DSpace Repository

การจัดหาโลหิตและการใช้โลหิตของโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ในกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor องอาจ วิพุธศิริ
dc.contributor.advisor สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
dc.contributor.author วิจิตรา ม่วงสกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-11-30T02:37:37Z
dc.date.available 2012-11-30T02:37:37Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9741766769
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27067
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en
dc.description.abstract การจัดหาโลหิตที่ปลอดภัยได้อย่างเพียงพอนั้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครนั้น มีการใช้โลหิตถึงร้อยละ 5 ของประชากรในกรุงเทพฯ และพบว่ายังมีการขาดแคลนในบางช่วงเวลาในบางประเภทของโลหิต ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดหาโลหิตและการใช้โลหิตของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครทั้งหมด ซึ่งมีจำนวน100 แห่ง โดยการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (ระหว่างวันที่1 กรกฎาคม ถึง 30 กันยายน 2547) ได้ส่งแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองไปยังหัวหน้างานธนาคารโลหิตหรือผู้แทนเป็นผู้ตอบและยังเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แ ละแบบบันทึกข้อมูลการขอใช้โลหิตจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ผลการศึกษา พบว่า อัตราการตอบกลับร้อยละ 74 (74จาก100แห่ง) แยกเป็นโรงพยาบาลรัฐ ร้อยละ80 (20แห่ง) และโรงพยาบาลเอกชน ร้อยละ72 (54แห่ง) โดยส่วนใหญ่ผู้ตอบเป็น เพศหญิงร้อยละ 68.9 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 40.5 มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหรือเจ้าหน้าที่งานธนาคารโลหิต ร้อยละ 60.8% โดยสายวิชาชีพ เป็นเทคนิคการแพทย์ถึงร้อยละ 91.9 และมีประสบการณ์การทำงานด้านธนาคารโลหิตเฉลี่ย 9.2 ปี สำหรับในการจัดหาโลหิตจะพบว่ารพ.ส่วนใหญ่ ขอจากศูนย์บริการโลหิต ร้อยละ 98.7 การรับบริจาคโลหิตในโรงพยาบาลเอง ร้อยละ 12.2 และการรับบริจาคโลหิตร่วมกับศูนย์บริการโลหิต ร้อยละ 8.1 และยังพบอีกว่ารพ.ส่วนใหญ่มีการขอโลหิตจากศูนย์บริการโลหิตเผื่อสำรองไว้สูงถึง ร้อยละ87.7 และโลหิตที่ขอไปก่อนใช้ไม่ได้ตรวจทางห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลซ้ำร้อยละ42.5 ส่วนอัตราส่วนเฉลี่ยการใช้โลหิตของผู้ป่วยนอนป่วยในโรงพยาบาลพบร้อยละ 18.2 โดยแยกเป็น รพ.รัฐ ร้อยละ 30.6 และรพ.เอกชน ร้อยละ 10.8 สำหรับชนิดของโลหิตที่ใช้บ่อย 3 อันดับแรก ได้แก่ เม็ดโลหิตแดงเข้มข้น พลาสมาสดแช่แข็งและโลหิตที่ขจัดเม็ดโลหิตขาวส่วนใหญ่ออกไป เมื่อเปรียบเทียบการจัดหาโลหิตของโรงพยาบาลรัฐและเอกชน พบว่า วิธีการรับบริจาคโลหิตจากแหล่งอื่นนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และยังพบว่าขนาดโรงพยาบาลที่แตกต่างกันนั้นทำให้การจัดหาโลหิตโดยวิธีขอจากศูนย์บริการโลหิต, จากแหล่งอื่น, อัตราเฉลี่ยการใช้โลหิตและส่วนประกอบของโลหิต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การศึกษา พบว่า การจัดหาโลหิตในปัจจุบันยังไม่เพียงพอกับความต้องการในการใช้โลหิตของโรงพยาบาลซึ่งปัญหาที่ระบุจะเกิดจากการจ่ายล่าช้า โดยเฉพาะเกล็ดโลหิต ร้อยละ 57.5 ดังนั้นการจัดหาโลหิตและการใช้โลหิตอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ทรัพยากรโลหิตนั้นถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
dc.description.abstractalternative Adequacy and safety of blood supply are needed the utmost important for life. In the mega city as Bangkok more blood are needed up to 5% of population. Lack of blood supply were found in some periods of time. This study is to determine blood recruitment and use of blood hospital in Bangkok Metropolis. A cross-sectional descriptive study was conducted and approached all 100 hospitals, during 1 July to 30 Septamber,2004. Self-administered questionnaires were send to the head of hospitals blood bank and representative or the deputy in the hospitals. Data collection is using questionnaire and blood use record form of National Blood Center (NBC). The response rate of this study is 74.0% (74 out of 100 hospitals) which are public hospitals 80.0% (20 hospitals) and private hospitals 72.0% (54 hospitals). The majority of the respondents are female (68.9%), age group between 31 to 40 years old (40.5%), positions as head or personnel of hospitals blood bank(60.8), medical technician (91.9%) with 9.2 years of mean experience. Almost blood supply (98.7%) was obtained from NBC, only 12.2% would be self blood recruitment and 8.1% join with NBC. Over requested were specified by 87.7% of hospitals for reserved and furthermore, 42.5% stated no retest for safety. The average blood use is 18.2% of the patients admitted. (30.6% in public and 10.8% in private hospitals) The most common blood product used in the hospitals were Pack Red Cells (PRC), Fresh Frozen Plasma (FFP) and Leukocyte-Poor Red Blood Cells (LPRC). Statistical significant difference in blood recruitment methods by public and private hospitals in Bangkok Metropolis were observed (P<0.05) and also the size of hospitals (P<0.05). This study revealed that, at present blood recruitment was inadequate for hospital blood demand, particularly, the platelets as to slower or late distribution (57.7%). Thus, demand and supply of blood and blood products should be continuously monitoring with effective distribution system.
dc.format.extent 3511919 bytes
dc.format.extent 2622262 bytes
dc.format.extent 9152071 bytes
dc.format.extent 1327115 bytes
dc.format.extent 9931702 bytes
dc.format.extent 6047068 bytes
dc.format.extent 6691446 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การบริจาคโลหิต -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subject คลังเลือด -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subject เลือด -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subject Directed blood donations -- Thailand -- Bangkok
dc.subject Blood banks -- Thailand -- Bangkok
dc.subject Blood -- Thailand -- Bangkok
dc.subject Blood banks -- Organization & administration
dc.subject Blood banks -- Supply & distribution
dc.title การจัดหาโลหิตและการใช้โลหิตของโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ในกรุงเทพมหานคร en
dc.title.alternative Blood recruitment and use of public and private hospitals in Bangkok Metroplis en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เวชศาสตร์ชุมชน es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record