Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71589
Title: การติดตามการใช้ยากันชักในผู้ป่วยเด็กที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น
Other Titles: Antiepileptic drug monitoring in pediatric patients at Srinagarind hospital, Khon Kaen
Authors: วารุณี บูรณวิเชียร
Advisors: เรวดี ธรรมอุปกรณ์
สมพนธ์ ทัศนิยม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เด็ก -- การใช้ยา
ยากันชัก
การใช้ยา
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและแนวทางในการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรมทางเภสัชกรรมคลินิก โดยใช้การติดตามการใช้ยากันชักในผู้ป่วยเด็กเป็นตัวอย่าง โดยการกำหนดรูปแบบการดำเนินการให้เภสัชกรเข้าไปมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา หาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น นำเสนอต่อทีมงานที่ดูแลผู้ป่วย รวมทั้งติดตามผลของการดำเนินการเมื่อผู้ป่วยมารับบริการในครั้งต่อไป โดยศึกษาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2538 ถึง เดือนมิถุนายน 2539 สามารถติดตามการใช้ยากันชักตามแนวทางที่ได้กำหนด 53 ราย แยกเป็นผู้ป่วยที่เริ่มจากหอผู้ป่วยใน 19 ราย และผู้ป่วยที่เริ่มจากคลินิกตรวจโรคผู้ป่วยนอก 34 ราย รวมการติดตามที่หอผู้ป่วยนอก 21 ครั้ง และที่คลินิกตรวจโรคผู้ป่วยนอก 155 ครั้ง ผลการดำเนินการติดตามการใช้ยาในกลุ่มที่เริ่มจากหอผู้ป่วยใน พบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา 153 ปัญหา สามารถแก้ไขและป้องกันปัญหาได้ 69 ปัญหา ปัญหาที่ต้องติดตาม 84 ปัญหา เมื่อนำจำนวนปัญหาในการติด ตามครั้งที่ 1 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยคนละ 1.8 ± 1.4 เปรียบเทียบกับการติดตามครั้งที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 1.1 ± 1.1 ปัญหา พบว่า ปัญหาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ผลการดำเนินการติดตามการใช้ยาในกลุ่มที่เริ่มจากคลินิกตรวจโรคผู้ป่วยนอก พบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา 136 ปัญหา สามารถแก้ไขและป้องกันปัญหาได้ 50 ปัญหา ปัญหาที่ต้องติดตาม 86 ปัญหา เมื่อนำจำนวน ปัญหาในการติดตามครั้งที่ 1 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยคนละ 1.8 ± 1.5 เปรียบเทียบกับการติดตามครั้งที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 0.9 ± 1.1 ปัญหา พบว่าปัญหาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) การประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ปกครองและ/หรีอผู้ป่วยทั้งหอผู้ป่วยในและคลินิก ตรวจโรคผู้ป่วยนอก ในหัวข้อ ความสำคัญของยาต่อโรค อาการไม่พึงประสงค์ การแก้ไขเมื่อลืมรับประทานยา การเก็บรักษายา พบว่ามีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) และจากการวิจัยยังพบว่าโรคลมชักมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ปกครองและผู้ป่วยทั้งในด้านเศรษฐฐานะ ความวิตกกังวลมาก การพักผ่อน และการศึกษา ผลการดำเนินการตามรูปแบบและแนวทางที่กำหนดสรุปว่าเภสัชกรสามารถดำเนินกิจกรรมทางเภสัชกรรม คลินิก ทำให้จำนวนปัญหาที่พบในทุกขั้นตอนของรูปแบบหลังการติดตามลดลง
Other Abstract: The objective of the study was to implement the suitable model and guidelines for clinical pharmacy practice by using antiepileptic drug monitoring in pediatric patients as case study. The pharmacist was involved m the process to Identity, resolve and prevent drug related problems. Fifty three patients participated in the study throughout the process from December 1995 to June 1996: 19 cases were inpatients and 34 outpatients. There were 153 problems identified in in-patients: 69 problems were resolved and prevented and 84 problems needed further drug therapy monitoring. The second follow – up problems (average 1.1 ± 1.1) were shown to be significantly decreased (P<0.05) when compared with initial follow- up problems. (average 1.1 ± 1.1). There were 136 problems identified in out-patients: 50 problems were resolved and prevented and 86 problems needed further drug therapy monitoring. The second follow-up problems (average 0.9 ± 1.1) was shown to be significantly decreased (P<0.05) when compare with initial follow-up problems, (average 1.8 ± 1.5) Evaluation of the parents and/or the patients of both in- and out-patients in the their understanding of drug use in categories of importance of drug use on disease, adverse drug reactions, dose missing and drug storage, showed that they were improved significantly (P<0.05). Epilepsy was also found to affect both parents and the patients on their lifestyles and economics. In conclusion, the model and guidelines implemented were successful in the clinical pharmacy activities and able to decrease problems encountered in each process.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมโรงพยาบาลและคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71589
ISBN: 9746348663
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warunee_bo_front_p.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Warunee_bo_ch1_p.pdf954.94 kBAdobe PDFView/Open
Warunee_bo_ch2_p.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Warunee_bo_ch3_p.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Warunee_bo_ch4_p.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open
Warunee_bo_ch5_p.pdf794.24 kBAdobe PDFView/Open
Warunee_bo_back_p.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.