Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74391
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคัดสรรกับการใช้กระบวนการแก้ปัญหา ทางการพยาบาลของพยาบาลห้องผ่าตัด ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: Relationships between selected variables and the use of problem solving process in nursing of operating room nurse in hospitals under the jurisdiction of the ministry of public health
Authors: กาญจนา จันทร์ไทย
Advisors: ประนอม โอทกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: พยาบาล -- การทำงาน
การแก้ปัญหา
Nurses -- Work
Problem solving
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของพยาบาลห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค กระทรวงสาธารณสุข และกลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของพยาบาลห้องผ่าตัด ซึ่งตัวพยากรณ์มีดังนี้คือ อายุประสบการณ์การทำงานในห้องผ่าตัด ระดับการศึกษา การรับรู้ต่อสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด การรับรู้ต่อการติดต่อสื่อสารภายในห้องผ่าตัด และการรับรู้ต่อบรรยากาศเพื่อนร่วมงาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของพยาบาลห้องผ่าตัด ในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคเฉพาะโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป กระทรวงสาธารณสุขอยู่ในระดับมาก 2. การรับรู้สภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด การรับรู้ต่อการติดต่อสื่อสารภายในห้องผ่าตัด และการรับรู้ต่อบรรยากาศเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของพยาบาลห้องผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 3. กลุ่มตัวอย่างพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของพยาบาลห้องผ่าตัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เรียบตามลำดับความสำคัญในการพยากรณ์ ได้แก่ การรับรู้ต่อการติดต่อสื่อสารภายในห้องผ่าตัด และการรับรู้บรรยากาศเพื่อนร่วมงาน สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 22.73 (R2 = .2273) 4. ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของพยาบาลห้องผ่าตัด พบว่า 4.1 ในขั้นของการรวบรวมประเมินข้อมูล ตัวพยากรณ์ที่สามารถพยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 คือ การรับรู้ต่อการติดต่อสื่อสารภายในห้องผ่าตัด สามารถอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 10.46 (R2= .1046) 4.2 ในขั้นการวางแผนให้การพยาบาล กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ การรับรู้ต่อบรรยากาศเพื่อนร่วมงานและรับรู้ต่อการติดต่อสื่อสารภายในห้องผ่าตัด สามารถอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 22.30 (R2 = 2230) 4.3 ในขั้นลงมือปฏิบัติ กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ การรับรู้ต่อบรรยากาศเพื่อนร่วมงาน และการรับรู้ต่อสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 19.78 (R2= 978) 4.4 ในขั้นประเมินผลการพยาบาล ตัวพยากรณ์ที่สามารถพยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 คือ การรับรู้ต่อการติดต่อสื่อสารภายในห้องผ่าตัด สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 11.92 (R2 = .1192)
Other Abstract: The purposes of this research were to study the use of problem solving process in nursing of operating room nurse in provincial hospitals under the jurisdiction of the Ministry of Public Health and to search for the variables that would be able to predict the use of problem solving process in nursing of operating room nurses. Those variables were defined as follow: age, experience in operating room, educational level, perception of environment, perception of communication in operating room, perception of collegial interactions. The findings were as the followings. 1. High level of the use of problem solving process in nursing was found within an operating room nurses in provincial hospitals under the jurisdiction of Ministry of Public Health. 2. Perception of environment, perception of communication in operating room and perception of collegial interactions were positively and significantly correlated with the use of problem solving process in nursing of operating room nurse at the .05 level of significance. 3. The 22.73 percent of variance in the use of problem solving process in nursing were explained by two predictors which were ranked in their power of predictor as perceptional communication in operating room and perception of collegial interactions respectively. 4.The group of predictors in each stage of problem solving process in nursing were found as follow. 4.1 In the stage of assesment, the 10.46 percent of varience was only explained by perception of communication in operating room. 4.2 In the stage of planning, the 22.30 percent of varience were explained by perception of collegial interactions and perception of communication in operating room. 4.3 In the stage of implementation, the 19.78 percent of varience were explained by perception of collegial interactions and perception of environment in operating room. 4.4 In the stage of evaluation, the 11.92 percent was only explained by perception of communication in operating room.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74391
ISBN: 9745763322
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanchana_ch_front_p.pdf964.55 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_ch_ch1_p.pdf979.93 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_ch_ch2_p.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open
Kanchana_ch_ch3_p.pdf888.91 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_ch_ch4_p.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Kanchana_ch_ch5_p.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Kanchana_ch_back_p.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.