Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74600
Title: สถานภาพ ความต้องการ และปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ตในธุรกิจส่งออก
Other Titles: Status, needs and problems of internet usage in export business
Authors: ทวิติยา สินธุพงศ์
Advisors: ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Yubol.b@chula.ac.th
Subjects: เทคโนโลยีสารสนเทศ
อินเทอร์เน็ต
Information technology
Internet
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพปัจจุบัน ความต้องการและปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ตของธุรกิจส่งออก รวมทั้งความคิดเห็นที่มีต่อการใชอินเตอร์เน็ตในอนาคต โดยใช้วิธีการ สัมภาษณ์เจาะลึกในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากธุรกิจส่งออก 17 กลุ่ม ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 38 บริษัท รวมทั้งกลุ่มผู้เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ สมาคมผู้ส่งออก บริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต กรมส่งเสริมการส่งออก และนักวิชาการด้านอินเตอร์เน็ต จำนวน 10 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 48 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ธุรกิจส่งออกที่ใช้อินเตอร์เน็ตมีมากกว่าธุรกิจส่งออกที่ไม่ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนเล็กน้อย โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดต่อสอสารกับลูกค้าให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ส่วนบริการบนอินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มากที่สุด คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) สำหรับการ ประเมินประสิทธิภาพการใชอินเตอร์เน็ต พบว่ามีข้อดีมากกว่าข้อเสีย 2. ธุรกิจส่งออกที่ใช้อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ มีความต้องการขยายฐานการใช้ให้กว้างขึ้น สำหรับธุรกิจส่งออกที่ยังไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่มีความต้องการจะนำมาใช้ในอนาคต 3. ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ load ช้า รองลงมาคือ ค่าบริการแพง และระบบมีการล่ม (down) บ่อย 4. ธุรกิจส่งออกส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า การใช้อินเตอร์เน็ตช่วยเพิ่มโอกาสการแข่งขัน ทางการตลาดให้แก่บริษัท ทั้งนี้เพราะความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร และยังใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ได้กว้างขวางมากขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถขยายผลไปสู่การค้าระดับโลก เพื่อรองรับกับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) ในอนาคต และธุรกิจส่งออกยังคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะสามารถเข้าสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ประมาพปี ค.ศ.2005 แต่จะต้องปรับปรุง และพัฒนาระบบพื้นฐานอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความพร้อมมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
Other Abstract: The objective of this study was to investigate the status, needs and problems of internet usage in export business, including the prediction of its future use. Data were collected from in depth interview of 38 export business executives. In addition, data were also gathered from 10 related organizations and experts in information science. Analysis of data was conducted using qualitative method. Results of the study are as follows: 1. Most of the export businesses use internet to improve their potential of business communication. Internet usage has more advantage than disadvantage in their point of view. The most popular service is electronic mail (e-mail). 2. Most of the export business users need to expand their data base capacity and the non internet users decide to use it in the near future. 3. The major problem is slowrers in data load, other problems are expensive service fee and frequent down of system. 4. Most export business strongly agree that the internet usage can enhance high opportunities in marketing competitiveness for business sector, due to its convenience and high efficiency. Moreover, it will lead to more benefits in the global business and facilitate convenience for Electronic Commerce system in the future. The export business predict that Thailand would be able to establish Electronic Commerce system by the year 2005. However, the improvment and development of fundamental system base need to be done first.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74600
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.376
ISBN: 9746383493
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1997.376
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tawitiya_si_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ916.28 kBAdobe PDFView/Open
Tawitiya_si_ch1_p.pdfบทที่ 11 MBAdobe PDFView/Open
Tawitiya_si_ch2_p.pdfบทที่ 21.84 MBAdobe PDFView/Open
Tawitiya_si_ch3_p.pdfบทที่ 3736.78 kBAdobe PDFView/Open
Tawitiya_si_ch4_p.pdfบทที่ 43.42 MBAdobe PDFView/Open
Tawitiya_si_ch5_p.pdfบทที่ 51.65 MBAdobe PDFView/Open
Tawitiya_si_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.