Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71464
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระวัฒน์ อุทัยรัตน์-
dc.contributor.advisorศิริเดช สุชีวะ-
dc.contributor.authorประอร พิมพายน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-12-09T08:12:00Z-
dc.date.available2020-12-09T08:12:00Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741718639-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71464-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเปรียบเทียบสมรรถนะแบบบูรณาการของการบริหารจัดการแพทยศาสตร์ศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) การศึกษารูปแบบการปรีบเทียบสมรรถะแบบบูรณการของการบริหารจัดการแพทยศาสตร์ศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ 3) การยกร่างรูปแบบฯและการตรวจสอบรูปแบบฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 4) การทดลองใช้และ 5 ) การสรุปผลลการนำเสนอเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบสอบถาม และ (ร่าง) รูปแบบฯ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากอดีตคณบดี คณบดี ผู้อำนวยการ ผู้บริหารระดับสูง ของคณะแพทยศาสตร์และผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติวิเคราะห์แบบบรรยาย ผลการกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 11 องค์ประกอบหลักและ 29 องค์ประกอบย่อยครอบคลุมประเด็นสำคัญในการประเมินสมรรถนะและความสำเร็จขององค์กรตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของ MBNQA และ EFQM รวมทั้งเกณฑ์ BSC ครอบคลุมประเด็นการบริหารจัดการองค์กรทั้งมิติด้านกระบวนการ และมิติด้านผลลัพธ์ โดยมีผลการพัฒนากรอบรูปแบบฯ ดังนี้ 1) การให้น้ำหนักคะแนนในแเต่ละองค์ประกอบของรูปแบบฯ พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่ให้คะเนนในแต่ละองค์ประกอบใกล้เคียงกัน และพบค่าความสัมพันธ์ของการจัดอันดับความสำคัญ (Kendall's Coefficient of Concordance) ของ ผู้ทรงคุณวุฒิมีค่าเท่ากับ .41 ซึ่งมีนัยสำคัญหาสถิติที่ระดับ 000 2 )ความสำคัญขององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.22-500 และ 4.22-4.89 ตามลำดับ 3) การพิจารณาความครอบคลุมและความตรงเชิงเนื้อหา โดยวิเคราะห์ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ขององค์ประกอบกับตัวชี้วัด ที่มีค่าตั้งแต่ 75 ขึ้นไป ค่าเฉลี่ยของความสำคัญของตัวชี้วัดมีค่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีคำเฉลี่ยระหว่าง 3.71 -5.00 4) ผลจากการตรวจสอบร่างรูปแบบฯ พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิให้คะแนนในแต่ละองค์ประกอบย่อยใกล้เคียงกัน โดยมีค่าความสัมพันธ์ของการกำหนด น้ำหนักคะแนน (Kendall's Coefficient of Concerdance) ในองค์ประกอบย่อย 28 องค์ประกอบพบว่าอยู่ในระดับสูงมีค่าเท่ากับ 94 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 000 ผลการตรวจสอบความหมาะสมและความเป็นไปได้ต้นหลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์เนื้อหาสาระ และแนวทางการนำรูปแบบฯ ไปใช้พบว่าอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.81-4.25 5) ผลจากการทดลองใช้กับคณะแพทยศาสตร์ 2 แห่ง พบว่าเป็นรูปแบบที่มีความ เหมาะสม สามารถนำไปใช้วัดประสิทธิผลการบริหารจัดกาแเพทยศาสตรศึกษา คณะแพทยศาสตร์ได้จริงมีประโยชน์ เป็นรูปแบบที่ใช้ได้ง่าย และสะดวกในการใช้ สรุปผลการวิจัยได้รูปแบบการเปรียบเทียบสมรรถนะแบบบูรณการของการบริหารจัดการแพทยศาสตรศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ ส่วนประกอบของรูปแบบที่พัฒนาประกอบด้วย3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1) หลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์ของรูปแบบ พบว่ารูปแบบมีหลักการที่สำคัญ 5 ประการ คือ 1) ส่งเสริมการมีความคิดสร้างสรรค์ และมีประสิทธิผลในการทำงาน 2) เน้นการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 3) เน้นการพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง 4) เน้นการมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม 5) เน้นการบูรณาการรูปแบบฯ ที่ครอบคลุมและครอบคลุมแนวคิดที่สำคัญ 8 ข้อ ส่วนที่ 2 เนื้อหาสาระของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 1) ตารางองค์ประกอบพร้อมน้ำหนักคะแนน 2) โครงร่างองค์การ 3) คำอธิบายรายละเอียดองค์ประกอบ 11 องค์ประกอบ องค์ประกอบย่อย 29 องค์ประกอบ และ 4) เกณฑ์ในการให้คะแนน สำหรับองค์ประกอบของรูปแบบประกอบตัวย 11 องค์ประกอบที่สำคัญแบ่งเป็น (1) องค์ประกอบด้านกระบวนการ 10 องค์ประกอบ คือ ภาวะผู้นำ 120 คะแนน, การวางแผนกลยุทธ์ 90 คะเนน, การเน้นความสำคัญของผู้เรียน 120 คะเนน, การเน้นความสำคัญของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้ใช้บัณฑิตแพทย์ 60 คะแนน, การเน้นความสำคัญของอาจารย์และบุคลากร 100 คะเนน, การวิเคราะห์และการบริหารจัดการความรู้ในองค์การ 100 คะเนน, การบริหารจัด การศึกษา 105 คะแนน, การบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษา 45 คะแนน, ความรับผิดชอบและการชี้นำสังคม70 คะแนน, และงบประมาณและการเงิน 80 คะแนน และ (2) องค์ประกอบด้านผลลัพธ์ 1 องค์ประกอบ คือ ผลลัพธ์ขององค์การ 110 คะแนน และส่วนที่ 3 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ ประกอบด้วย 1 ) แนวทางการใช้รูปแบบ การนำผลการประเมินไปใช้ และข้อควรคำนึงในการนำรูปแบบไปใช้ และ 2)แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ สำหรับหน่วยงาน 3 ระดับ คือ ระดับกลุ่มสถาบันเพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย, ระดับวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ และระดับผู้ปฏิบัติ-
dc.description.abstractalternativePurpose The purpose of this study was to develop an integrated benchmarking model for medical education management in public medical schools. Methodology The design of this study was a descriptive research having S procedures: (1) reviewing related literature and document, (2) studying the structure of medical education management, (3) using the outcome of the analysis to construct a preliminary model, and to verify and comment in terms of contents and concepts by educational connoisseurship, (4) operational testing of the model, and (5) modifying the proposed model and presenting the research findings. An analysis and synthesis of related literature and documents, questionnaires, interviews, and a drafted model were employed as research instruments. Specific samplings were employed to provide research data, including former deans, current deans and directors, administrators of medical schools, and experts. Descriptive statistics were used to analyze the data. Findings The study reveals the following findings: The model comprised 11 key factors and 29 sub-factors covering not only main issues identified in the Thailand Quality Award Criteria of MBNQA, EFQM, and BSC but the organizational management aspects in terms of the process dimension and the result dimension as well. The study finds that: l) The weighted score of each factor given by experts is consistent. The ranked score on 11 key factors given by experts has the Kendall's Coefficient of Concordance (w) at 41 with the asymptomatically significant level at .000. 2) The importance categories of all key factors and all sub-factors are classified from very important to the most important with the mean scores of 4.22-5.00 and 4:22-4.89, respectively. 3) This study uses the Index of Concurrence (IOC) of each minor factor with a score higher than .75 to explore scope and validity of the contents. The result shows that the range score of each indicator is from 3.71 to 5.00 or high to the highest levels. 4) The verification of the preliminary model shows that the score of each sub factor given by experts is consistent. The Kendall's Coefficient of Concordance of 28 sub-factors is as high as 94 with the asymptomatically significant level at .000. The model regarding of its contents, concepts, and applications is verified by the very high scores ranking from 3.81-4.25. The operational testing of the model at the two medical schools shows that the model is appropriate and feasible on its application to measure the management performance of the medical schools. In conclusion, this study obtains the Integrated Benchmarking Model of medical education management of the public medical schools, which divided into three parts. Part 1: Principles, concepts, and objectives of the Model consist of S key principles: (1) promoting of creative thinking and effective performance, (2) stressing on a continuous quality improvement, (3) emphasizing on organizational development in accordance with changing social context, (4) building team work and collaboration, and (5) emphasizing on the integration of the model. Part 2: The structure and content of the model include the followings: (I) tables of factors and weighted scores, (2) an organizational chart, (3) the description of 11 keys factors and 29 sub factors, and (4) the scoring criteria. Eleven key factors are composed of leadership (120 points), strategic planning (90 point), student focus (120points), stakeholder and market focus (60 points) faculty and stall focus (100 points), measurement analysis and review of organizational performance (100 points), process management (105 points), resource management (45points), social responsibility (70 points), budgeting and financing (80 points) and organizational performance results (110 points). Part3: The operational direction of the model composes of (1) the operational direction of the model, the application of the assessment result, and the contraindication of the model's application, and (2) the operational direction of the model providing for 3 organization levels including the National Medical Institution of Thailand, the medical college or medical faculty level, and the departmental and the operational staff level.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.615-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- ไทย -- การบริหารen_US
dc.subjectแพทยศาสตร์ -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectUniversities and colleges -- Thailand -- Administrationen_US
dc.subjectMedicine -- Study and teachingen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเปรียบเทียบสมรรถนะแบบบูรณาการของการบริหารจัดการแพทยศาสตรศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐen_US
dc.title.alternativeDevelopment of integrated benchmarking model for medical education management of public medical schoolsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorweerawat.u@chula.ac.th-
dc.email.advisorSiridej.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.615-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Praorn_pi_front_p.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Praorn_pi_ch1_p.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Praorn_pi_ch2_p.pdf8.12 MBAdobe PDFView/Open
Praorn_pi_ch3_p.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Praorn_pi_ch4_p.pdf8.79 MBAdobe PDFView/Open
Praorn_pi_ch5_p.pdf11.42 MBAdobe PDFView/Open
Praorn_pi_ch6_p.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open
Praorn_pi_back_p.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.