Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72912
Title: ความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อบทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการดูแลการเลือกตั้ง
Other Titles: People's trust in the role of the police officers in election administration
Authors: พรชัย ไทยแท้
Advisors: ไชยันต์ ไชยพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chaiyan.C@Chula.ac.th
Subjects: การเลือกตั้ง
ตำรวจ
ความไว้วางใจ
Elections Police
Trust
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบว่า ประชาชนมีแนวความคิดอย่างไรกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการกำกับดูแลการเลือกตั้ง ซึ่งดูเหมือนว่าประชาชนจะไม่ค่อยให้ความไว้วางใจกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่าใดนัก ทั้งนี้สาเหตุมาจากอะไร จะได้หาแนวทางพัฒนาแก้ไขการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้การเถือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมยิ่งขึ้น โดยได้ตั้งสมมติฐานตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาดังนี้ 1. ประชาชนมองว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจตกเป็นเครื่องมือ และอยู่ภายใต้การควบคุมของนักการเมือง 2. ประชานนอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ความไว้วางใจต่อบทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเลือกตั้ง น้อยกว่าประชาชนในกรุงเทพมาทนคร ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องและเก็บรวบรวมข้อมูลจากการแจกแบบสอบถาม ไปยังประชาชนในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 2, 3 กทม., จว.ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี จำนวน 939 คน และการสัมภาษณ์ผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง จำนวน 5 คน ผลการศึกษาเพื่อทดสอบสมมติฐานสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. เรายังไม่สามารถยืนยันสมมติฐานข้อ 1 ที่ว่า ประชาชนมองว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจตกเป็นเครื่องมือ และอยู่ภายใต้การควบคุมของนักการเมือง โดยในภาพรวมแล้วประชาชนเห็นด้วยแต่เฉพาะในประเด็น การกำกับดูแลการเลือกตั้ง ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่คิดเช่นนั้น 2. เราสามารถยืนยันสมมติฐานที่ 2 ว่า ประชาชนนอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ความไว้วางใจต่อบทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเลือกตั้ง น้อยกว่า ประชาชนในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากความผูกพันของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรกับนักการเมือง และผู้นำท้องถิ่นมีมากกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล ด้วยปัจจัยและการเอื้ออำนวยหลาย ๆ อย่าง ซึ่งประชาชนต่างจังหวัดจะประสบมากกว่าประชาชนใน กรุงเทพมหานคร จึงทำให้ความไว้วางใจต่อบทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีน้อยกว่าประชาชนในกรุงเทพมหานคร
Other Abstract: The purpose of this diesis is to find out how the people think about the police officers’ duty and role in election administration. Since there existed some opinions that die people do not trust the police officers in this aspect. Also, the purpose of the thesis is to find the improvement of the police officers’ eletion administration in order to achive just election. The hypothesis of the study are (1) people think that the police officers are influenced by and instrumental of the politician (2) the people who live outside Bangkok have trust in the role of the police officers in election administration less than the people who live in Bangkok. The findings are as follows : (1) With regard to the election administration people do not think that the police officers are influence by the politician. (2) The people who live outside Bangkok have less trust in the role of the police officers in election administration than the people who live in Bangkok.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72912
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.303
ISBN: 9746387189
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1997.303
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornchai_th_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ444.12 kBAdobe PDFView/Open
Pornchai_th_ch1.pdfบทที่ 1469.7 kBAdobe PDFView/Open
Pornchai_th_ch2.pdfบทที่ 21.33 MBAdobe PDFView/Open
Pornchai_th_ch3.pdfบทที่ 3693.64 kBAdobe PDFView/Open
Pornchai_th_ch4.pdfบทที่ 41.37 MBAdobe PDFView/Open
Pornchai_th_ch5.pdfบทที่ 5593.84 kBAdobe PDFView/Open
Pornchai_th_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก392.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.