแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด 4. การทดสอบการอัดตัวคายน้ำใน 1 มิติ การทดสอบทั้งหมดได้ทดสอบโดยใช้หน่วยแรงตั้งฉากกระทำต่อตัวอย่างที่ถูกตัดให้เอียงตามมุมต่าง ๆ กัน 6 มุมคือ 0, 15, 30, 60, 75 และ 90 องศา หน่วยแรงตั้งฉากที่ใช้จะเอียงทำมุมกับแนวดิ่ง 0, 15, 30, 60, 75 และ 90 องศาสัมพัทธ์กับความเอียงของตัวอย่างตามลำดับเช่น เดียวกัน หน่วยแรงทั้งฉากที่ใช้ทดสอบจะอยู่ในช่วง 0.350 ถึง 3.00 ksc. เพื่อศึกษาผลของแอนไอโซทรอปีที่ OCR ต่าง ๆ กัน การทดสอบแรงเฉือน จะอยู่ในเงื่อนไข Consolidated drain ส่วนการทดสอบแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัดจะอยู่ในเงื่อนไข Unconsolidated undrain. จากผลการทดสอบที่ได้พบว่าในการทดสอบกำลังรับแรงเฉือนโดยตรง พฤติกรรมของความสัมพันธ์ของหน่วยแรงและความเครียด พบว่าค่ากำลังรับแรงเฉือนสูงชุดนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อระนาบที่รับแรงเฉือนทำมุมกับแนวราบเพิ่มขึ้น โดยกำลังรับแรงเฉือนสูงสุดปรากฎเมื่อระนาบรับแรงเฉือนมีทิศทางขนานกับแนวราบและต่ำสุดเมื่อระนาบที่รับแรงเฉือนทำมุมกับแนวราบ 60 ถึง 90 องศาแต่อย่างไรก็ ตามกำลังรับแรงเฉือนสูงสุดและต่ำสุดนี้มีค่าแตกต่างไม่มากนักและจะมีแนวโน้มชัดเจนในดินตัวอย่างจากจุฬาฯเท่านั้น ส่วนผลการทดสอบกำลังรับแรงเฉือนแบบวงแหวนก็แสดงแนวโน้มในลักษณะเดียวกันแค่กำลังรับแรงเฉือนสูงสุดและต่ำสุดจะไม่ปรากฎที่ระนาบใดระนาบหนึ่ง โดยเฉพาะ สำหรับผลการทดสอบแรงอัดแบบไม่จำกัดในตัวอย่างดินจากมหิดลก็พบว่าทิศทางของหน่วยแรงที่กระทำต่อตัวอย่างมีผลต่อกำลังรับแรงอัดแบบไม่ระบายน้ำของตัวอย่างด้วย จากผลการทดสอบ จะได้กำลังรับแรงอัดแบบไม่ระบายน้ำสูงสุดเท่ากับ 0.20 ksc. เมื่อทิศทางของหน่วยแรงที่กระทำต่อตัวอย่างทำมุม 30 องศากับแนวดิ่ง และค่าสัมประสิทธิ์ของแอนไอโซทรอปี, K มีค่าเท่ากับ 1.54 การทดสอบการอัดตัวคายน้ำใน 1 มิติ (Consolidation test) จะให้ผลที่ไม่ชัดเจนนักและมีความกระจัดกระจายมากในแต่ละระนาบ ทำให้ยากที่จะสรุปได้ว่าผลของการอัดตัวคายน้ำใน 1 มิติ ในทิศทางต่าง ๆ เป็นแอนไอโซทรอปีด้วย เช่น ในดินตัวอย่างจากจุฬาฯ พบเพียงว่าเมื่อน้ำ หนักแนวดิ่งกระทำในทิศทางตั้งฉากกับแนวราบจะทำใหเกิดการทรุดตัวมากกว่าเมื่อน้ำหนักแนวดิ่งมีทิศขนานกับแนวราบ อย่างไรก็ตามหากดูผลโดยรวมแล้วจะพบว่ากำลังรับแรงเฉือนของดินเหนียวกรุงเทพฯ จะมีพฤติกรรมเป็นแอนไอโซทรอปี แต่จะปรากฎอย่างไม่เด่นชัดนักสำหรับดินเหนียวกรุงเทพฯ ที่นำมาทดสอบ ซึ่งอาจเนื่องมาจากดินตัวอย่างอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงระหว่างชั้น Weathered zone กับชั้นดินเหนียวอ่อน รวมทั้งลักษณะโครงสร้างภายในที่เกิดจากการตกตะกอนที่เป็นชนิด marine deposit.
Other Abstract: The study of effect of inherent anisotropy on pre and post peak strength characteristic of soft Bangkok clay aims to present the behavior of stress-strain relation using laboratory tests. The soil samples in this research were collected from two sites located in center of Bangkok, at the same depth (-4 m.). The program of tests including 4 tests; 1. Direct shear test 2. Ring shear test 3. Unconfined compression test 4. Consolidation test The block samples were, first, cut at various inclination; i.e., a = 0, 15, 30, 60, 70 and 90 degrees with respect to the in-situ horizontal plane and, then, trimmed to fit the dimension of each apparatus. The initial overburden pressures used in the present study were varying from 0.350 to 3.00 ksc. All shearing tests were in consolidated drain condition, except unconfined compression test that was in unconsolidated undrained condition. From the results of direct shear tests, it was shown that the maximum shear strength increase along the increasing of inclination of shearing plane. The maximum shear strength was mostly observed for sample trimmed to make angles of about 60 to 90 degrees to horizontal. However, there is a little difference between maximum and minimum shear strength and the difference was more pronounced only in the Chulalongkorn specimens. As same as the results of ring shear tests, the tendency of maximum shear strength was less obvious. Moreover, it was found that for, sample tested below its expected in-situ overburden stress (OC sample), the effect of bedding plane was very small. For the unconfined compression tests, it was found that the direction of stress affect to the undrained compression strength. The maximum undrained shear strength equals 0.20 ksc. When the direction of normal stress making the angle of 30 degree to vertical and the coefficient of anisotropy shows at 1.54. More scattered and obscure of the results were found in this consolidation tests. It is difficult to conclude about anisotropy of deformation characteristics of these samples. The results show only that the specimens from Chulalongkorn have more settlement in in- situ vertical than horizontal direction. The totally results of shear strength tests, it can be concluded that the behavior of shear strength of Bangkok clay is anisotropy but not much pronounced in the sample at this depth. The effect of sample arrangement on the residual strength was very small as may be expected since the application of very large strain may already destroy the structure of the thin sample.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69038
ISBN: 9743318704
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiboon_ch_front_p.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_ch_ch1_p.pdf739.14 kBAdobe PDFView/Open
Wiboon_ch_ch2_p.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_ch_ch3_p.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_ch_ch4_p.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_ch_ch5_p.pdf715.17 kBAdobe PDFView/Open
Wiboon_ch_back_p.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.